ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ตำบลบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • ยมพร ศักดานุภาพ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลบ่อพลอย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองชนิดศึกษา 2 กลุ่ม มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ ความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงก่อนและหลังใช้โปรแกรม และเพื่อเปรียบเทียบความรู้ เจตคติ การปฏิบัติตัวเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมหลังใช้โปรแกรม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่อาศัยอยู่ในตำบลบ่อพลอย จำนวน 60 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน กลุ่มควบคุม จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ โปรแกรมปรับพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ เก็บข้อมูลระหว่าง วันที่ 1 สิงหาคม 2565 ถึง 30 ตุลาคม 2565  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และทดสอบค่าที

ผลการวิจัยพบว่า การเปรียบเทียบความรู้ เจตคติ การปฏิบัติตัวเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงของกลุ่มทดลองก่อนและหลังใช้โปรแกรม พบว่า ความรู้ เจตคติ การปฏิบัติตัวเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) และเมื่อเปรียบเทียบความรู้ เจตคติ การปฏิบัติตัวเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมพบว่า ความรู้ เจตคติ การปฏิบัติตัวเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05)

ผลวิจัยชี้ให้เห็นว่า โปรแกรมปรับพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงนี้สามารถนำไปประยุกษ์ใช้ในหน่วยงานและในชุมชนได้ และสามารถนำไปขยายผลสำหรับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอื่นต่อไป

References

การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์. การประชุมวิชาการชมรมร้านขายยาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1 ศูนย์ประจำปี 2563 เรื่อง “ความดันโลหิตสูง: สิ่งที่น่ารู้และต้องรู้” [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 2 ส.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=seminar_detail&subpage=seminar_detail&id=3115

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. 2563. การประชุมวิชาการประจำปีครั้งที่ 18 สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 12 ก.ย. 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://thaihypertension.org/files/452_1.Thai%20Hypertension%20Conference%202020.pdf

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. ประเด็นสารรณรงค์วันความดันโลหิตสูงโลก; 2562

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี. รายงานผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. กาญจนบุรี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี; 2562

โรงพยาบาลบ่อพลอย. ทะเบียนตัวชี้วัดโรคเรื้อรังโรงพยาบาลบ่อพลอย; 2562

แผนงานสร้างเสริมสุขภาพจิต. คู่มือปรับพฤติกรรมสุขภาพ. กรุงเทพ: บริษัท เอสทีเพรส จำกัด.: 2556

Becker MH, Maiman LM. Socio behavioral determinant of compliance with health and medical care recommendations. Medical Care 1975; 13: 10-2.

House JE. The association of social relationship and activities with mortality: Community health study. American Journal Epidemiology 1981; 10(1): 12-8.

รัชนี วัฒนาเมธี. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อการควบคุมระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลชลประทาน. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2560; 3(1): 189-202.

อรุณรัตน์ บุญคำ (2565). ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารในกลุ่ม เสี่ยงต่อความดันโลหิต. สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

รุ่งนภา อาระหัง. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงสำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาล เวชปฏิบัติชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์]; มหาวิทยาลัย คริสเตียน; 2560.

มะลิ โพธิพิมพ์. ประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพต่อความรู้ ทัศคติและการปฏิบัติสร้างเสริมสุขภาพในสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ จังหวัดนครราชสีมา. สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล; 2562

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30