This is an outdated version published on 2024-09-30. Read the most recent version.

ผลการศึกษาเปรียบเทียบการดูแลผู้ป่วยจิตเภทด้วยโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะในการจัดการความเครียดกับโปรแกรมสติบำบัด (MBTC) หอผู้ป่วยจิตเวช โรงพยาบาลหนองบัวลำภู

ผู้แต่ง

  • Bualoy Bualoy -

คำสำคัญ:

การดูแลผู้ป่วยจิตเภท, โปรแกรมการเสริมสร้างทักษะในการจัดการความเครียด, โปรแกรมสติบำบัด

บทคัดย่อ

    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความเครียด สัดส่วนการขาดยา สัดส่วนการกลับมาป่วยซ้ำ สัดส่วนการกลับมาป่วยซ้ำและทักษะความจำเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตของผู้ป่วยโรคจิตเภท ในกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะในการจัดการความเครียด กับกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมสติบำบัด (Mindfulness Based Therapy and Counseling :MBTC) กลุ่มตัวอย่างคือผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยจิตเวช โรงพยาบาลหนองบัวลำภู จำนวน 46 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มๆละ 23 คน โดยกลุ่มหนึ่งได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะในการจัดการความเครียดกับโปรแกรมสติบำบัด และอีกกลุ่มได้รับโปรแกรมสติบำบัดเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ได้แก่ แบบประเมินความเครียดด้วยตนเอง และแบบประเมินความสามารถเกี่ยวกับทักษะจำเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตประจำวันของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ

ผลการศึกษา ภายหลังการทดลอง 28 วันและ 3  เดือน พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดผู้ดูแลในกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมสติบำบัดน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับโปรแกรมเสริมสร้างทักษะการจัดการความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ส่วนค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถเกี่ยวกับทักษะจำเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตประจำวันของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท ในกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมสติบำบัด ภายหลังการทดลอง 28 วันและ 3  เดือน สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) และพบว่ากลุ่มที่ได้รับโปรแกรมสติบำบัด มีค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดภายหลังการทดลอง ต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.05) ภายหลังการได้รับโปรแกรมสติบำบัดทันทีอุบัติการณ์การกลับมาเป็นซ้ำ Re-admit ภายใน 28 วันของผู้ป่วยจิตเภททั้งสองกลุ่มนั้นไม่มีความแตกต่างกัน แต่เมื่อเวลาผ่านไป 3 เดือนพบว่ากลุ่มได้รับโปรแกรมสติบำบัด มีอุบัติการณ์การป่วยซ้ำ Re-admit น้อยกว่ากลุ่มได้รับโปรการเสริมสร้างทักษะการจัดการความเครียด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

สรุป โปรแกรมสติบำบัด (MBTC) สามารถประยุกต์ใช้ในระบวนการให้คำปรึกษา เพื่อช่วยลดความเครียด พัฒนาความสงบของจิตใจ การมีชีวิตที่สงบสุขมากขึ้นในผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทได้ และยังช่วยลดอัตราการกลับมาป่วยซ้ำ Re-admit ช่วยเพิ่มอัตราการรับประทานยาต่อเนื่องในผู้ป่วยจิตเภทได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-30

Versions

How to Cite

Bualoy, B. (2024). ผลการศึกษาเปรียบเทียบการดูแลผู้ป่วยจิตเภทด้วยโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะในการจัดการความเครียดกับโปรแกรมสติบำบัด (MBTC) หอผู้ป่วยจิตเวช โรงพยาบาลหนองบัวลำภู. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ศูนย์อนามัยที 8 อุดรธานี, 2(4), 86–98. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/hpc8Journal/article/view/1938