สถานการณ์สุขภาพและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับดัชนีมวลกายวัยทำงาน อายุ 15 – 59 ปี เขตสุขภาพที่ 8

ผู้แต่ง

  • ยุทธนา ชนะพันธ์
  • ธนิสา อนุญาหงษ์

คำสำคัญ:

พฤติกรรมสุขภาพ, ดัชนีมวลกาย, วัยทำงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytical study) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์สุขภาพและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับดัชนีมวลกายวัยทำงานอายุ 15-59 ปี ในเขตสุขภาพที่ 8 กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนวัยทำงาน อายุ 15-59 ปี จำนวน 2,017 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) และใช้แบบสอบถามประเมินตนเอง (Self-assessment) เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ทำการศึกษาระหว่างเดือน มกราคม-พฤษภาคม 2564 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณณา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ โดยใช้สถิติเชิงอนุมานไคสแควร์ (Chi-square test) กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง เป็นเพศหญิง จำนวน 1,313 คน คิดเป็นร้อยละ 65.10     มีค่าดัชนีมวลกายปกติ คิดเป็นร้อยละ 42.84   มีโรคประจำตัว คิดเป็นร้อยละ 13.70 และมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ 4 ด้าน ดังนี้ ด้านที่ 1 พฤติกรรมการบริโภค ทานอาหารกลุ่มผัก วันละ 5 ทัพพี ตั้งแต่ 4 วันขึ้นไปต่อสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 79.12 ด้านที่ 2 พฤติกรรมการเคลื่อนไหวออกแรง มีกิจกรรมทางกายมากกว่า    หรือเท่ากับ 150 นาทีต่อสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 73.18 ด้านที่ 3 พฤติกรรมการนอนหลับสนิท 7-9 ชั่วโมงต่อวัน ตั้งแต่ 3 วันขึ้นไปต่อสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 91.32 และด้านที่ 4 พฤติกรรมการดูแลช่องปาก แปรงฟันก่อนนอนด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ทุกวันนาน อย่างน้อย 2 นาที คิดเป็นร้อยละ 71.79 ผลการวิเคราะห์ปัจจัย    ที่มีความสัมพันธ์กับดัชนีมวลกายที่เป็นปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ รอบเอว และการมีโรคประจำตัว พบว่ามีความสัมพันธ์กับดัชนีมวลกายวัยทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value <0.001), (p-value =0.007),   (p-value =0.007) และ (p-value <0.001) ตามลำดับ โดยปัจจัยด้านพฤติกรรมสุขภาพ พฤติกรรมการเคลื่อนไหวออกแรง การมีกิจกรรมทางกายมากกว่าหรือเท่ากับ 150 นาทีต่อสัปดาห์ และพฤติกรรมเสี่ยงโรคมะเร็ง การสูบบุหรี่ มีความสัมพันธ์กับดัชนีมวลกายวัยทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value =0.027) และ (p-value =0.020)

ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษาครั้งนี้ ควรส่งเสริมให้ประชาชนวัยทำงานมีพฤติกรรมการเคลื่อนไหวออกแรงในระดับที่เพียงพอ และลดพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ซึ่งจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่าดัชนีมวลกาย และควรศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เพื่อให้ได้รูปแบบหรือพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพและการออกกำลังกายสำหรับวัยทำงานอายุ 15–59 ปี เขตสุขภาพที่ 8 ที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-24

How to Cite

ชนะพันธ์ ย., & อนุญาหงษ์ ธ. (2024). สถานการณ์สุขภาพและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับดัชนีมวลกายวัยทำงาน อายุ 15 – 59 ปี เขตสุขภาพที่ 8 . วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ศูนย์อนามัยที 8 อุดรธานี, 1(4), ึ73–86. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/hpc8Journal/article/view/1361