การประเมินการสั่งใช้ยาสมุนไพรของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • พิภัทรา จุลสวัสดิ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร

บทคัดย่อ

การวิจัยภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการสั่งใช้ยาสมุนไพรของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการสั่งใช้ยาสมุนไพร และปัญหาต่อการสั่งใช้ยาสมุนไพรของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จังหวัดสมุทรสาคร  กลุ่มตัวอย่างเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานด้านการตรวจรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจำนวน 172 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนพฤศจิกายน 2565 ถึงธันวาคม 2565 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา Chi-square test / Fisher’s exact test พบผลการศึกษา ดังนี้

เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลร้อยละ 48.3 และ 51.7 มีการสั่งใช้ยาสมุนไพรเป็นประจำ และเป็นบางครั้ง ตามลำดับ ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการสั่งใช้ยาสมุนไพรของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.05 ) ได้แก่ ตำแหน่ง และประสบการณ์การใช้ยาสมุนไพร ปัญหาต่อการสั่งใช้ยาสมุนไพรของเจ้าหน้าที่  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคือจำนวนชนิดยาสมุนไพรน้อย  ขาดคู่มือการใช้ยาสมุนไพร  การประชาสัมพันธ์การใช้ยาสมุนไพรยังน้อย  ประชาชนยังไม่นิยมใช้ ค่าใช้จ่ายในยาบางตัวสูง  ยาบางชนิดต้องรับประทานในปริมาณมาก  และยาบางตัวกลิ่นค่อนข้างแรง ร้อยละ 20.3, 6.3, 4.0, 3.4, 2.3, 2.3, 1.7 และ 1.7 ตามลำดับ

จากผลการศึกษาควรสร้างความเชื่อมั่น และส่งเสริมให้มีการสั่งใช้ยาสมุนไพรสำหรับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเพิ่มมากขึ้น

References

กองวิชาการและแผนงาน กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. (2561). สถิติการใช้บริการแพทย์แผนไทย. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก https://thaicam.go.th/? option=com_contact &view=contact&id=2% 3A2013-07-09-04-23-14&catid=12%3A contacts &Itemid=75 (สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2565)

คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564). (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://bps.moph.go.th/new_ bps/sites/ default/files/ HealthPlan12_2560_2564.pdf (สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2565)

National Committee on Drug System Development. (2011). National drug policy B.E. 2554 and strategies for drug system development B.E. 2555-2559. Nontaburi: Publis¬ing House of the Agricultural Cooperative Federation of Thailand; 2011. (in Thai)

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2556). ยุทธศาสตร์การวิจัยรายประเด็นด้านการพัฒนาสมุนไพร (พ.ศ. 2556-2559). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ภัทรพล จึงสมเจตไพศาล. (2556). การพัฒนาต้นแบบการส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรในครัวเรือนในประเทศไทย. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, 1(32): 32.

นิลเนตร วีระสมบัติ. (2554). การใช้ยาสมุนไพรในระบบบริการสุขภาพปัจจุบัน: กรณีศึกษาเครือข่ายบริการสุขภาพอาเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, 9(1); 47-56.

คัทลียากรณ์ ไวโอเร็ต. (2556). การประเมินการใช้ยาจากสมุนไพรและความคิดเห็นของบุคลากรทางการแพทย์ ต่อการใช้ในโรงพยาบาลลองจังหวัดแพร่. การค้นคว้าแบบอิสระ สาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธนากร ประทุมชาติ และปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์. (2558). การสั่งใช้ยาสมุนไพรของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงาน ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 3(1): 98-110.

นภัสรัญชน์ ฤกษ์เรืองฤทธิ์. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้ยาสมุนไพรในโรงพยาบาลอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร. (2565). รายงานมูลค่าการใช้ยาสมุนไพรใน รพ.สต.จังหวัดสมุทรสาคร. สมุทรสาคร: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร.

Yamane, T. (1967). Statistics : An Introductory Analysis. London : John Weather Hill,Inc.

ปัทมา ศิริวรรณ. (2559). ความรู้ ทัศนคติ การรับรู้ และการใช้ยาสมุนไพร ของผู้ให้บริการและผู้รับบริการในโรงพยาบาลแม่ทา อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน.การค้นคว้าอิสระ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปวันรัตน์ กิจเฉลา, วิศรี วายุรกุล. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสั่งจ่ายยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติของแพทย์แผนปัจจุบันในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 15(2): 145-157.

ธีราวุฒิ มีชำนาญ. (2558). การประเมินการใช้ยาสมุนไพรและยาแผนไทยของสถานพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุขในจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารเภสัชกรรมไทย, 2:167-77.

คัคนางค์ โตสงวน, ณัฏฐิญา ค้าผล, มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์, เนติ สุขสมบูรณ์, วันทนีย์ กุลเพ็ง, ศรีเพ็ญ ตันติเวสส และคณะ. (2554). ความคิดเห็นของบุคลากรสาธารณสุขต่อยาจากสมุนไพรและนโยบายการส่งเสริมการใช้ยาจากสมุนไพรในสถานบริการสาธารณสุข. วารสารวิจัยระบบ สาธารณสุข, 5(4): 513-21.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-28