ประสิทธิผลของการผ่าตัดลิ้นไมทรัลด้วยการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดในโรงพยาบาลสมุทรสาคร
บทคัดย่อ
การผ่าตัดลิ้นไมทรัลด้วยการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดมี 2 วิธี ได้แก่ การซ่อมลินไมทรัลและ การเปลี่ยนลิ้นไมทรัล ขึ้นอยู่กับรอยโรคและโรคประจาตัวของคนไข้ วัตถุประสงค์ของศึกษาหลัก เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการผ่าตัดอัตราการเสียชีวิตภายใน 30วัน อัตราทุพพลภาพและภาวะแทรกซ้อน ของการผ่าตัดลินไมทรัล ส่วนวัตถุประสงค์ของการศึกษารองเพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ของการผ่าตัด ภาวะแทรกซ้อนระหว่างการซ่อมลิ้นไมทรัลและการเปลี่ยนลิ้นไมทรัล โดยเป็นการศึกษา เชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดลิ้นไมทรัลในโรงพยาบาลสมุทรสาคร จำนวน 123 คน โดยแบ่งออกเป็นผู้ป่วยที่ซ่อมลิ้นไมทรัลจำนวน 59 คนและ ผู้ป่วยที่เปลี่ยน ลิ้นไมทรัลจำนวน 64 คน โดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดตั้งแต่ 1 มกราคม 2562 ถึง 30 เมษายน 2565 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-square test และ Independent sample t test
ผลการศึกษาพบผู้ป่วยเสียชีวิตหลังผ่าตัดลิ้นไมทรัลภายในระยะเวลา 30 วัน จำนวน 7 คน (ร้อยละ 5.70) พบเป็นผู้ป่วยซ่อมลินไมทรัลจำนวน 3 คน (ร้อยละ5.08) จากทั้งหมด 59 คนและ ผู้ป่วยเปลี่ยนลิ้นไมทรัลจำนวน 4 คน จากทั้งหมด 64 คน (ร้อยละ 6.25) ไม่พบความแตกต่างของจำนวนผู้ป่วยเสียชิวิตมีนัยสำคัญทางสถิต (p = 0.55) ผู้ป่วยเกิดไตวายเฉียบพลันจำนวน 11 คน (ร้อยละ 8.95) มีจำนวน 1 คน (ร้อยละ 0.80) ที่ได้รับการฟอกไต และพบภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด ได้แก่ การบีบตัวของหัวใจล้มเหลว 8 คน (ร้อยละ 6.50), อัมพฤกษ์อัมพาต 3 คน (ร้อยละ2.40), postoperative VF/VT 1 คน (ร้อยละ 0.80) และหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ 1 คน (ร้อยละ 0.80)
สรุปการศึกษาพบว่าประสิทธิผลของการผ่าตัดลิ้นไมทรัลแบบซ่อมลิ้นไมทรัลและเปลี่ยนลิ้นไมทรัล สามารถทำได้อย่างปลอดภัย โดยมีอัตราการเสียชีวิตและทุพพลภาพต่ำ การตัดสินใจ เลือกรูปแบบการผ่าตัดขึ้นอยู่กับว่าผู้ป่วยมีโรคประจำตัวและลักษณะรอยโรค
References
Joanna chikwe, Cooke D, Weiss A. Oxford Specialist Handbook of Cardiothoracis Surgery. second ed. Oxford University Press 2013. 845 p.
Cohn LH, Adams DH. Cardiac Surgery in the Adult Fifth Edition: McGraw-Hill Education; 2017.
Sellke FW, Nido PJD, Swanson SJ. Sabiston & Spencer Surgery of the Chest: Elsevier; 2015.
Anyanwu AC, Adams DH. Etiologic classification of degenerative mitral valve disease: Barlow's disease and fibroelastic deficiency. Seminars in thoracic and cardiovascular surgery. 2007;19(2):90-6.
Nishimura RA, Vahanian A, Eleid MF, Mack MJ. Mitral valve disease--current management and future challenges. Lancet (London, England). 2016;387(10025):1324-34.
Gordis L. The virtual disappearance of rheumatic fever in the United States: lessons in the rise and fall of disease. T. Duckett Jones memorial lecture. Circulation. 1985;72(6):1155-62.
Massell BF, Chute CG, Walker AM, Kurland GS. Penicillin and the marked decrease in morbidity and mortality from rheumatic fever in the United States. The New England journal of medicine. 1988;318(5):280-6.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนาและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง