ผลของโปรแกรมการลดน้ำหนักต่อความรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพเด็กวัยเรียน ที่มีภาวะอ้วนและเริ่มอ้วน โรงเรียนศรีสวัสดิ์พิทยาคม จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • จิรธิดา ขุนสอาดศรี กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลท่ากระดาน

คำสำคัญ:

เด็กวัยเรียน, ภาวะอ้วนและเริ่มอ้วน, ความรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการลดน้ำหนักต่อความรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพเด็กวัยเรียน ที่มีภาวะอ้วน และเริ่มอ้วนในโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี

วิธีการวิจัย:  เป็นการวิจัยกึ่งทดลองกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังทดลอง ระหว่างวันที่ 25 มกราคม - 25 มีนาคม 2567 กลุ่มตัวอย่างคือเด็กวัยเรียนที่มีภาวะอ้วนและเริ่มอ้วนจำนวน 29 ราย เครื่องมือที่ใช้คือ โปรแกรมการลดน้ำหนักด้วยการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย โดยใช้แนวคิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3 ด้าน (3 Self) เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ เก็บข้อมูลด้วยแบบทดสอบความรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันโรคอ้วน และ
แบบประเมินพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วน มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.84 และ 0.75 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน

ผลการวิจัย: หลังเข้าโปรแกรมการลดน้ำหนัก กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้และพฤติกรรมสุขภาพ (11.31±1.56, 57.14±5.22) เพิ่มขึ้นจากก่อนเข้าโปรแกรม (7.38±2.20, 44.28±2.45) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และมีค่าเฉลี่ยน้ำหนักและค่าดัชนีมวลกาย (64.45±11.12, 24.88±2.52) ลดลงจากก่อนได้รับโปรแกรม (67.27±11.03, 26.32±2.54) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.001)

สรุปผล: การใช้โปรแกรมการลดน้ำหนักด้วยการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ความรู้และพฤติกรรมสุขภาพดีขึ้น น้ำหนักและดัชนีมวลกายลดลง จึงควรดำเนินโปรแกรมต่อในระยะยาว และขยายผลนำไปใช้ในโรงเรียนอื่นที่มีบริบทใกล้เคียงกัน

References

ตนุพล วิรุฬหการุญ. โรคอ้วน ศัตรูร้ายทำลายสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 20 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.ryt9.com/s/prg/3303464

กระทรวงสาธารณสุข. แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉ.12 (พ.ศ. 2560–2564) [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 20 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/HealthPlan12_2560_2564.pdf

World health organization.10 facts on obesity[อินเทอร์เน็ต].2564[เข้าถึงเมื่อ 20 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.lakeviewdoctors.com/blog/10-must-know-facts-about-obesity

ศรัญญา ทองทับ. คู่มือลดพุง ลดโรค. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ: สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสรีสุขภาพ; 2559.

สุกัญญา คณะวาปี, เกศินี สราญฤทธิชัย. ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคอ้วนในเด็กวัยเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน.วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2565;8(2):105-18.

นฤมล เฉ่งไล่. ผลของโปรแกรมลดน้ำหนักยุคไทยแลนด์ 4.0 ต่อน้ำหนักตัวของวัยรุ่นน้ำหนักเกิน ในจังหวัดตรัง. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร. 2564;24(3):23-33.

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. คู่มือการใช้เกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตของเด็กอายุ 6–19 ปี [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 20 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://multimedia.anamai.moph.go.th/associates/guide-using-the-growth-criteria-for-children-ages6_19/

พัชรี ดวงจันทร์. บทวิจารณ์เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3 self ด้วยหลัก PROMISE model.วารสารพฤติกรรมศาสตร์. 2553;16(1):1-13.

กองสุขศึกษา, สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. คู่มือประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับเด็กและเยาวชนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2557.

กองโภชนาการ กรมอนามัย. คู่มือธงโภชนาการ คณะจัดทำข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2550.

พรวิภา ดาวดวง.แนวทางการคัดกรองภาวะสุขภาพเด็กวัยเรียน และระบบฐานข้อมูลการคัดกรองเด็กกลุ่มเสี่ยง [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 12 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://nutrition2.anamai.moph.go.th/th/cluster-student-3/download?id=47784&mid=32229&mkey=m_document&lang=th&did=15654

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. ทัวร์อวัยวะ โรคอ้วนลงพุง [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 12 ธ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.youtube.com/watch?v=n70glotYT7Y

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. คู่มือแนวทาง การจัดการปัญหาอ้วนลงพุงและภาวะแทรกซ้อน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2564.

นภาเพ็ญ จันทขัมมา, สุมัจฉรา มานะชีวกุล, อารี ชีวเกษมสุข, พัทยา แก้วสาร, พรณิศา แสนบุญส่ง. ผลของโปรแกรมการควบคุมภาวะน้ำหนักเกินโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของนักเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี. วารสารแพทย์นาวี. 2563;47(2):301-16.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-07