ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรค โรงพยาบาลเจ้าคุณไพบูลย์ พนมทวน

ผู้แต่ง

  • ศิริพรรณ โมกขพันธ์ โรงพยาบาลเจ้าคุณไพบูลย์ พนมทวน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์ แบบไม่จับคู่ เก็บรวบรวมข้อมูลแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรค โรงพยาบาลเจ้าคุณไพบูลย์ พนมทวน กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มควบคุม จำนวน 64 คน กลุ่มศึกษา จำนวน 16 คน เก็บรวบรวมข้อมูลจากการทบทวนเวชระเบียนระหว่างปีงบประมาณ 2564-2565 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติการทดสอบไคสแควร์ และสถิติวิเคราะห์การถดถอยลอจิสติกเชิงพหุ ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การมาตรวจตามนัด (Adjusted OR=.015; 95% CI=0.003 – 0.077, p-value .05) โดยที่การมาตรวจตามนัดอย่างสม่ำเสมอจะลดโอกาสการเสียชีวิตจากวัณโรคได้ร้อยละ 98.5

ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การกระตุ้นเตือนให้ผู้ป่วยวัณโรคมารับการตรวจตามนัดอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดโอกาสเสี่ยงการเสียชีวิตได้

References

กองวัณโรค กรมควบคุมโรค. แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ.2564 [Internet]. Vol. 1. กรุงเทพ:สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2564 [cited 2021 Dec 16]. Available from: https://www.tbthailand.org/home.html

กองวัณโรค กรมควบคุมโรค. แผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการต่อต้านวัณโรค สำหรับประเทศไทยได้ทำแผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการต่อต้านวัณโรค พ.ศ.2560-2564. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2564.

กองวัณโรค กรมควบคุมโรค. NTIP (National Tuberculosis Information Program ) [Internet].[cited 2021 Dec 18]. Available from: https://ntip-ddc.moph.go.th/uiform/Login.aspx

สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดกาญจนบุรี. สถิติและผลการดำเนินงานด้านวัณโรคในจังหวัดกาญจนบุรี.กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดกาญจนบุรี เข้าถึงเมื่อ 2 ธันวาคม 2565, จาก http://kanpho.go.th/

ราเมศ คนสมศักดิ์. ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อโรงพยาบาลสมเด็จพระญาณสังวร จังหวัดเชียงราย. เชียงรายเวชสาร. 2560; 9(1): 19-27.

พรพิสุทธิ์ เดชแสง. ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อ โรงพยาบาลห้วยยอด จังหวัดตรัง.วารสารวิชาการสาธารณสุข 2561; 27(5): 908-19.

จันทร์ชนก กิตติจันทโรภาส. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ จังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2562; 3(3): 75-82.

จิราวัฒน์ แก้ววินัด. ปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคปอดชนิดเสมหะพบเชื้อที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน โรงพยาบาลสุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2561; 33(3): 195-208.

เจริญศรี แซ่ตั้ง. ลักษณะของผู้ป่วยวัณโรคและปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตระหว่างรักษาของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ในภาคเหนือตอนบน ปี 2005-2014. วารสารควบคุมโรค 2560; 43(4): 436-447.

อัมพาพันธ์ วรรณพงศภัค, กิตติกาญจน์ มูลฟอง. (2560). ลักษณะและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุการตายของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ จังหวัดลำพูน. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2560; 13(2): 72-85.

จิตติพร มากเมือง, เบญจวรรณ ตาแก้ว, รุ้งอุษา นาคคงคา, ฤทัยรัตน์ แสงนา, วีรพันธ์ การบรรจง, กนกรส โค้วจริยพันธุ์และคณะ.ปัจจัยเกี่ยวเนื่องอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยวัณโรค ณ โรงพยาบาลพะเยา.เชียงรายเวชสาร 2559; 8(1): 53-59.

วิวรรธน์ มุ่งเขตกลาง, ปวีณา จังภูเขียว, กรรณิการ์ตฤณวุฒิพงษ์. สาเหตุและปัจจัยที่มี อิทธิพลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรค ระหว่างการรักษา ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ 2552-2553. วารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2559; 23(1): 22-34.

ศิโรตม์ จันทรักษา. ลักษณะและปัจจัยเสี่ยงของการเสียชีวิตในผู้ป่วยวัณโรคปอดเขตอำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคามวารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2564;18 (2): 87-96.

อัจฉรา รอดเกิด. สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการเสียชีวิตในผู้ป่วยวัณโรค จังหวัดสุราษฎร์ธานี.วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11 2562; 33 (1): 91-102.

Chantana N. Factors Related to Adherence to Multi-Drug Resistant Tuberculosis Treatment. Rama Nurs J. 2019; 25(3): 297–309.

เอกจิตรา สุขกุล. วัณโรคดื้อยาหลายขนานในจังหวัดกาญจนบุรี. โรงพยาบาลมะการักษ์ จังหวัดกาญจนบุรี กระทรวงสาธารณสุข. 2551.

Gol'dshtein RI. Causes of death of alcoholics [Abstract]. Zh Nevropatol Psikhiatr Im S Korsakova. 1985; 85(8): 1235-8. [cited 2005 Jul 18]. Available from: MEDLINE/4050240

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-28