การพยาบาลผู้ป่วยแผลไหม้ในภาวะวิกฤต: กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • สุเพ็ญทิพย์ ทิพย์ประเสริฐ

คำสำคัญ:

แผลไหม้, การพยาบาล, ภาวะวิกฤต

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยแผลไหม้ในภาวะวิกฤต และบทบาทการพยาบาลผู้ป่วยแผลไหม้ในภาวะวิกฤต วิธีการศึกษา ใช้วิธีการแบบกรณีศึกษา (Case Study) ทำการศึกษาในหน่วย Burn Unit โรงพยาบาลร้อยเอ็ด ระหว่างเดือนกันยายน - ตุลาคม พ.ศ. 2566 กลุ่มตัวอย่าง กรณีศึกษา 2 ราย ได้แก่ กรณีศึกษาที่ 1 เป็นผู้ป่วยแผลไหม้ผู้ใหญ่ วินิจฉัย 2 degree burn at Leg 12% TBSA กรณีศึกษาที่ 2 เป็นผู้ป่วยแผลไหม้เด็ก วินิจฉัย 2 degree burn 20% TBSA เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบบันทึกเปรียบเทียบกรณีศึกษา วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้การสัมภาษณ์ สังเกต การสนทนา การศึกษาเอกสาร ผลการศึกษา ข้อมูลทั่วไป กรณีผู้ใหญ่อาศัยอยู่กับครอบครัวของพี่สาว ไม่มีผู้ดูแลหลัก ส่วนกรณีเด็กอาศัยอยู่บิดามารดา มีผู้ดูแล สาเหตุการเกิดแผลไหม้มาจากความร้อนทั้ง 2 ราย ระหว่างอยู่รักษาใน Burn unit พบปัญหาที่เหมือนกันคือ แผลไหม้และสูญเสียความสมบูรณ์ของผิวหนัง สูญเสียน้ำและเกลือแร่ ปวดแสบแผล ระคายเคืองตา ความต้องการสารอาหาร วิตกกังวลเมื่อกลับไปอยู่บ้าน ความแตกต่างระหว่างกรณีศึกษา 2 ราย คือ กรณีเด็กเกิดปัญหาการหายใจเองไม่ได้ใน 48 ชั่วโมงแรกต้องใส่เครื่องช่วยหายใจหลังจากนั้นหายใจได้เอง และผื่นแพ้ขึ้นตามร่างกาย เสี่ยงต่อภาวะน้ำตาลในกระแสเลือดต่ำหรือสูง ผลลัพธ์การรักษาพยาบาล สภาพจำหน่ายทุเลา กรณีผู้ใหญ่อยู่รักษา 8 วัน ค่ารักษาพยาบาล 45,000 บาท กรณีเด็กอยู่รักษา 15 วัน              ค่ารักษาพยาบาล 75,000 บาท บทบาทของพยาบาลในการดูแลแผลไหม้ ได้แก่ การบริหารงานการพยาบาล การปฏิบัติการพยาบาล การกำหนดและติดตามตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาล ดังนั้นควรมีการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลเพื่อให้การดูแลผู้ป่วยอย่างมีคุณภาพ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27

How to Cite

ทิพย์ประเสริฐ ส. . (2023). การพยาบาลผู้ป่วยแผลไหม้ในภาวะวิกฤต: กรณีศึกษา 2 ราย . วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ศูนย์อนามัยที 8 อุดรธานี, 1(02), 86–103. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/hpc8Journal/article/view/736