การศึกษาพฤติกรรมความปลอดภัยจากโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจของบุคลากรในโรงพยาบาลบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • ลำพู เนียมทอง Banpong Hospital

คำสำคัญ:

โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ, เชื้อไวรัส โควิด-19, บรรยากาศความปลอดภัย, พฤติกรรมความปลอดภัย

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาพฤติกรรมความปลอดภัยจากโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจของบุคลากรใน โรงพยาบาลบ้านโป่ง  จังหวัดราชบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรโรงพยาบาลบ้านโป่ง จำนวน 355 คน  เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถาม บรรยากาศความปลอดภัย และพฤติกรรมความปลอดภัยจากโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ โรคโควิด-19  มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.96 และ 0.84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้  ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ความถดถอย  ผลการศึกษาพบว่า 1) บุคลากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง  อายุเฉลี่ยอยู่ที่ 40.54 ปี เป็นพยาบาลวิชาชีพและผู้ช่วยพยาบาลร้อยละ 45.92 เคยป่วยด้วยโรคโควิด-19 ร้อยละ 63.66 มีประสบการณ์ทำงานในโรงพยาบาลเฉลี่ย 15.74 ปี มีประสบการณ์ในสถานการณ์ควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล ร้อยละ 90.70 และมีประสบการณ์ในสถานการณ์ควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลเฉลี่ย 7.09 ปี  2) บรรยากาศความปลอดภัย อยู่ในระดับดี 3) พฤติกรรมความปลอดภัย อยู่ในระดับดีมาก 4) เมื่อเปรียบเทียบปัจจัยอายุ ประสบการณ์การทำงานในโรงพยาบาล ตำแหน่งงาน และการเข้าร่วมกิจกรรมความปลอดภัยจากโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ โรคโควิด-19  มีความสัมพันธ์กับประวัติการติดเชื้อ และไม่มีประวัติติดเชื้อโรค  โควิด-19 5) บรรยากาศความปลอดภัยจากการติดเชื้อโรคระบบทางเดินหายใจ โรคโควิด-19 ได้แก่ ด้านการจัดทำความสะอาดสถานที่ทำงาน ด้านความพร้อมของอุปกรณ์ และการสวมใส่อุปกรณ์ใช้ในการป้องกันตนเองของบุคลากร และด้านการฝึกอบรมความปลอดภัยจากโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจโรคโควิด-19 สามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมความปลอดภัย ได้ร้อยละ 62.40 (r2 = 0.624) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Downloads

Download data is not yet available.

References

สยมพร ศิรินาวิน. โควิด-19 ความรู้ สู่ปัญญา พัฒนาการปฏิบัติ. นนทบุรี : สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ; 2563.

Woldometer. [Internet]. COVID-19 CORONAVIRUS PANDEMIC.2022 [cited 2022 Aug 14] Available from: https://www.worldometers.info/coronavirus

อมร ลีลารัศมี. เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อ COVID-19 จากเชื้อไวรัส SARS-CoV-2.[อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://tmc.or.th/covid19/download/pdf/tmc-covid19-19.pdf

สุรีพร คนละเอียด และคณะ. การประเมินความเสี่ยงการติดเชื้อ Coronavirus Disease 2019 (COVID-2019) ในโรงพยาบาลชายขอบของไทย. นนทบุรี : สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์; 2564.

รุจิภาส สิริจตุภัทร และคณะ. โควิด-19 ในบุคลากรทางการแพทย์ในประเทศไทย. นนทบุรี : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2564.

กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล. ไขข้อสงสัย ทำไมบุคลากรสาธารณสุขติดเชื้อโควิด-19. [อินเตอร์เน็ต] . 2563. [เข้าถึงเมื่อ 26 มิ.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2020/04/19158

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์กรมหาชน). นโยบายความปลอดภัยบุคลากรสาธารณสุข สู้ภัยโควิด-19. [อินเตอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 26 มิ.ย. 2565] เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2020/04/19122.

David M. DeJoy. Theoretical models of health behavior and workplace self-protective behavior. Journal of Safety Research. 1996; 27(2): 61-72.

สุนทร บุญบำเรอ. พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพยาบาลในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมา. 2557; 20(2): 82-92.

ชุติมา ดีสวัสดิ์ และพรทิพย์ กีระพงษ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2564; 15(38): 399-413.

Agnew C, Flin R, Mearns K. Patient safety climate and worker safety behaviours in acute hospitals in Scotland. J Safety Res 2013;45:95-101. doi: 10.1016/j.jsr.2013.01.008.

Houghton C, Meskell P, Delaney H, Smalle M, Glenton C, Booth A, et al. Barriers and facilitators to healthcare workers’ adherence with infection prevention and control (IPC) guidelines for respiratory infectious diseases: a rapid qualitative evidence synthesis. Cochrane Database Syst Rev 2020; 4(4):CD013582. doi: 10.1002/14651858.CD013582.

Cooper, M. D., Phillips, R. A. Exploratory analysis of the safety climate and safety behavior relationship. Journal of safety research. 2004; 35(5):497-512.

Gershon RR, Karkashian CD, Grosch JW, Murphy LR, Escamilla-Cejudo A, Flanagan PA, et al. Hospital safety climate and its relationship with safe work practices and workplace exposure incidents. Am J Infect Control. 2000;28(3):211-21. doi: 0.1067/mic.2000.105288.

Parker SK, Axtel CM, Turner N. Designing a safer workplace: Importance of job autonomy, communication quality, and supportive supervisors. J Occup Health Psychol 2001;6(3):211-28. PMID: 11482633.

Hu X, Yan H, Casey T, Wu C. Creating a safe haven during the crisis: How organizations can achieve deep compliance with COVID-19 safety measures in the hospitality industry. Int J Hosp Manag 2020:102662. doi: 10.1016/j.ijhm.2020.102662.

Muflih S, Al-Azzam S, Lafferty L, Karasneh R, Soudah O, Khader Y, et al. Pharmacists self-perceived role competence in prevention and containment of COVID-19: A cross-sectional study. Annals of Medicine and Surgery 2021;64: 102243. doi: 10.1016/j.amsu.2021.102243.

Martiana T, Suarnianti S. The determinants of Safety behavior in hospital. Indian Journal of Public Health Research and Development 2018;9(4):147-53. doi: 10.5958/0976-5506.2018.00273.5.

Selahattin Kanten. A Research on The Effect of Organizational Safety Climate Upon The Safe Behaviors. Ege Akademik Bakis (Ege Academic Review) 2009; 9(3): 932-932. DOI:10.21121/eab.2009319694.

สมมิตร สิงห์ใจ และคณะ. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล บรรยากาศองค์กรกับการมีส่วนร่วมในการบริหารความเสี่ยงของบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดเชียงใหม่. พยาบาลสาร. 2559; 43 (ฉบับพิเศษ): 162-172.

Lyu S, Hon CK, Chan AP, Wong F, Javed AA. Relationships among Safety Climate, Safety Behavior, and Safety Outcomes for Ethnic Minority Construction Workers. Int J Environ Res Public Health 2018;15(3):484. doi: 10.3390/ijerph15030484.

วชิระ สุริยวงค์ และคณะ. วัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กรและพฤติกรรมการทำงานด้วยความปลอดภัยของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2560;5(1): 103-18.

อาภาพร เผ่าวัฒนา และคณะ. การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชนการประยุกต์แนวคิดและทฤษฏีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : หจก. โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2554.

Amponsah-Tawaih K, Adu MAWork Pressure and Safety Behaviors among Health Workers in Ghana:The Moderating Role of Management Commitment to Safety. Saf Health Work. 2016; 7(4): 340-346. doi: 10.1016/j.shaw.2016.05.001

ฉวีฉัตร โฉลกคงถาวร. การศึกษาพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรง พยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2560;31(1):61-71.

Rapeephan R. Maude. Improving knowledge, attitudes and practice to prevent COVID-19 transmission in healthcare workers and the public in Thailand. BMC Public Health. 2021; Doi.org/10.1186/s12889-021-10768-y.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-22