การพยาบาลมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องที่มีภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะหลัง: กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • กนกวรรณ โสภณพงษ์ กลุ่มงานการพยาบาลสูตินรีเวชกรรม กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลขอนแก่น

บทคัดย่อ

การตกเลือดหลังคลอดเป็นภาวะแทรกซ้อนของการคลอดที่พบได้มากที่สุดและเป็นสาเหตุการตายของมารดาทั่วโลก ดังนั้นพยาบาลที่ดูแลมารดาในระยะหลังคลอดต้องมีความรู้ความสามารถในการประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะตกเลือดในระยะหลังคลอด การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง ที่มีภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะหลัง  2 ราย โดยศึกษาเปรียบเทียบ ปัจจัยเสี่ยง อาการ อาการแสดง การรักษาการวินิจฉัยทางการพยาบาลและผลลัพธ์ทางการพยาบาล

ผลการศึกษาพบว่าผู้คลอดรายที่ 1 อายุ 35 ปี ครรภ์แรก GDMA1 อายุครรภ์ 37+6 สัปดาห์ แรกรับมีน้ำเดิน ไม่เจ็บครรภ์ ระยะ Active phase ไม่มีความก้าวหน้ายุติการตั้งครรภ์โดยให้ผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง ผู้คลอดรายที่ 2 ครรภ์แรก อายุครรภ์ 33+4  สัปดาห์ มีภาวะตั้งครรภ์แฝดและเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ขณะเข้ารับการรักษา ผู้คลอดมีภาวะเจ็บครรภ์คลอดอย่างรวดเร็ว แพทย์จึงตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์โดยการผ่าคลอดทางหน้าท้อง จากการศึกษาพบว่า ผู้คลอดทั้ง 2 รายมีภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะหลัง จากการที่มดลูกหดรัดตัวไม่ดี แต่มีปัจจัยเสี่ยงที่แตกต่างกัน และในรายที่ 1 มีภาวะช็อค ร่วมด้วย ทั้งสองรายมีแนวทางในการดูแลดังนี้ ค้นหาปัจจัยเสี่ยงของการตกเลือดหลังคลอด  ประเมินอาการนำของการตกเลือดหลังคลอด เมื่อมีการเสียเลือด ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก สัญญาณชีพ อาการ อาการแสดง ให้สารน้ำ เลือดและส่วนประกอบของเลือด และยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกตามแผนการรักษาของแพทย์อย่างรวดเร็ว รวมทั้งอธิบายเกี่ยวกับพยาธิสภาพและการรักษาพยาบาลเพื่อเตรียมมารดาหลังคลอดให้พร้อมทำหัตถการและการรักษาพยาบาลเพื่อหยุดการเสียเลือดและคลายความกังวล โดยอยู่ภายใต้แนวคิดการใช้กระบวนการพยาบาลมาช่วยในการให้การดูแลรักษา ผลจากการศึกษาพบว่าผู้คลอด 2 รายที่มีภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะหลัง ปลอดภัยจากภาวะวิกฤติและสามารถกลับบ้านไปดำรงชีวิตได้ตามปกติ  ซึ่งกระบวนการ ทั้งหมดนี้ต้องอาศัยความพร้อม การปฏิบัติการที่รวดเร็ว โดยทีมที่มีประสิทธิภาพจะส่งผลให้มารดาหลังคลอดปลอดภัยลดผลกระทบต่อชีวิตและสุขภาพ

ดังนั้นพยาบาลวิชาชีพที่ให้การพยาบาลมารดาหลังคลอด ควรมีสมรรถนะทั้งในเรื่องการประเมินปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด การให้การพยาบาลในผู้ป่วยที่มีภาวะวิกฤติได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ จะช่วยให้มารดาหลังคลอดปลอดภัย ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน จนถึงแก่ชีวิตได้ในที่สุด

References

World Health Organization. (2014). WHO guidelines for the management of postpartum hemorrhage and retained placenta. France: WHO Library Cataloguing-in- Publication Data.

กรมอนามัย-กระทรวงสาธารณสุข. (2563). สถิติการตายและสาเหตุการตายของมารดาทั่วประเทศไทย. http://dashboard.anamai.moph.go.th.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. (2562). สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2562. นนทบุรี.

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.(2564). อัตราส่วนการตายมารดาไทย.

http://healthkpi.moph.go.th/kpi2/kpi/index/?id=1409.

ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. (2563). แนวทางเวชปฏิบัติ เรื่อง การป้องกันและรักษาภาวะตกเลือดหลังคลอด.

http://www.rtcog.or.th/home/wp- Content/uploads/2020/09/OB-63-020-Prevention-and-Management-o-fPostpartum-Hemorrhage.pdf.

Florida Perinatal Quality Collaborative. (2015). Florida Obstetric Hemorrhage Initiative Toolkit: A Quality Improvement Initiative for Obstetric Hemorrhage Management.

Carroll, M., Daly, D. and Begley, C.M. (2016). The prevalence of women’s emotional and physical health problems following a postpartum hemorrhage: asystematicreview. BMC Pregnancy and Childbirth,16(1), 261.

ปทุมมา กังวานตระกูล, อ้อยอิน อินยาศรี. (2560). การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือดในระยะ 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอดในห้องคลอดโรงพยาบาลอุดรธานี.วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี, 33(2), 121-133.

Lim, P.S. (2012). Uterine Atony: Management Strategies. from: https://www.intechopen.com./

จิราวัลณ์ วินาลัยวนากูล. (2561). ภาวะผิดปกติที่พบบ่อยในระหว่างการคลอด: การนำไปใช้ในการสอนนักศึกษาพยาบาล.วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 19(37), 135-147.

Abraham, W. & Berhan, Y. (2014).Predictors of labor abnormalities in university hospital : unmatched case control study. BMC Pregnancy and Childbirth. 14(256): 1-11. Retrieved March 19, 2018, from: http://www.biomedcentral.com/1471-2393/14/256

สมพร เฮงประเสริฐ.(2563). กรณีศึกษา:การพยาบาลมารดาหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง เนื่องจากมีความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ชนิดรุนแรง และตั้งครรภ์แฝด ร่วมกับมีภาวะตกเลือดหลังคลอด.วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 2(3), 75-93.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30