ผลลัพธ์ในโครงการป่้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีจากแม่สู่ลูกในโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนาระหว่างปี พ.ศ. 2562 - 2565

ผู้แต่ง

  • นุชชนาฏ ธรรมเนียมดี หน่วยงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา

บทคัดย่อ

การป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีจากแม่สู่ลูกนับเป็นหัวใจหลักในการลดจํานวน ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีชนิดเรื้อรังซึ่งนําไปสู่โรคตับแข็งและมะเร็งตับในผู้ใหญ่ องค์การอนามัยโลกตั้งเป้าหมายในการกําจัดไวรัสตับอักเสบบีให้หมดจากโลกภายในปี คศ. 2030 และกําหนดเป้าหมายความชุกของเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปีที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีให้น้อยกว่า ร้อยละ 0.1 มาตรการป้องกันประกอบด้วยการตรวจคัดกรองไวรัสตับอักเสบบีในหญิงตั้งครรภ์ การให้ยาต้านไวรัสในรายที่มีข้อบ่งชี้การให้วัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแก่ทารก แรกเกิดทั้ง HBV และ HBIG ประเทศไทยดําเนินตามนโยบายขององค์การอนามัยโลกตั้งแต่ปี พ.ศ.2561 ในชื่อโครงการ “การกําจัดการถ่ายทอดโรคไวรัสตับอักเสบบีจากแม่สู่ลูก” สําหรับ รพ.พหลพลพยุหเสนา ได้เริ่มโครงการตั้งแต่ปี พศ. 2562 ถึงปัจจุบัน

วัตถุประสงค์ เพื่อทราบผลลัพธ์ในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีจากแม่สู่ลูก ในทารกที่คลอดจากมารดาที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา ระหว่าง ปี พ.ศ. 2562- 2565 วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนาโดยการทบทวนเวชระเบียนโดยกําหนด กลุ่มประชากรศึกษา คือ ทารกที่คลอดจากมารดาที่ตรวจพบการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีขณะ ตั้งครรภ์ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2562- 30 กันยายน 2565 โดยทารกที่เสียชีวิตก่อนอายุ 9 เดือน และไม่มาติดตามการรักษาที่อายุ 9-12 เดือนจะถูกคัดออกตามเกณฑ์ ทารกที่มาติดตามที่อายุ 9-12 เดือนทุกรายจะได้รับการตรวจหาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและระดับภูมิคุ้มกันต่อไวรัส ตับอักเสบบี นิยามให้การมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบบีต้องมีผล Anti-HBs Ab  gif.latex?\geq  10 IU/L ขึ้นไป

ผลการศึกษา จากทารกทั้งหมด 163 ราย พบทารกเสียชีวิตก่อนอายุ 9 เดือน 2 ราย และไม่มา ตรวจติดตามตามนัด 75 ราย มีทารกที่มาติดตามการตรวจหาการติดเชื้อและระดับภูมิคุ้มกันต่อ ไวรัสตับอักเสบบีที่อายุ 9-12 เดือนทั้งสิ้น 86 ราย ในทารกกลุ่มนี้พบว่ามารดามีผล HBeAg บวก 19 ราย (22.09%) ไม่ได้ตรวจ 39 ราย (45.35%) ในมารดาที่ HBeAg บวก ได้รับยาต้านไวรัส Tenofovir 16 ราย (84.21%) ทารกแรกเกิดได้รับ HBV และ HBIG ภายใน 12 ชั่วโมง 80 ราย (93.02%) อีก 6 รายได้ HBV แต่ไม่ได้ HBIG ทุกรายได้วัคซีน HBV ที่อายุ 1, 2, 4 และ 6 เดือน เมื่อตรวจติดตามที่อายุ 9-12 เดือนไม่พบรายใดมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีจากมารดาและทุก รายมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบบี (100%) โดยค่ามัธยฐานของระดับภูมิคุ้มกันมากกว่า 1,000 IU/L (72.37, >1000)

สรุป ผลลัพธ์ในการป้องกันการติดเชื้อตับอักเสบบีจากแม่สู่ลูกเป็นไปตามเป้าหมายของ กระทรวงสาธารณสุขและองค์การอนามัยโลก แต่ยังมีเป้าหมายที่ต้องพัฒนา ได้แก่ การคัดกรอง HBeAg ในหญิงตั้งครรภ์ทุกรายและยังมีทารกที่ไม่มาตรวจติดตามผลที่อายุ 9-12 เดือนเป็นจํานวนมากจําเป็นต้องประสานงานกับเครือข่ายเพื่อติดตามทารกกลุ่มนี้มารับการตรวจต่อไป

References

WHO. Global progress report on HIV, viral hepatitis and sexual transmitted infections, 2021.

สำนักโรคติดต่อทั่วไปกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ตำราวัคซีนและการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคปี 2556. ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ:พิมพ์ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา; 2556.

Posuwan N, Wanlapakorn N, Sa-nguanmoo P, Wasitthankasem R, Vichaiwattana P, Klinfueng S, et al. The Success of a Universal Hepatitis B Immunization Program as Part of Thailand’s EPI after 22 Years’ Implementation. PLoS One. 2016;11(3): e0150499. https://doi.org/10.1371/journal.pone.0150499.

https://www.cdc.gov/hepatitis/hbv/hbvfaq.

Pan CQ, Duan Z, DaiE. Tenofovir to Prevent Hepatitis B Transmission in Mothers with High Viral Load. N EngJ Med. 2016; 374(24):2324-34.

WHO. Global health sector strategy on viral hepatitis 2016-2021. 2016.

ศูนย์ประสานงานโรคตับอักเสบจากไวรัส กองโรคป้องกันด้วยวัคซีน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานการการจัดดการถ่ายทอดโรคไวรัสตับอักเสบบีจากแม่สู่ลูก. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: เจเอส การพิมพ์; 2561.

Qiao, YP., Su, M., Song, Y. et al. Outcomes of the national programme on prevention of mother-to-child transmission of hepatitis B virus in China, 2016–2017. Infect Dis Poverty. 2019; 8:65. https://doi.org/10.1186/s40249-019-0576-y.

Zhang L, Gui XE, Teter C, Zhong H, Pang Z, Ding L, et al. Effects of hepatitis B immunization on prevention of mother-to-infant transmission of hepatitis B virus and on the immune response of infants towards hepatitis B vaccine. Vaccine. 2014;32:6091-7.

Alison A. Evans, Chari Cohen, Peixin Huang, Liping Qian, W. Thomas London, Joan M. Block, et al. Prevention of perinatal hepatitis B transmission in Haimen City, China: Results of a community public health initiative. Vaccine. 2015;33:3010-3015.

Schillie S, Walker T, Veselsky S, Crowley S, Dusek C, Lazaroff J, et al. Outcomes of infants born to women infected with hepatitis B. Pediatrics. 2015;135(5): e1141-7. doi:10.1542/ peds.2014-3213. Epub 2015 Apr 20.

Burgis JC, Kong D, Salibay C, Zipprich J, Harriman K, So S. Perinatal transmission in infants of mothers with chronic hepatitis B in California. World J Gastroenterol. 2017;23(27):4942-4949.

Del Canho R, Grosheide PM, Mazel JA, Heijtink RA, Hop WC, Gerards LJ,et al. Ten-year neonatal hepatitis B vaccination program, The Netherlands, 1982-1992: protective efficacy and long-term immunogenicity. Vaccine. 1997 Oct;15(15):1624-30.

Keeble S, Quested J, Barker D, Varadarajan A, Shankar AG. Immunization of babies born to HBsAg positive mothers: An audit on the delivery and completeness of follow up in Norfolk and Suffolk, United Kingdom. Hum Vaccin Immunother. 2015;11(5):1153-6.

Hambridge T, Nartey Y, Duah A, Plymoth A. Hepatitis B mother-to-child transmission in the Eastern Region of Ghana: a cross-sectional pilot study. Pan Afr Med J. 2019 Jul; 33:218.

Komada K, Ichimura Y, Shimada M, Funato M, Do HT, LE HX, et al. Impact of hepatitis B vaccination programs in Vietnam evaluated by estimating HBsAg prevalence. J Virus Erad. 2022 Dec 10;8(4):100309.

Xeuatvongsa A, Komada K, Kitamura T, Vongphrachanh P, Pathammavong C, Phounphenghak K. Chronic hepatitis B prevalence among children and mothers: results from a nationwide, population-based survey in Lao People's Democratic Republic. PLoS One. 2014 Feb 28;9(2):e88829.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-30