การพัฒนารูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ โรงพยาบาลหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • สมจิตร เดชาเสถียร

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์, เครือข่ายชุมชน

บทคัดย่อ

               วิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ โดยใช้ทฤษฎีระบบเป็นกรอบดำเนินงานร่วมกับแนวคิดพัฒนาของเดมมิ่ง กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจงได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ จำนวน 30 คน ญาติผู้แล จำนวน 30 คน ทีมสหสาขาวิชาชีพ จำนวน 15 คน และเครือข่ายชุมชน จำนวน 15 คน รวม 90 คน ศึกษาระหว่างเดือน มิถุนายน – สิงหาคม พ.ศ.2566  เก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามการดูแลหญิงตั้งครรภ์และแบบส่งต่อการดูแล ผ่านการตรวจสอบความตรงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญและทดสอบความเชื่อมั่นโดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคมีค่าเท่ากับ 0.92 และ0.88  ข้อมูลเชิงปริมาณ วิเคราะห์โดยแจกแจงความถี่ ร้อยละ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

           ผลการวิจัย 1) สถานการณ์และปัญหา พบว่า แนวปฏิบัติการดูแลหญิงตั้งครรภ์ขาดความชัดเจน ผู้ปฏิบัติขาดความมั่นใจ และการส่งต่อไม่ชัดเจน 2) การพัฒนารูปแบบดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ มีดังนี้ 2.1) จัดประชุมทีมสร้างความเข้าใจ 2.2) หารูปแบบการดูแล 2.3) การแต่งตั้งคณะทำงาน 2.4) การส่งต่อชุมชน ผลลัพธ์การพัฒนา พบหญิงตั้งครรภ์มีภาวะความดันโลหิตสูง ขณะตั้งครรภ์ได้รับการดูแลตามรูปแบบ ร้อยละ100  ส่งต่อให้ชุมชนดูแล ร้อยละ 90 ส่งต่อ โรงพยาบาลประจำจังหวัดร้อยละ 10  ผลของรูปแบบการดูแล พบว่า เหมาะสมนำไปใช้ได้จริง ร้อยละ96.78 ความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติอยู่ในระดับมาก (x̅ = 2.95, SD= 0.71) และความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่และเครือข่ายชุมชนอยู่ในระดับมาก (x̅ = 2.90, SD= 1.85) ผลการวิจัยครั้งนี้เกิดรูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ได้รับการดูแลครอบคลุมมากขึ้น เกิดความเชื่อมโยงการดูแลของโรงพยาบาลลงสู่ชุมชน จึงควรขยายรูปแบบการดูไปยังพื้นที่อื่นเพื่อให้เกิดระบบการดูแลที่มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-03

How to Cite

เดชาเสถียร ส. . . (2023). การพัฒนารูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ โรงพยาบาลหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ศูนย์อนามัยที 8 อุดรธานี, 1(01), 92–104. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/hpc8Journal/article/view/477