การจัดการสิ่งปฏิกูลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เขตสุขภาพที่ 9
คำสำคัญ:
สิ่งปฏิกูล, การจัดการสิ่งปฏิกูล, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, เขตสุขภาพที่ 9บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การจัดการสิ่งปฏิกูลและเปรียบเทียบการจัดการสิ่งปฏิกูลของเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล เขตสุขภาพที่ 9 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 305 แห่ง แยกเป็นเทศบาล จำนวน 93 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 212 แห่ง เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ที่ผู้วิจัยประยุกต์จากเครื่องมือของกรมอนามัย สุ่มตัวอย่างโดยความสะดวก (Convenience sampling) ใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ใช้สถิติ t-test และ ไคว์สแควร์เพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างของการจัดการสิ่งปฏิกูลระหว่างเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล
ผลการศึกษา พบว่า ค่าคะแนนการจัดการสิ่งปฏิกูลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยการจัดการสิ่งปฏิกูลของเทศบาลมีคะแนนเฉลี่ย 3.88 คะแนน องค์การบริหารส่วนตำบลมีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.05 คะแนน เทศบาลออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อควบคุมการจัดการสิ่งปฏิกูล ร้อยละ 90.30 ให้บริการสูบ ขนสิ่งปฏิกูล ร้อยละ 91.40 และมีระบบบำบัดสิ่งปฏิกูล ร้อยละ 2.15 ส่วนองค์การบริหารส่วนตำบลออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อควบคุมการจัดการสิ่งปฏิกูล ร้อยละ 83.49 ให้บริการสูบ ขนสิ่งปฏิกูล ร้อยละ 80.19 และมีระบบบำบัดสิ่งปฏิกูล ร้อยละ 2.83
ข้อค้นพบการจัดการสิ่งปฏิกูลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีแนวโน้มดีขึ้น มีระบบบำบัดสิ่งปฏิกูลที่ถูกหลักสุขาภิบาลค่อนข้างน้อย พบปัญหาการลักลอบทิ้งสิ่งปฏิกูลในพื้นที่ จึงมีข้อเสนอแนะสำหรับเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลที่ยังไม่มีข้อบัญญัติท้องถิ่นควรออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อควบคุม กำกับและบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งสนับสนุนและจัดสรรงบประมาณสำหรับการก่อสร้างระบบบำบัดสิ่งปฏิกูลที่ถูกสุขลักษณะต่อไป
