รายงานกรณีศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกที่มีภาวะติดเชื้อหลังผ่าตัด

ผู้แต่ง

  • วศินี ธิวรรณลักษณ์ กลุ่มงานการพยาบาลด้านการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ โรงพยาบาลน่าน

คำสำคัญ:

การพยาบาล, ผ่าตัดตาต้อกระจก, ภาวะติดเชื้อหลังผ่าตัด

บทคัดย่อ

            โรคต้อกระจก เป็นภาวะที่มีเลนส์แก้วตาขุ่น โดยวิธีการรักษาให้ได้ผลดีที่สุด คือ การผ่าตัดต้อกระจก อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดต้อกระจก มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดได้ ทั้งนี้ภาวะแทรกซ้อนที่ต้องเฝ้าระวังมากที่สุด คือ การติดเชื้อในลูกตา เนื่องจากอาจทำให้สูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร หรือถ้ารุนแรงยิ่งขึ้นอาจสูญเสียลูกตาตามมา

            การศึกษาครั้งนี้เป็นกรณีศึกษา 1 ราย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยผ่าตัดตาต้อกระจกที่มีภาวะติดเชื้อหลังผ่าตัดได้รับการรักษาพยาบาลครอบคลุมองค์รวม และนำผลการศึกษาที่ได้ไปใช้พัฒนางานด้านการพยาบาลของแผนกจักษุ ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ซึ่งผลการศึกษา พบว่า ระยะก่อนผ่าตัด ผู้ป่วยมีวิตกกังวลกลัวการผ่าตัด ระยะผ่าตัด ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะผ่าตัด เสี่ยงต่อการผ่าตัดผิดคน ผิดข้าง ผิดเลนส์ เสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อโรคขณะการผ่าตัด ระยะหลังการผ่าตัด เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากพร่องการมองเห็นหลังการผ่าตัด ไม่สุขสบายเนื่องจากการปวดตาข้างที่ผ่าตัด ผู้ป่วยมีการติดเชื้อตาขวาหลังการผ่าตัด และผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดเนื่องจากเมื่อกลับบ้านมีการปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัดที่ไม่ถูกต้อง

            ดังนั้น การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก ด้วยการดูแลช่วยเหลือชี้แนะผู้ป่วยทั้งก่อน และหลังการผ่าตัดต้อกระจก ถือเป็นการดูแลผู้ป่วยทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง รวมถึงการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดอย่างต่อเนื่อง จะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นภายหลังผ่าตัดตามมาได้

Downloads

Download data is not yet available.

References

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564 [อินเตอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 15 พฤษภาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://ipsr.mahidol.ac.th/post_research/situation-of-the-thai-older-persons-2021/

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. บทสรปุสำหรับผู้บริหาร การสำรวจประชากรสงูอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2564 [อินเตอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 2 พฤษภาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nso.go.th/nsoweb/storage/survey_detail/2023/20230731140458_26870.pdf

จิรัชยา เจียวก๊ก, สุภาวี หมัดอะต้ำ และเขมริฐศา เข็มมะลวน. ความรู้ความสามารถของครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุหลังผ่าตัดต้อกระจก. วารสารหาดใหญ่วิชาการ 2558;13(1):35-45.

ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี.จักษุจุฬา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสาร จำกัด; 2563.

กนกพร อริยภูวงศ์, ศุภพร ไพรอุดม และทานตะวัน สลีวงศ์. ผลของการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกโรงพยาบาลสุโขทัย. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี 2562;2(3):17-30.

สมสงวน อัษญคุณ และคณะ. โรคตาที่พบบ่อยในเวชปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 3. เชียงใหม่: บริษัท วินอินดีไชด์จำกัด; 2560.

สุมาลินี ชุ่มชื่น. ผลของการใช้แนวปฏิบัติของพยาบาลต่อความรู้ ในการปฏิบัติตนในผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกโรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้นอาจาโร. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา 2566;8(1):343-55.

ผกามาศ ศรีหะชัย. ผลการผ่าตัดต้อกระจกแผลเล็กสำหรับต้อชนิดสุกงอมในโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลประสาท จังหวัดสุรินทร์. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2559;33(2):129-37.

กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยโสต ศอ นาสิก จักษุ โรงพยาบาลน่าน. สรุปรายงานสถิติประจำปี 2563-2566. น่าน: โรงพยาบาลน่าน. 2563-2566.

พัชรา บรรดาศักดิ์. รายงานกรณีศึกษา การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดตาต้อกระจกใส่เลนส์เทียมมีภาวะติดเชื้อหลังผ่าตัด. [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2 ตุลาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://bit.ly/4e0en0a

Nampradit K, & Kongsap P. The visual outcomes and complications of manual small incision cataract surgery and phacoemulsification: long term results. Romanian Journal of Ophthalmology 2021;65(1):31.

มนัสนันท์ วงษ์หาแก้ว. การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดตาติดเชื้อหลังผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์ตาเทียม กรณีศึกษา: 3 ราย. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2559;13(3):61-70.

อาภรณ์ พื้นดี. ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกโรงพยาบาลแพร่. วารสารโรงพยาบาลแพร่ 2562;27(2):30-45.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-29