ผลของโปรแกรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง

ผู้แต่ง

  • Wachara Sannong

คำสำคัญ:

ผู้สูงอยุ, การป้องกันโรค, โรคความดันโลหิต

บทคัดย่อ

     การวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มวัดผลก่อนและหลังทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของ โปรแกรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุต่อความดันโลหิตและไขมันในเลือด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่ได้รับ การวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแห่งหนึ่ง จำนวน 34 คน เลือกกลุ่ม ตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนดใช้การสุ่มอย่างง่าย ระยะดำเนินการทดลอง 12 สัปดาห์ เก็บข้อมูลทั่วไป  พฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง รายด้านดังนี้ ด้านการรับประทานอาหาร ด้านการออกกำลังกาย ด้านการรับประทานยาผ่านการตรวจสอบความตรงและความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบราคเท่ากับ 0.92 รายด้าน 0.88, 0.73, และ 0.73 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติทดสอบที

     ผลการศึกษาพบว่าหลังใช้โปรแกรมฯกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนรวมพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่าก่อนการใช้โปรแกรมฯอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยความดันโลหิตซิสโตลิกและความดันโลหิตไดแอสโตลิก ระดับไขมันในเลือดแอลดีแอลลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้นจึงควรนำโปรแกรมฯมาใช้เป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองมาประยุกต์ใช้กับกลุ่มประชากรโรคเรื้อรังที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-22

How to Cite

แสนโหน่ง ว. (2024). ผลของโปรแกรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ศูนย์อนามัยที 8 อุดรธานี, 1(03), 203–220. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/hpc8Journal/article/view/922