ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองจอก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • บุณย์ลิตา กิจสุดแสง -

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดูแลตนเอง, ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองจอก อำเภอท่ายาง  จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองจอก อำเภอท่ายาง  จังหวัดเพชรบุรี ระหว่างเดือนพฤศจิกายน–ธันวาคม พ.ศ. 2565 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้จำนวน 140 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับโรคความดันโลหิตสูง  มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.88 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ และค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน  ผลการวิจัยพบว่า  ผู้ป่วยส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 63.57) อายุ 51 ปีขึ้นไป (ร้อยละ 55.71) สถานภาพสมรสคู่ (ร้อยละ 70) ศึกษาในระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 61.43)  อาชีพเกษตรกร (ร้อยละ 72.14)  มีรายได้ต่อเดือนระหว่าง 5,000-10,000 บาท (ร้อยละ 79.29)  มีญาติสายตรงที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 51.43) และไม่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง (ร้อยละ 85.71)  มีคะแนนความรู้เรื่องโรคความดันสูงในระดับสูง (ร้อยละ 72.14) ด้านทัศนคติ อยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X} = 3.89, SD=0.63) การรับรู้อุปสรรคและความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูงในระดับมาก ( 3.91, SD= 0.63) ปัจจัยเอื้ออยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 3.72, SD=0.70) และปัจจัยเสริมอยู่ในระดับมาก            (gif.latex?\bar{X}= 3.82, SD=0.70) พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตอยู่ ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=3.69, SD= 0.21)   ปัจจัยส่วนบุคคลสถานภาพสมรส ระดับการศึกษา และอาชีพ ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองเกี่ยวโรคความดันโลหิตสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 

 

Downloads

Download data is not yet available.

References

สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข. การควบคุมโรคไม่ติดต่อ. นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข. 2562.

จินตนา อาจสันเที๊ยะ และ พรนภา คำพราว. รูปแบบการดูแลสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน.วารสารพยาบาลทหารบก. 2557;15(3):123-27.

มุฑิตา วรรณชาติ, สุธรรม นันทมงคลชัย, โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์, และ พิมพ์สุรางค์ เตชะบุญเสริมศักดิ์. คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ที่มีโรคเรื้อรัง ในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 2558;(ฉบับพิเศษ):18-29.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. จำนวนและอัตราตายด้วยโรคไม่ติดต่อ ปี พ.ศ.2563 จำแนกรายจังหวัด. [อินเทอร์เน็ต] 2564 [เข้าถึงเมื่อ 1 มิถุนายน 2564]; เข้าถึงได้จาก http://www.thaincd.com/ information-statistic/non-communicable-disease-data.php.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทยพ.ศ. 2554-2563. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2554.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี. ข้อมูลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. เพชรบุรี : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี; 2563.

ประเสริฐ ธนกิจจารุ. การรักษาความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง. วารสารกรมการแพทย์. 2558; 40(5):36-48.

พัชราภรณ์ พัฒนะ. คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่เข้าโรงเรียนผู้สูงอายุ จังหวัดสระบุรี [การค้นคว้าอิสระ ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2560.

รุ้งระวี นาวีเจริญ. ความดันโลหิตสูง. กรุงเทพฯ: อมรินทร์สุขภาพ; 2560.

รุ่งนภา อาระหัง. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงสำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงที่ชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัด นครปฐม. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2560.

พิทยา ไพบูลย์ศิริ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ2ส ของผู้บริหารภาครัฐ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 2561;8(1):98-105.

อาภรณ์ ดีนาน สงวน ธานี วชิราภรณ์ สุมนวงศ์ สมสมัย รัตนกรีฑากุล และ ชัชวาล วัตนกุล. การลดปัจจัยเสี่ยงและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง (ระยะที่1). [รายงานวิจัย]. ชลบุรี: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา; 2558.

Orem, D. E., Taylor, S. G., & Renpenning, K. M. Nursing: Concepts of practice (6th ed.). St. Louis: Mosby; 2001.

ดรุณี ยศพล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงในเขตเทศบาลตำบลอรัญญิก อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.[วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยเกริก;2560.

สมรัตน์ ขำมาก. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนางเหล้า อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2559;3(3):153-69.

นาตยา ดวงประทุม. การรับรู้ส่วนบุคคลของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ตำบลแห่งหนึ่งในอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 2564;8(3):188-99.

ศศิธร ตันติเอกรัตน์และอภิชัย คุณีพงษ์. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำคำ อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว.Veridian E-Journal, Silpakorn University.2563;12(6):2542-56.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-22