การพัฒนารูปแบบคัดกรองค้นหาวัณโรคและวัณโรคระยะแฝงในผู้สัมผัสวัณโรค อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู

ผู้แต่ง

  • สุภาวดี ดอนจันลา

คำสำคัญ:

การป้องกันการติดเชื้อวัณโรค, กลุ่มผู้สัมผัสโรคร่วมบ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคในกลุ่มผู้สัมผัสโรคร่วมบ้าน และศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคในกลุ่มผู้สัมผัสโรคร่วมบ้าน โรงพยาบาลโนนสัง อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู ระหว่างเดือนมกราคม-มิถุนายน 2567 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สัมผัสร่วมบ้านผู้ป่วยติดเชื้อวัณโรค จำนวน 114 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป CVI = 1, ความรู้ KR20=0.94, พฤติกรรมการป้องกันวัณโรค alpha = 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Wilcoxon signed ranks test และ Paired t-test

ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบคัดกรองค้นหาวัณโรคและวัณโรคระยะแฝงในผู้สัมผัสวัณโรค มีดังนี้ 1) การพัฒนาศักยภาพ อสม.และเครือข่าย 2) อบรมผู้สัมผัสร่วมบ้าน 3) แนะนำผู้สัมผัสร่วมบ้าน และ 4) การประเมินผล หลังพัฒนามีค่าเฉลี่ยความรู้โดยรวมเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Z = -4.220 , p <.001) ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคโดยรวมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-4.829, p<.001) มากที่สุด คือ ด้านการสนับสนุนของเจ้าหน้าที่ (t=-3.209, p=0.002) การสัมผัสทางเสมหะ (t=-2.748, p=0.007) และน้อยที่สุดด้านการหาความรู้และการแนะนำ (t=-2.113, p=0.037) ตามลำดับ

สรุป การพัฒนารูปแบบคัดกรองค้นหาวัณโรคและวัณโรคระยะแฝงในผู้สัมผัสวัณโรค หลังพัฒนาส่งผลให้มีพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคเพิ่มขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-24

How to Cite

ดอนจันลา ส. (2024). การพัฒนารูปแบบคัดกรองค้นหาวัณโรคและวัณโรคระยะแฝงในผู้สัมผัสวัณโรค อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ศูนย์อนามัยที 8 อุดรธานี, 1(4), 100–108. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/hpc8Journal/article/view/1363