ผลของรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยประคับประคองระยะสุดท้ายแบบรายกรณี โรงพยาบาลท่ากระดาน จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • นัยนา จันทร์มา กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลท่ากระดาน อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี

คำสำคัญ:

รูปแบบการพยาบาล, การจัดการแบบรายกรณี, การดูแลแบบประคับประคอง, ผู้ป่วยระยะสุดท้าย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยประคับประคองระยะสุดท้ายแบบรายกรณี ด้านการปฏิบัติการพยาบาลและด้านผู้ป่วยระหว่างก่อนและหลังการใช้รูปแบบ

วิธีการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยในตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป จำนวน 6 คน และผู้ป่วยประคับประคองระยะสุดท้ายที่มารับบริการในหอผู้ป่วยในจำนวน 56 ราย แบ่งเป็นระยะก่อนและหลังใช้รูปแบบกลุ่มละ 28 ราย สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยประคับประคองระยะสุดท้ายแบบรายกรณีแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบเก็บข้อมูลการปฏิบัติการพยาบาลและผลลัพธ์ด้านผู้ป่วย ผ่านการตรวจสอบความเชื่อมั่นได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบค่าทีแบบเป็นอิสระต่อกัน

ผลการวิจัย: คะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติตามแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยประคับประคองระยะสุดท้ายแบบ
รายกรณีของพยาบาลวิชาชีพหลังทดลองใช้รูปแบบเพิ่มขึ้นจากก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(25.28±1.64 และ 21.33±1.03; p<0.001) และผลลัพธ์ด้านผู้ป่วยในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง   หลังใช้ทดลองรูปแบบเพิ่มขึ้นจากก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (28.11±0.31 และ 22.14±1.32; p=0.001)

สรุปผล: รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยประคับประคองระยะสุดท้ายแบบรายกรณีที่พัฒนาขึ้น สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาประสิทธิภาพการพยาบาลผู้ป่วยประคับประคองระยะสุดท้ายที่เป็นไปตามเป้าหมาย

References

World Health Organization. Palliative care [Internet] 2020 [cited 2023 Oct 23]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/palliative-care

World Health Organization. Strengthening of palliative care as a component of integrated treatment throughout the life course. Journal of Pain & Palliative Care Pharmacotherapy. 2014;28(2):130-4.

Ferrell BR, Coyle N. Oxford textbook of palliative nursing. 3rded. New York: Oxford University Press; 2010.

Starks H, Vig EK, Pearlman RA. Advance care planning. In Emanuel LL, Librach SL, editors. Palliative care: Core skills and clinical competencies. 2nded. St. Louis MO: Elsevier Saunders; 2011. p. 270-83.

เวชสถิติ. สถิติรายงานประจำปี 2565-2566. กาญจนบุรี: โรงพยาบาลท่ากระดาน; 2566

เรวดี ศิรินคร, ยุวดี เกตสัมพันธ์, ผ่องพรรณ ธนา, สุวิภา นิตยางกูร. Case Management. การประชุม 2nd National Forum on Hospital Accreditation. กรุงเทพมหานคร: J.S.การพิมพ์; 2544.

ชุลีรัตน์ สาระรัตน์, ชลการ ทรงศรี, สุเมธา ขวัญส่ง. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลแบบประคับประคอง โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2563;13(2):115-22.

จุฬารัตน์ สุริยาทัย, ณัฐกฤตา ไชยสลี, ชลิดา ธนะขว้าง, ศิริลักษณ์ พันธ์แก้ว, ภภัสสร รัชตโสตถิ์, ปิยวัฒน์ รัตนพันธ์. ผลของการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในเครือข่ายสุขภาพ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2566;32(3):450-60.

บงกช รัตน์ยานะรมย์.การพัฒนาระบบการดูแลแบบประคับประคองระยะสุดท้าย โรงพยาบาลยโสธร. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2563;5(4):195-200.

ราศี ลีนะกุล. การพัฒนารูปแบบการจัดการรายกรณีทางการพยาบาลในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตาย.[วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2548

Lau F, Maida V, Downing M, Lesper-ance M, Karlson N, Kuziemsky C. Use of the Palliative Performance Scale (PPS) for end-of-life prognostication in a palliative medicine consultation service. J Pain Symptom Manage. 2009;37(6):965–972.

Cochran WG. Sampling Techniques. New York: John Wiley; 1953.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30