การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระบบทางด่วน : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • Jindaporn Lunda

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมอง, การให้ยาละลายลิ่มเลือด

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระบบทางด่วน: กรณีศึกษา 2 ราย และนําผลการศึกษาไปปรับปรุงคุณภาพการพยาบาลให้มีประสิทธิภาพ ดำเนินการศึกษาระหว่าง เดือนตุลาคม 2565 - กันยายน 2566

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง : กรณีศึกษา 2 ราย

ผลการศึกษา ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระบบทางด่วน 2 รายพบว่า

กรณีศึกษารายที่ 1 ผู้ป่วยชายไทยวัย 54 ปี อาการสำคัญ พูดไม่ชัด ปากเบี้ยวซีกขวา มีอาการแขนขาข้างขวาอ่อนแรง ก่อนมาโรงพยาบาล 1 ชั่วโมง  มาโรงพยาบาลด้วยระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ได้รับการวินิจฉัย Cerebral infarction ได้รับยาละลายลิ่มเลือด (rt-PA)ภายในระยะเวลาที่รวดเร็ว หลังได้รับยาผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นพูดได้ชัดเป็นปกติ อาการแขนขาข้างขวาอ่อนแรงดีขึ้นเป็นปกติ   ไม่มีอาการแทรกซ้อนจากการให้ยาละลายลิ่มเลือด

 กรณีศึกษารายที่ 2 ผู้ป่วยชายไทย อายุ58 ปี อาการสำคัญ พูดไม่ชัด ปากเบี้ยวซีกซ้าย  แขนขาข้างซ้ายอ่อนแรง  ก่อนมาโรงพยาบาล 2 ชั่วโมงมาโรงพยาบาลโดยญาตินำส่ง ได้รับการวินิจฉัย Cerebral infarctionและมีปัญหาความดันสูงร่วม จึงต้องให้ยา Nicardipineก่อนแล้วถึงให้ยาละลายลิ่มเลือด หลังจากได้ยาผู้ป่วยมีอาการแขนขาข้างซ้ายดีขึ้นแต่ยังไม่ปกติยังมีอาการพูดไม่ชัด ปากเบี้ยวซีกซ้าย  

สรุป : การศึกษาในครั้งนี้พบว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มาโรงพยาบาลเร็วและได้รับยาละลายลิ่มเลือดที่รวดเร็วจะทำให้มีการฟื้นตัวได้ดีลดความพิการและลดการเสียชีวิต

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-22

How to Cite

ลันดา จ. (2024). การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระบบทางด่วน : กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ศูนย์อนามัยที 8 อุดรธานี, 1(03), 24–36. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/hpc8Journal/article/view/926