ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • สมเกียรติ โค้วไล้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี

คำสำคัญ:

ทัศนคติ, แรงสนับสนุนทางสังคม, การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพ  ปฐมภูมิ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 79 คน และบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 79 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ทัศนคติ แรงสนับสนุนทางสังคม และ การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง .67 - 1.0 โดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ .71, .90 และ .89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ไคสแควร์

ผลการวิจัย ปัจจัยด้านข้อมูลส่วนบุคคล มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) ปัจจัยด้านทัศนคติมีความสัมพันธ์กับการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (c2 = 11.510, p < 0.05) แรงสนับสนุนทางสังคมความสัมพันธ์กับการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (c2 = 26.288, p <0.05)

 

Downloads

Download data is not yet available.

References

สุพัตรา ศรีวณิชชากร. สถานการณ์การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ พ.ศ.2547 - 2558. นนทบุรี: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน; 2558.

สำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ. พระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 [ออนไลน์]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 20 ธ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://sites.google.com/site/

สำนักวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน. การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลง: ข้อเสนอเชิงนโยบาย. ใน: ประชุมวิชาการมหกรรมสุขภาพชุมชน ครั้งที่ 2; 19มกราคม 2558; ห้อง Grand Diamond Ballroom นนทบุรี; หน้า 1-15.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี. สรุปผลการพัฒนาหน่วยบริการปฐมภูมิ ปี 2565. ราชบุรี; 2565.

ณัฐดนัย โคตรบรรเทา, มกราพันธุ์ จูฑะรสก, ประจักษ์ บัวผัน. ปัจจัยทางการบริหารและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานคลินิกหมอครอบครัว หน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2564;17(2):645-661.

อังคณา ภิโสรมย์. ศศิธร ธนะภพ และกฤตย์ติวัฒน์ ฉัตรทอง. ความรู้เจตคติและการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดชุมพร. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ 2560;10(36):54-65.

Newcomb. Attitude [online]. 1854 [cited 2024 Jan 10]. Available from: http://www.novabizz.Ace/Attitude.htm

Schaffer MA. Social support. In: Peterson, Bredow TS, editors. Middle range theories, Application to nursing research. 1st ed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2004.

King G, Willoughby C, Specht JA, Brown E. Social support processes and the adaptation of individuals with chronic disabilities. Qual Health Res 2006;16(7):902-925.

Jacobson DE. Types and Timing of Social Support. J Health Soc Behave 1986;6(5).

Best JW. Research in Education. New Jersey: Prentice - Hall; 1981.

นพดล นพมณี. ความสัมพันธ์ระหว่างความพร้อม และการรับรู้กับทัศนคติในการพัฒนาตามเกณฑ์มาตรฐาน รพ.สต.ติดดาว. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน 2563; 3(1):45-57.

สุทิศา อาภาเภสัช. ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาระบบบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ของจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2563;6(3):86-95.

สุรสิทธิ์ เทียมทิพย์. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานพัฒนาระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิของบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก 2566;10(1):92-105.

Cohen, Sheldon, Thomas AW. Stress, social support, and the buffering hypothesis. Psychological bulletin 1985;98(2):310.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-21