แนวคิดเพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน

ผู้แต่ง

  • นงนุช เสือพูมี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

ระบบการดูแลโรคความดันโลหิตสูง, กลุ่มผู้สูงอายุในชุมชน

บทคัดย่อ

โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคเรื้อรังเป็นโรคที่พบมากในผู้สูงอายุ และเป็นโรคที่ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการรักษาค่อนข้างสูง จากการทบทวนวรรณกรรม พบว่ามีการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงในชุมชนหลายรูปแบบ โดยแบบแผนการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง (chronic care model) ที่ครอบคลุมองค์ประกอบทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านนโยบายในระดับชาติมีความชัดเจน  2) ระบบสารสนเทศทางคลินิก 3) ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ 4) การออกแบบระบบการให้บริการ 5) การสนับสนุนการจัดการดูแลตนเอง และ 6) การเชื่อมต่อกับชุมชน มีส่วนสำคัญในการบริหารจัดการในชุมชน แต่อย่างไรก็ตาม พบว่า ระบบการดูแลผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงในชุมชนนั้น เป็นการแยกส่วน โดยมุ่งเน้นที่การสนับสนุนการจัดการดูแลตนเอง ส่งผลให้ผู้สูงอายุสามารถควบคุมระดับความดันโลหิต และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนได้  แต่ความชุกโรคความดันโลหิตสูงกลับเพิ่มขึ้น จากการเพิ่มขึ้นของอายุ พฤติกรรมการดูแลตนเอง และการขาดการสนับสนุนจากชุมชน  แสดงให้เห็นถึงระบบบริการสุขภาพที่มีอยู่นั้นยังไม่ครอบคลุม และยังไม่เกิดประสิทธิภาพเท่าที่ควร แนวคิดการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน  จึงควรเป็นการผสมผสานและเชื่อมโยงแนวคิดระบบบริการสุขภาพต่างๆเข้าด้วยกัน โดยใช้แบบแผนการดูแลอย่างต่อเนื่องเป็นแนวทางหลัก รวมถึงการออกแบบระบบการดูแลที่เชื่อมโยงให้ทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมในการดูแล เพื่อให้ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง สามารถจัดการตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

References

คณะกรรมการอำนวยการการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12. แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กระทรวงสาธารณสุข: [ม.ป.ท.].

Douglas, M. B., & Howard, P.E. Predictors of Self-Management Behaviors in Older Adults with Hypertension. Advances in Preventive Medicine. 2015: 6, 1-6.

Howard, L.D., Carson, P.A., Holmes N.D., Kaufman, S.J. Consistency of Care and Blood Pressure Control among Elderly African Americans and Whites with Hypertension. J Am Board Fam Med. 2009; 22(3): 307–15.

อติญาณ์ ศรเกษตริน และคณะ. การพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง: กรณีศึกษาในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. รามาธิบดีพยาบาลสาร. 2558; 21(1) : 111- 21.

วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์ และคณะ. การพัฒนาระบบบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาผู้อื่น. วารสารสภาการพยาบาล. 2557; 29(3) : 104-15.

K.R.Thankappan, et al., Risk factor profile for chronic non-communicable diseases: results of a community-based study in Kerala, India. Indian J Med Res. 2010 Jan; 131:53-63. PMID: 20167974. Free article.

Malhotra, R., Chan, A., Malhotra, CPrevalence, awareness, treatment and control of hypertension in the elderly population of Singapore. Hypertension Research. 2010 Dec;33(12):1223-31. doi: 10.1038/hr.2010.177. Epub 2010 Sep 30. PMID: 20882026 DOI: 10.1038/hr.2010.177

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง : เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563.

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการศึกษาโครงการทบทวนสถานการณและผลการดำเนินงานพ.ศ. 2560 – 2562.[อินเตอร์เน็ต]. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1036320200810073233.pdf

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ.2562. เชียงใหม่ : ทริค ธิงค์ ; 2562.

อัมมร บุญช่วย. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพสาหรับผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง กรณีศึกษาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไทรทอง อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2558; 3(2) : 233 – 44.

ปุลวิชช์ ทองแตง และจันทร์จิรา สีสว่าง. ประสบการณ์ชีวิตของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง. พยาบาลสาร, 2557; 41(ฉบับพิเศษ) : 4-10.

นภาพร ห่วงสุขสกุล. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงใน โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์. สม., มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, จังหวัดอุบลราชธานี. 2555.

บำเพ็ญ พงศ์เพชรดิถ์. การมีส่วนร่วมของชุมชน ในการส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง.วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2561 กรกฎาคม – ธันวาคม ; 29 (2) : 2-11

อุมาภรณ์ กำลังดี, ภาวนา บุญมุสิก และอัจริยา วัชราวิวัฒน์. การพัฒนาแนวทางเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หรือความดันโลหิตสูงด้วยทีมหมอครอบครัว. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, (2560). 4 (ฉบับพิเศษ), 34-45.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปีงบประมาณ 2559 การบริหารงบบริการควบคุมป้องกันและรักษาโรคเรื้อรัง (บริการควบคุมป้องกันและรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง). กรุงเทพมหานคร: บริษัท ธนาเพรส จำกัด; 2558.

Chowdhury, E., Owen, A., Krum, H. et al. Barriers to achieving blood pressure treatment targets in elderly hypertensive individuals. [Internet]. Journal of Human Hypertension. 2013; 27, 545–551; doi:10.1038/jhh.2013.11

สุธีรา ฮุ่นตระกูล และวิไลพรรณ สมบุญตนนท์. การพัฒนาศักยภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน.วารสารพยาบาลทหารบก.2555;13(3): 38-46.

Jardim, L., Souza, W., Camila Dutra Pimenta, C., Sousa, A. Multiprofessional Treatment of High Blood Pressure in Very Elderly Patients. Arq Bras Cardiol, 2017;108 (1). 53-9.

Carvalho H.V., Rossato L.S., Fuchs, D.F., Harzheim, E., Fuchs, C.S. Assessment of primary health care received by the elderly and health related quality of life: across-sectional study. BMC Public Health, 2013; 13(605): 1-9.

Rahmawati, R., Bajorek, B. A Community Health Worker–Based Program for Elderly People with Hypertension in Indonesia: A Qualitative Study, 2013. Preventing Chronic Disease Public health Research, Practice, and Policy. 2015; 12(175): 1-9.

KIM, K., CHANG J.H., CHO, S.Y., YOUN, J.T., CHUNG, W.Y., CHAE, I.H. Current Status and Characteristics of Hypertension Control in Community Resident Elderly Korean People: Data from a Korean Longitudinal Study on Health and Aging (KLoSHa Study). Hypertens Res. 2008; 31(1): 97-105

ณัฐสุรางค์ บุญจันทร์, ปรางค์ทิพย์ อุจะรัตน, วัฒนา พันธุ์ศักดิ์ และ นิตยา มีหาดทราย. ผลของการพัฒนาศักยภาพการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง. Journal of Nursing Science. 2554; 29( 2) : 93-102.

Chinnakali, P., Palanivel, B., Upadhyay R. P., Singh A. K., Srivastava R. Yadav K. Hypertension in the Elderly: Prevalence and Health Seeking Behavior. North American Journal of Medical Sciences. 2012; 4(11): 558-62.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-03