ประเมินผลการจัดทำแผนสุขภาพจังหวัดนครปฐม ประจำปี 2562
คำสำคัญ:
ประเมินผลการจัดทำแผนสุขภาพ, CIPP Modelบทคัดย่อ
การศึกษานี้ ใช้วิธีการศึกษา Documentary research มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการจัดทำแผนสุขภาพจังหวัดนครปฐม ประจำปี 2562 โดยใช้รูปแบบซิป (CIPP Model) เป็นกรอบการประเมิน 4 ด้าน คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและรายงานผลการดำเนินงาน ปี 2562 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาด้านบริบท พบว่า แผนสุขภาพจังหวัดนครปฐมมีความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ 4 ด้านของกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 5 แผนจังหวัดและปัญหาสุขภาพในพื้นที่ ด้านงบประมาณ พบว่าจัดเป็นค่าใช้จ่ายการประชุมจัดทำแผน เป็นเงิน 78,400 บาทและภาพรวมงบประมาณที่บรรจุในแผนสุขภาพจังหวัดภายใต้ยุทธศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ 4 ด้าน รวม 65 โครงการ เป็นเงิน 10,117,956 บาท ผลการดำเนินงานภาพรวม 55 ตัวชี้วัด ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 81.82 เมื่อพิจารณารายยุทธศาสตร์ พบว่า ด้านบุคลากรผ่านเกณฑ์ทุกข้อ รองลงมา คือ ด้านบริหารด้วยธรรมาภิบาลผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 91.67 ด้านบริการผ่านเกณฑ์ร้อยละ 85.71 และด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและคุ้มครองผู้บริโภคผ่านเกณฑ์ร้อยละ 58.33
Downloads
References
ณัฐกฤช มุสิกะโสภณ. หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีกับหน่วยงานทางปกครอง.[อินเทอร์เน็ต].2562;[เข้าถึงเมื่อ 30 กรกฎาคม 2563].เข้าถึงได้จาก: https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/elaw_parcy/ewt_dl_link.php?nid=1420
สำนักงานข้าราชการพลเรือน. คู่มือการพัฒนาระบบการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์. สวัสดิการสำนักงาน ก.พ.;2545.
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. รายละเอียดตัวชี้วัดกระทรวง สาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562
Stufflebeam, D.L.,& et al. Educational Evaluation and Decision–Making. Itasca, Illinois:Peacock;1971.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม. แผนปฏิบัติการ (Action Plan) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม. แผนยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2562.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม. เอกสารการตรวจราชการและนิเทศงานกรณีปกติ ระดับกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2562 รอบที่ 2.
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. บทสังเคราะห์ข้อเสนอบทบาทกระทรวงสาธารณสุขในศตวรรษที่ 21. นนทบุรี: หจก.สหพัฒนไพศาล;2554.
อุสาห์ พฤฒีจีระวงศ์, โกเมนทร์ ทิวทองและนงลักษณ์ สุวิสิษฐ์. กระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพแบบมุ่งผลลัพธ์ : กรณีศึกษาสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์. [อินเตอร์เน็ต].2555; [เข้าถึงเมื่อ 30 กันยายน 2563].เข้าถึงได้จาก: ttp://kb.hsri.or.th
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. รายงานฉบับสมบูรณ์ผลการศึกษากระบวนการและการบริหารแผนสาธารณสุขระดับพื้นที่; 2558.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. กรอบยุทธศาสตร์ งานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคระดับชาติ ปี 2554-2558. กรุงเทพฯ : บริษัท สามเจริญพาณิชย์(กรุงเทพ) จำกัด; 2554.
Drucker, P.F. Managing human resources: Productivity, quality of work life, profits. 4th ed. New York: McGraw-Hill; 1995.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการและการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช เล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยฯ และคณาจารย์ท่านอื่นในวิทยาลัย ฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่อง เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว