การพัฒนาคุณภาพการช่วยฟื้นคืนชีพในงานห้องผู้ป่วยหนักผู้ใหญ่: ประสบการณ์ ในโรงพยาบาลบ้านโป่ง จ. ราชบุรี

ผู้แต่ง

  • เสาวลักษณ์ เอี่ยมละออ โรงพยาบาลบ้านโป่ง

คำสำคัญ:

การพัฒนาคุณภาพ, การช่วยฟื้นคืนชีพ, ผู้ป่วยวิกฤติ

บทคัดย่อ

การปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพในผู้ป่วยวิกฤติที่เข้ารับการรักษาตัวในหน่วยผู้ป่วยวิกฤติอย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการรอดชีวิตของผู้ป่วย โดยบุคลากรทางการแพทย์และพยาบาลที่เกี่ยวข้องหากทำหน้าที่ประสานกันในทีมอย่างมีประสิทธิภาพและให้การดูแลผู้ป่วยอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนที่เป็นมาตรฐาน ย่อมทำให้อัตรารอดชีวิตของผู้ป่วยสูงขึ้นโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอประสบการณ์ในการพัฒนาคุณภาพการช่วยฟื้นคืนชีพในงานห้องผู้ป่วยหนักผู้ใหญ่ ในโรงพยาบาลบ้านโป่ง  ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาพบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้น (cardiac arrest) จะเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นซ้ำ  และอัตรารอดชีวิตน้อยมาก จึงมีแนวคิดในการพัฒนาทักษะและกระบวนการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงในหอผู้ป่วยวิกฤติผู้ใหญ่ โดยดำเนินการพัฒนาใน 5 ขั้นตอน ได้แก่   1) การพัฒนาแนวทางในการเฝ้าระวัง การป้องกันและการรักษาภาวะวิกฤตก่อนหัวใจหยุดเต้น  2) การพัฒนาระบบการขอความช่วยเหลือจากทีมที่ตอบสนองอย่างรวดเร็วภายในโรงพยาบาล พร้อมทั้งกำหนดหน้าที่ในทีมที่ชัดเจน 3) การพัฒนาความรู้และทักษะของบุคลากรเพื่อให้การช่วยฟื้นคืนชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4) การพัฒนาด้านการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ 5) ระบบการดูแลอย่างต่อเนื่องและการทำงานเป็นทีม ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นภายหลังการพัฒนากระบวนการ พบว่า อัตรารอดหลังทำการช่วยฟื้นคืนชีพ มีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี คือ ในปี 2560 คิดเป็นร้อยละ 20.75 ปี 2561 ร้อยละ 23.08 และปี 2563 ร้อยละ 30.0 จากเดิมคือในปี 2563 ตามลำดับ พบว่าระหว่างปี 2561 – 2563 อัตรารอดหลังทำการช่วยฟื้นคืนชีพมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี

Downloads

Download data is not yet available.

References

เอมอร ยอดรักษ์, ณัฏฐิกา แซ่แต้, สุรีพร ศิริยะพันธ์ และ สุกันติมา ทวีทอง. การพัฒนารูปแบบการจัดการทีมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงในหอผู้ป่วยสามัญ โรงพยาบาลยะลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2563;7(1):169-183.

ปิยะสกล สกลสัตยาทร. คํานิยม. ใน โสภณ กฤษณะรังสรรค์และคณะ (บรรณาธิการ). คู่มือการช่วยชีวิต ขั้นพื้นฐานและเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (เออีดี: AED). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: บจก.ปัญจ มิตรการพิมพ์, 2559: 3-10.

American Heart Association. CPR & First Aid Emergency Cardiovascular Care. Statistical Update. 2017: [cited 2020 November, 17]. Available from: http://www.cpr.heart.org/AHAECC/CPRAndECC/General/UCM_477263_Cardiac-Arrest- Statistics.jsp

สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย. การปฐมพยาบาลฉุกเฉินและการกู้ชีพขั้น พื้นฐาน. กรุงเทพ: บริษัท นิวธรรมดาการพิมพ์ จำกัด; 2563.5. ปิยดา จันทรกุ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้และทักษะในการช่วยฟื้นคืนชีพของพยาบาล โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2562; 33(2):339-351.

ปิยดา จันทรกุ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้และทักษะในการช่วยฟื้นคืนชีพของพยาบาล โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11.2562;33(2) :339-351.

วีรพงศ์ วัฒนาวนิช. ภาวะหัวใจหยุดและการช่วยชีวิต. [อินเตอร์เน็ต] 2563. [สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2563]. สืบค้นจาก:: https://meded.psu.ac.th/binlaApp/class02/B5_311_241/CPR/index.html

บุษบา ประสารอธิคม. การพัฒนารูปแบบการอบรมการฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำหรับพยาบาลวิชาชีพ งาน ผู้ป่วยหนักโรงพยาบาลอุดรธานี. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2560;29(1):128-140.

พลพันธ์ บุญมาก และ สุหัทยา บุญมาก. การกู้ชีวิตสำหรับผู้ใหญ่. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2555; 27(1): 94- 108.

Kingsley Ufuoma Tobi and Frederick Ebegue Amadasun. Cardio-pulmonary resuscitation in the intensive care unit: An experience from a tertiary hospital in Sub-Saharan Africa Niger Med J. 2015 Mar-Apr; 56(2):132–137.doi: 10.4103/0300-1652.150694 PMCID: PMC4382604 PMID: 25838630

Karetzky M, Zubair M, Parikh J. Cardiopulmonary resuscitation in intensive care unit patients. Immediate and long term survival. Arch Intern Med. 1995; 155:1277–80. [PubMed] [Google Scholar])

สุภามาศ ผาติประจักษ์. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ การรับรู้สมรรถนะของตนเองในการปฏิบัติการช่วย ฟื้นชีวิตขั้นพื้นฐาน และความสามารถในการกดหน้าอกในนักศึกษาพยาบาลระดับปริญญาตรี. วารสาร พยาบาลสงขลานครินทร์. 2558;35(1):119-134.

พัลลภ บุญเดช, สุหัทยา บุญมาก, มลธิรา ศิริสม, ดวงเนตร ลิตุ, พลพันธ์ บุญมาก และขวัญทิพา ประวัน เนา. ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นในห้องผ่าตัด: ปัญหาการดูแลที่พบในส่วนของวิสัญญีพยาบาล. วิสัญญี สาร. 2563; 46(2):96-101.

พลพันธ์ บุญมาก, สุหัทยา บุญมาก, วนิดา จงอรุณงามแสง และ กชภา มหารุ่งเรืองรัตน์. ความรู้ในการกู้ ชีพขั้นสูงของแพทย์ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2552;24(4):296-301.

ธวัช ชาญชญานนท์, ปิยวรรณ สุวรรณวงศ์และ ศศิกานต์ นิมมานรัชต์. ผลของการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืน ชีพและปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. สงขลานครินทร์เวช สาร. 2554; 29(1) : 39-49.

โสภณ กฤษณะรังสรรค์, จริยา สันตติอนันต์, รัชนี แซ่ลี้ [บรรณาธิการ]. คู่มือการช่วยชีวิตขั้นสูงสำหรับ บุคลากรทางการแพทย์ ปี ค.ศ. 2015 : ACLS provider manual พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ :ปัญญมิตร การพิมพ์, 2560.

โรงพยาบาลบ้านโป่ง. ข้อมูลสถิติการรักษาพยาบาลรายเดือน ปีงบประมาณ 2564 ( ตุลาคม 2563 – กันยายน 2564) . (เอกสารอัดสำเนา).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-25