ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางจริยธรรมสำหรับพยาบาลจิตเวช ในการสื่อสารกับผู้รับบริการที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว

ผู้แต่ง

  • ตันติมา ด้วงโยธา โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • กมลพร แพทย์ชีพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบีนพระบรมราชชนก
  • เยาวลักษณ์ พนิตอังกูร โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติทางจริยธรรม, พยาบาลจิตเวช, การสื่อสาร, พฤติกรรมก้าวร้าว

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางจริยธรรมสำหรับพยาบาลจิตเวชในการสื่อสารกับผู้รับบริการที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว กลุ่มตัวอย่าง คือ 1) พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 18 คน และกลุ่มควบคุม 18 คน 2) ผู้รับบริการที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 23 คน และกลุ่มควบคุม 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แนวปฏิบัติทางจริยธรรมสำหรับพยาบาลจิตเวชในการสื่อสารกับผู้รับบริการที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว 2) แบบวัดการสื่อสารของพยาบาลกับผู้รับบริการที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว 3) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการสื่อสารของพยาบาล 4) แบบประเมินพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา จากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ค่าดัชนีความตรงของเนื้อหา เท่ากับ 1.00 ค่าความเชื่อมั่นของสัมประสิทธิ์ครอนบาคอัลฟา เท่ากับ .97 และ .86 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Wilcoxon Signed-Rank Test และ Mann Whitney U Test

       ผลการวิจัยพบว่า 1) การสื่อสารของพยาบาลกับผู้รับบริการที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติ ฯ ของกลุ่มทดลองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Z = -3.726, p < .001) 2) การสื่อสารของพยาบาลกับผู้รับบริการที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวหลังการใช้แนวปฏิบัติ ฯ ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Z = -2.616, p = .009) 2) ระดับความก้าวร้าวของผู้รับบริการกลุ่มทดลอง ร้อยละ 87.50 ลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุม ร้อยละ 39.47 3) ความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการสื่อสารของพยาบาล ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Z = -3.521, p < .001)

Downloads

Download data is not yet available.

References

อัครเดช กลิ่นพิบูลย์, นาฎลดา นำภา, ธีราภา ธานี, สุภาพร จันทร์สาม. การพัฒนารูปแบบการจัดการพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงในผู้ป่วยจิตเวชสำหรับบุคลากรทางการพยาบาลโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชน. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2561;26(3):207-219.

กรมสุขภาพจิต. คู่มือระบบการดูแลผู้ป่วยผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงสำหรับสถาบัน/โรงพยาบาล สังกัดกรมสุขภาพจิต. นนทบุรี: พรอสเพอรัสพลัส; 2563.

โรงพยาบาลสวนสราญรมย์. กลุ่มภารกิจการพยาบาล. สถิติผู้ป่วยปี 2567. โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี; 2567.

Du M, Wang X, Yin S, Shu W, Hao R, Zhao S, et al. De-escalation techniques for psychosis-induced aggression or agitation. Cochrane Database Syst 3;4(4):1-22. doi: 10.1002/14651858.CD009922.pub2.

Aydin Er R, Ersoy N.Ethical problems experienced by nurses who work in psychiatry clinics in Turkey. Journal of Psychiatric Nursing 2017;8(2):77-85. doi: 10.14744/phd.2017.97720

กฤตยา แสวงเจริญ, ศรินรัตน์ จันทพิมพ์, เอื้อมพร ทองกระจาย. ผู้ป่วยจิตเวชตื่นกลัวต่อการถูกผูกยึดเมื่อเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล: บทบาทและการจัดการทางการพยาบาล. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2563;38(3):6-13.

อรัญญา เชาวลิต. จริยธรรมในการสื่อสาร: กลไกการสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับพยาบาลในยุคดิจิทัล. ใน: การประชุมวิชาการประจำปีด้านจริยธรรมวิชาชีพการพยาบาลเนื่องในโอกาสครบรอบ 34 ปี ของสภาการพยาบาล; 4-6 กันยายน 2562; ห้องประชุมสภาการพยาบาลนนทบุรี. นนทบุรี; 2562.

บุญพา ณ นคร, ตันติมา ด้วงโยธา, กริณี สังข์ประคอง, ปลดา เหมโลหะ, ถนอมศรี ศรีคิรินทร์, สมสุข สมมะลวน. การทดสอบแนวปฏิบัติทางจริยธรรมสำหรับพยาบาลจิตเวชในการสื่อสารกับผู้รับบริการที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว: การศึกษานำร่อง. วารสารสภาการพยาบาล 2566;38(3):147-159.

ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ. สร้างสุขด้วยสติในองค์กร (Mindfulness in Organization: MIO). กรุงเทพฯ: บียอนด์ พับลิสชิ่ง; 2560.

ถวิล อรัญเวศ. คิดดี พูดดี ทำดี พาชีวีมีสุข [ออนไลน์]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: http://thawin09.blogspot.com/2017/01/blog-post_347.html

The joint commission. Quick safety 47: De-escalation in health care. Chicago, IL; 2019.

National Health Medical Research Council. A guide to the development, implementation and evaluation of clinical practice guidelines. [online]. 1999 [cited 2025 Jan 10]. Available from: https://www.nhmrc.gov.au/sites/default/files/images/a-guide-to-the-development-and-evaluation-of-clinical-practice-guidelines.pdf

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ขนาดอิทธิพล การวิเคราะห์อำนาจการคำนวณขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมโดยโปรแกรม G*Power. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2563.

เปรมฤดี ศรีวิชัย, ณัฐธิดา สุริโย. ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลข่าวสารต่อทักษะการสื่อสารของ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลพะเยา. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย 2565;15(3):168-181.

Overall JE, Gorham DR. Brief psychiatric rating scale. Psychological Reports 1962;10:799-812.

กรมสุขภาพจิต. คู่มือการฝึกอบรมแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: วงศ์กมล โปรดักชั่น; 2543.

Saab MM, Kilty C, Meehan E, Goodwin J, Connaire S, Buckley C, et al. Peer group clinical supervision: Qualitative perspectives from nurse supervisors, managers, and supervisors. Collegian 2021;28(4):359-368.

รัตน์ศิริ ทาโต. การวิจัยทางการพยาบาลศาสตร์: แนวคิดสู่การประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2561.

Yudofsky SC, Silver JM, Jackson W, Endicott J, Williams D. The overt aggression scale for

The objective rating of verbal and physical aggression. The American Journal of Psychiatry 1986;143(1):35-39. doi: 10.1176/ajp.143.1.35

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-06-20

How to Cite

1.
ด้วงโยธา ต, แพทย์ชีพ ก, พนิตอังกูร เ. ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางจริยธรรมสำหรับพยาบาลจิตเวช ในการสื่อสารกับผู้รับบริการที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว. Acad Nursing J Chakriraj [อินเทอร์เน็ต]. 20 มิถุนายน 2025 [อ้างถึง 6 กรกฎาคม 2025];5(1):E003147. available at: https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jckr/article/view/3147