การศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตด้วยโรคไวรัสโควิด 19 โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • ศุภฌา พิพัฒน์นรเศรษฐ์ โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
  • ชนากานต์ อนันตริยกุล โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา

บทคัดย่อ

การระบาดของโรคโควิด 19 แพร่ไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงเศรษฐกิจการค้า และระบบสาธารณสุขโดยพบว่าในช่วงการระบาดมีผู้ป่วยเสียชีวิตจากการติดเชื้อในอัตราที่สูงกว่าโรคระบบทางเดินหายใจทั่วๆไป การศึกษานี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อศึกษาปัจจัยที่อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในผู้ป่วยโรคโควิด 19 ในโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา  เพื่อประโยชน์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด 19

พบว่าปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยโควิด 19 ของโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนาสอดคล้องกับการศึกษาอื่นๆได้แก่ ผู้ป่วยเพศชาย สูงอายุ และมีโรคประจำตัวต่างๆ ดังนั้นในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องให้การใส่ใจเป็นพิเศษ และมีลักษณะทางคลินิกที่อาจจะทำให้การพยากรณ์โรคไม่ดีที่พบในการศึกษานี้ได้แก่ อาการไข้สูง และการมีสภาวะปอดอักเสบ อย่างไรก็ตามแม้ผลการศึกษาจะบ่งว่าการฉีดวัคซีนอาจไม่ช่วยลดอัตราการเจ็บป่วย และการเสียชีวิต แต่ยังมีข้อจำกัดในการศึกษานี้คือเรื่องของประเภทวัคซีน และระยะเวลาการรับวัคซีนก่อนการเจ็บป่วย ดังนั้นจึงยังคงแนะนำให้มีการรับวัคซีน และการรับวัคซีนเข็มกระตุ้นต่อไป

References

Prevention CoDCa. www.cdc.gov. [Online]; 2022. Disponible en: https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/testing/index.html.

Carter LJ GLVSJLYZQSCea. Assay techniques and test development for COVID-19 diagnosis. ACS Central Science. 2020;: p. 6:591–605.

Mardian Y KHKMNAaLCY. Review of Current COVID-19 Diagnostics and Opportunities for Further Development. Frontiers in Medicine. 2021;: p. 8:615099.

Guan W NZHYLWOCHJea. Clinical characteristics of coronavirus disease 2019 in China. The New England Journal of Medicine. 2020;: p. 382:1708–20.

Zoabi Y DRSSN. Machine learning-based prediction of COVID-19 diagnosis based on symptoms. npj Digital Medicine. 2021;: p. 4:3.

Sitthichai B, Phisan C. Case Fatal Rate and Factors Associated with Deaths due to COVID-19. Journal of Research for Health Improvement and Quality of Life. 2022;: p. 25-36.

Kaeuffer C LHCFTea. Clinical characteristics and risk factors associated with severe COVID-19: prospective analysis of 1,045 hospitalised cases in North-Eastern France, March 2020. Eurosurveillance. 2020;: p. 25(48):2000895. doi: 10.2807/1560-7917.ES.2020.25.48.2000895. PMID: 33272355; PMCID: PMC7716399.

Figliozzi S MPANTLKEAAea. Predictors of adverse prognosis in COVID-19: A systematic review and meta-analysis. European journal of clinical investigation. 2020;: p. Oct;50(10):e13362.

Johnson AG, Amin AB, Ali AR, et al. COVID-19 Incidence and Death Rates Among Unvaccinated and Fully Vaccinated Adults with and Without Booster Doses During Periods of Delta and Omicron Variant Emergence — 25 U.S. Jurisdictions. MMWR. 2022;: p.71:132–138. DOI:

http://dx.doi.org/10.15585/mmwr.mm7104e2.

Sanne de Bruin LDBMAvRea. Clinical features and prognostic factors in Covid-19: A prospective cohort study. eBioMedicine. 2021;: p. May 13, 2021. DOI: https://doi.org/10.1016/j.ebiom.2021.103378.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-28