พฤติกรรมสุขภาพและความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชากรวัยทำงานตอนปลาย ในจังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • วิโรจน์ ทองเกลี้ยง -

คำสำคัญ:

้Health behavior, Health literacy

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดระดับพฤติกรรมสุขภาพและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะส่วนบุคคล ความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพของประชากรวัยทำงานตอนปลายในจังหวัดนครปฐม จำนวน 336 คน  โดยสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (multi-stage sampling) เครื่องมือวิจัยที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามออนไลน์เรื่อง พฤติกรรมสุขภาพ ความรอบรู้ และปัจจัยแวดล้อมที่ส่งผลต่อสุขภาพวัยทำงาน ปี 2565 พัฒนาโดยสำนักทันตสาธารณสุข และ Cluster วัยทำงาน กรมอนามัย  ผ่าน Application H4U by MOPH วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติไค-สแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 69  อายุเฉลี่ย 52.7 ปี ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปร้อยละ 32.10 รองลงมาคืออาชีพเกษตรกรร้อยละ 29.50 และอาชีพค้าขายร้อยละ 17.60 ด้านโรคประจำตัวพบโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 51.20 รองลงมาคือโรคเบาหวานร้อยละ 11.60 และโรคไขมันเลือดสูงร้อยละ 6.80 ค่าดัชนีมวลกายอยู่ในระดับปกติร้อยละ 32.10 โรคอ้วนร้อยละ 29.80 เพศชายมีรอบเอวปกติร้อยละ 96.20        เพศหญิงมีรอบเอวปกติร้อยละ 92.20 พฤติกรรมการเคลื่อนไหวออกแรงมากกว่าหรือเท่ากับ 150 นาทีต่อสัปดาห์  ร้อยละ 52.10 ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะส่วนบุคคลไม่มีความสัมพันธ์กับระดับพฤติกรรมสุขภาพ ส่วนอาชีพมีความสัมพันธ์กับกับระดับพฤติกรรมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (X2= 19.789, P=0.006 )  ความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับต่ำกับระดับพฤติกรรมสุขภาพของประชากรวัยทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.275, P=0.000)

Downloads

Download data is not yet available.

References

คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12. แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564).นนทบุรี :กระทรวงสาธารณสุข;2559.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564).กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี; 2559.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.ประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2563ประชากรคาดประมาณ ณ กลางปี 2563. สารประชากรมหาวิทยาลัยมหิดล. 2563;29: 1-2.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สถิติประชากรศาสตร์ ประชากรและเคหะ>>ประชากรศาสตร์/ประชากร>>ขนาดและโครงสร้างของประชากรตามอายุและเพศ>>จำนวนประชากรจากการทะเบียน จำแนกตามอายุ เพศ และจังหวัด พ.ศ. 2563.[อินเทอร์เน็ต].(ม.ป.ท).[เข้าถึงเมื่อ 21 พฤษภาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กรุงเทพฯ: ส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ สร้างวัยทำงานหุ่นดี สุขภาพดี. [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 21 พฤษภาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaihealth.or.th/Content/47270-ส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ%20สร้างวัยทำงานหุ่นดี%20สุขภาพดี.html

Anamai Media สื่อมัลติมีเดียกรมอนามัย. กรุงเทพฯ: Health Literacy 66 key message เพื่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชน.[อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 21 มกราคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://multimedia.anamai.moph.go.th/ebooks/health-literacy-66-key-message/

สำนักงานโครงการขับเคลื่อนกรมอนามัย4.0เพื่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชน.KEY MESSAGE ประเด็นสื่อสารหลัก 66 ข้อ เพื่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชน. [อินเทอร์เน็ต].2561 [เข้าถึงเมื่อ21มกราคม2563].เข้าถึงได้จาก:https://multimedia.anamai.moph.go.th/wp-content/uploads/2018/07/66 _key_ message_resize.pdf

ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ (HDC Report).[อินเทอร์เน็ต].กรุงเทพฯ: กลุ่มรายงานมาตรฐาน >>ส่งเสริมป้องกัน. [สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2564].เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/

ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ (HDC Report).[อินเทอร์เน็ต].กรุงเทพฯ: กลุ่มรายงานมาตรฐาน>> การป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ [สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/

Best, J. W. Research in Education. New Jersey: Prentice hall Inc.; 1977.

ประภาสวัชร์ งามคณะ. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของคนไทยในเขตปริมณฑล. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยปทุมธานี. 2557; 6(2):21-30.

พิทยา ไพบูลย์ศิริ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ. 2ส. ของผู้บริหารภาครัฐ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย.2561; 8(1):97-107.

ธนาลักษณ์ สุขประสาน. ความสัมพันธ์ระหว่างการรู้เท่าทันข้อมูลสุขภาพกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต] ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.2559.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-22