เวชศาสตร์วิถีชีวิต

ผู้แต่ง

  • กฤษฎา ศิริชัยสิทธิ์
  • ธนิสา อนุญาหงษ์

คำสำคัญ:

เวชศาสตร์วิถีชีวิต, โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, เทคโนโลยีทางการแพทย์

บทคัดย่อ

เวชศาสตร์วิถีชีวิต (Lifestyle Medicine) เป็นสาขาทางการแพทย์ที่เน้นการป้องกันและรักษาโรค โดยมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์หรือใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและวิถีชีวิตของบุคคลและชุมชน ประกอบด้วย 6 เสาหลัก ได้แก่ อาหารและโภชนาการ การออกกำลังกาย การจัดการความเครียด การนอนหลับที่มีคุณภาพ การหลีกเลี่ยงสิ่งเสพติด เช่น สูบบุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการมีความสัมพันธ์ทางสังคมเชิงบวก เพื่อส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง  (Non-Communicable Diseases; NCDs) รวมถึงการช่วยให้ระยะโรคของโรค NCDs กลับคืนสู่สภาพปกติ โดยการระบุถึงสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพดังกล่าว ปัจจุบันเวชศาสตร์วิถีชีวิตได้รับการยอมรับมากขึ้นจากการศึกษาและการวิจัยที่แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ในการลดความเสี่ยงของโรค NCDs ต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคอ้วน และโรคมะเร็ง เป็นต้น ซึ่งการรักษารูปแบบนี้มุ่งเน้นให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้น ทั้งนี้การนำเวชศาสตร์วิถีชีวิตมาใช้ในทางการแพทย์ ยังรวมถึงการให้คำปรึกษาและการสนับสนุนผู้ป่วยในรูปแบบที่เป็นมิตรและเชิงรุก เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและวิถีชีวิตได้อย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ ดังนั้นความสำเร็จของการรักษาแบบเวชศาสตร์วิถีชีวิต จึงขึ้นอยู่กับการมีส่วนร่วมของผู้ป่วย การสนับสนุนจาก ผู้ให้บริการสุขภาพ และการเข้าถึงทรัพยากรที่จำเป็น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-24

How to Cite

ศิริชัยสิทธิ์ ก., & อนุญาหงษ์ ธ. (2024). เวชศาสตร์วิถีชีวิต. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ศูนย์อนามัยที 8 อุดรธานี, 1(4), 1–12. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/hpc8Journal/article/view/1353