การพยาบาลผู้ป่วยลิ่มเลือดอุดกั้นหลอดเลือดปอดเฉียบพลันหลังการผ่าตัดช่องท้อง ในโรคไส้เลื่อนสะดือ

ผู้แต่ง

  • พิณรัฐ สุนทรเสถียร -

บทคัดย่อ

ภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นหลอดเลือดปอดเฉียบพลันที่เกิดภายหลังการผ่าตัดช่องท้อง เป็นภาวะฉุกเฉินทางระบบหัวใจและหลอดเลือด  อาการสำคัญคือ หายใจหอบเหนื่อยอย่างเฉียบพลัน ความดันโลหิตต่ำ  ช็อก และเสียชีวิตในที่สุดหากได้รับการแก้ไขไม่ทัน   จากกรณีศึกษาผู้ป่วยเป็นโรคไส้เลื่อนสะดือติดคาและลำไส้อุดตัน  การวินิจฉัยได้จาก การซักประวัติ การตรวจร่างกาย การตรวจพิเศษในผู้ป่วยรายนี้ ได้แก่ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง และการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้ป่วยได้รับการป้องกันแก้ไขภาวะแทรกซ้อนทันเวลา พ้นจากภาวะวิกฤตได้ บทบาทพยาบาลมีหน้าที่ดังนี้ 1) แก้ไขภาวะวิกฤต  2)การบริหารยาที่มีความเสี่ยงสูง โดยการใช้เน้น เรื่องการใช้สลายการอุดกั้นลิ่มเลือดในระยะแรก และระยะยาวคือ  คือป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดกั้นซ้ำ 3) การพยาบาลระยะดูแลต่อเนื่องเน้นการส่งเสริมและฟื้นฟูผู้ป่วย และ 4) การวางแผนการจำหน่าย เพื่อเสริมความสามารถอย่างมีส่วนร่วมของครอบครัว ในการดูแลผู้ป่วยเมื่อกลับบ้าน

Downloads

Download data is not yet available.

References

ทศพล ลิ้มพิจารณ์กิจ. โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (pulmonary embolism)[อินเทอร์เนต]. ธันวาคม 2557[เข้าถึงเมื่อ 8 พ.ค 2566]. เข้าถึงได้จาก https://www.rama.mahidol.ac.th/med/sites/default/files/public/pdf/medicinebook1/Pulmonary%20embolism%20% E0%B8%AD%20%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%9E%E0%B8%A5.pdf

ชนกพร ดาววัน. การผ่าตัดภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นในหลอดเลือดปอดเฉียบพลันและการใช้เครื่องพยุงการทำงานของหัวใจและปอด. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร. 2564.; 24(2): 101-15.

เยาวลักษณ์ หอมวงศา, จิราภรณ์ ชวนรัมย์, ศิริวรรณ อาจบุราย. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีโอกาสเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นปอดเฉียบพลัน ในผู้ป่วยผ่าตัดที่ได้รับการระงับความรู้สึก. วารสารการแพทย์โรงพยาบาล ศรีษะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2563; 35(3): 543-54.

อุดม แสวงทรัพย์. อันตรายอย่าปล่อยให้ไส้เลื่อนติดคา[อินเทอร์เน็ต]กรุงเทพ: โรงพยาบาลกรุงเทพ [เข้าถึงเมื่อ 6พ.ค2566]. เข้าถึงได้จาก https://www.bangkokhospital.com/content/ incarcerated-hernia.

บูรพา ปุสธรรม. โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในหลอดเลือด ปอดเฉียบพลัน. ศรีนครินทร์เวชสาร 2557; 29(5): 485-96.

วรรณภรณ์ สิงหาจุลเกต. การศึกษาลักษณะอาการทางคลินิก ปัจจัยเสี่ยง และผลการรักษาของผู้ป่วยโรคลิ่มเลือดอุดกั้น ในปอดเฉียบพลันในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว. บูรพาเวชสาร. 2564 ; 8(2):86-99.

ไพลิน รัตนวัฒน์กุล. แนวทางการวินิจฉัยและรักษาลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดแดงปอดฉบับปรับปรุงใหม่. วารสารอายุรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2560; 3:2:1-9.

ปิยศักดิ์ วิทยบูรณานนท์, ปรัชญ์วิไล นุชประมูล. การศึกษาหาระดับคะแนนความปวดหลังผ่าตัดในผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัด ทางศัลยกรรมแบบไม่ฉุกเฉิน โดยใช้แบบคำสั่งการรักษาระงับปวดหลังผ่าตัดในโรงพยาบาลวชิรพยาบาล. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง 2563; 64(2): 127-31.

กันตา ชื่นจิต. ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายขาร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าต่อความเร็วในการไหลเวียนกลับของเลือดดำบริเวณขาหนีบ ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้อง. วารสารเกื้อการุณย์ 2560; 24(1): 165:77.

สินธิป พัฒนะคูหา, ปรัชญพร คําเมืองลือ, สยาม ทองประเสริฐ, อภิชนา โฆวินทะ, อดิศักดิ์ ตันติวรวิทย์. การป้องกันภาวะลิ่มเลือดอุด

หลอดเลือดดําสําหรับผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร 2561; 28(1): 24-31.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-22