การจัดการเรียนการสอน เจตคติ พฤติกรรมในการเรียนและการรับรู้สมรรถนะในการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์

ผู้แต่ง

  • ศรินยา พลสิงห์ชาญ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
  • วนิดา บุญสุข วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
  • วรนุช ศรีพุฒ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
  • วรรณิภา พรหมนุช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
  • วราภรณ์ ใจศิล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
  • วันวรินทร์ สิงห์บัวขาว วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
  • วิจิตรา ประดับวงค์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
  • วิญาดา วิมุตกุล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
  • อาภัสรา บุญแต่ง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ, เจตคติ, พฤติกรรมการเรียน, การรับรู้สมรรถนะการใช้ภาษาอังกฤษ, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

       การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ภาษาอังกฤษ เจตคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษ พฤติกรรมในการเรียนภาษาอังกฤษ และการรับรู้สมรรถนะการใช้ภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุรินทร์ ชั้นปีที่ 1 - 4 จำนวน 428 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์วิชาภาษาอังกฤษ 3) แบบสอบถามเจตคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษ 4) แบบสอบถามพฤติกรรมในการเรียนภาษาอังกฤษ และ 5) แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะการใช้ภาษาอังกฤษ ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง .67-1.00 และค่าความเชื่อมั่นของสัมประสิทธิ์ครอนบาคอัลฟา เท่ากับ .96, .75, .93 และ .99 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา

       ผลการวิจัย พบว่าการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ภาษาอังกฤษภาพรวม อยู่ในระดับมาก (equation = 4.05, SD = 0.81) เจตคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (equation = 3.48, SD = 1.19) พฤติกรรมในการเรียนภาษาอังกฤษภาพรวมอยู่ในระดับมาก (equation = 2.66, SD = 0.94) และการรับรู้สมรรถนะการใช้ภาษาอังกฤษภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (equation = 3.00, SD = 1.01)

Downloads

Download data is not yet available.

References

เยาวเรศ สมทรัพย์, อัชฌา วารีย์. แบรนด์พยาบาลไทยในศตวรรษที่ 21: ความท้าทายต่อวิชาชีพพยาบาล. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2562;39(3):169-178.

ภราดร สุขพันธ์. การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษกับความเป็นบัณฑิตในยุคปัจจุบัน. วารสารมจร.หริภุญชัยปริทรรศน์ 2561;2(2):89-100.

รสรินทร์ ปิ่นแก้ว, ภานุวัฒน์ ศิรินุพงศ์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษในชีวิตจริง 1 ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพประเภทวิชาอุตสาหกรรมวิทยาลัยอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2560;18.(1):83-93.

โอภาศ ประมูลสิน, จันทร์ธิลา ศรีกระจ่าง, Balucanag MA. ปัจจัยทำนายการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง 2563;9(2):135-147.

วันเพ็ญ ภุมรินทร์, เบญจพร มีพร้อม, นิกร เทพทอง, สิตา สิทธิรณฤทธิ์, กุลศิริ วรกุล, ชนกนาถ จีนศรี และคนอื่น ๆ. ทัศนคติในการเรียนที่ส่งผลต่อพฤติกรรมในการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต 2563;15(2):29-42.

ยุภาวดี โคษา. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนิสิตระดับปริญญาตรีที่สอบผ่าน (SWU-SET) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2565.

Dornyei Z, Csizer K. Some dynamics of language attitudes and motivation: Results of a longitudinal national survey. Applied Linguistic 2002;23:421-462.

O’Mally JM, Chamot AU. Learning strategies in second language acquisition. Cambridge: Cambridge University Press; 1990.

Oxford RL. Language Learning Strategies: What every teacher should know. New York: Newbury House/ Harper Collins; 1990.

ถิรนันท์ ปานศุภวัชร. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามแนวการสอนแบบปฏิสัมพันธ์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านเพื่อความเข้าใจและความสุขในการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2565.

สุรศักดิ์ สุนทร, กมลรัตน์ เทอร์เนอร์, ศุภาพิชญ์ โฟน โบร์แมนน์, สุชีวา วิชัยกุล, วิไลพร ขำวงษ์, สุดคนึง ฤทธิ์ฤาชัย. ความรู้ เจตคติ และทักษะที่จำเป็นด้านภาษาอังกฤษของบุคลากรสุขภาพใน 13 เขตบริการสุขภาพ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย. วารสารพยาบาลตำรวจ 2562;11(2):453-463.

Laiphrakpam M, Aroonsrimorakot S. Attitude and motivation of Thai undergraduate students towards learning English language. Walailak Journal of Social Science 2021;14(6):1-13.

กันตพร ยอดใชย, ศมนนันท์ ทัศนีย์สุวรรณ, จารุวรรณ กฤตย์ประชา. การรับรู้สมรรถนะการใช้ภาษาอังกฤษและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนโดยการบูรณาการภาษาอังกฤษในรายวิชาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน2563;26(4):14-28.

พีรนุช ลาเซอร์, อรอนงค์ ธรรมจินดา. การประเมินผลโดยใช้รูปแบบซิปป์ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับวิชาชีพพยาบาล (พบ.292) คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค มหาวิทยาลัยพายัพ. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2559;36(2):47-64.

Noom-ura S. English-teaching problems in Thailand and Thai teachers’ professional development needs. English Language Teaching 2013;6(11):139-147.

นิพร ขัดตา, โจนา จีน ปีนาส ปีลาลิโอ, นฤพร พงษ์คุณากร. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลและสมรรถนะด้านภาษาอังกฤษของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี นครลำปาง ประเทศไทย. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ 2564;8(1):149-167.

Listiyaningsih T, Surakarta I. The influence of listening English song to improve listening skill in listening class. Academica: Journal of Multidisciplinary Studies 2017;1(1):35-49.

ณัฏฐ์นรี ฤทธิรัตน์, ธัญภา ชิระมณี. ความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาไทยและความพร้อมสู่อาเซียน [วิทยานิพนธ์]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2557.

ณัฏฐ์นรี ฤทธิรัตน์, ธัญภา ชิระมณี. ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาไทย ในงานประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15 มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2557; 2839-2848.

Krashen SD. Principles and practice in second language acquisition [online]. 1982 [cited 2025 April 3]. Available from: https://www.sdkrashen.com/content/books/principles_and_practice.pdf.

พรณรงค์ สิงห์สำราญ, ยุวดี ชูจิตต์, ดารินี ภู่ทอง, อมรรัตน์ ประวัติรุ่งเรือง. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง 2567;13(1):196-210.

ประภารัตน์ ธิติศุภกุล, สมชาย เทพแสง, สมบูรณ์ บูรศิริรักษ์, จันทรัศม์ ภูติอริยวัฒน์. การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร 2559;4(2):245-259.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-05-27

How to Cite

1.
พลสิงห์ชาญ ศ, บุญสุข ว, ศรีพุฒ ว, พรหมนุช ว, ใจศิล ว, สิงห์บัวขาว ว, ประดับวงค์ ว, วิมุตกุล ว, บุญแต่ง อ. การจัดการเรียนการสอน เจตคติ พฤติกรรมในการเรียนและการรับรู้สมรรถนะในการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ . Acad Nursing J Chakriraj [อินเทอร์เน็ต]. 27 พฤษภาคม 2025 [อ้างถึง 2 กรกฎาคม 2025];5(1):E003076. available at: https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jckr/article/view/3076