การศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ กับพฤติกรรมการบริโภครสหวานของผู้ป่วยเบาหวานที่ระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดเกินค่าปกติของชุมชนชายทะเลบ้านคลองช่อง
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการบริโภค, ผู้ป่วยเบาหวาน, ชุมชนชายทะเลบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล กับพฤติกรรมการบริโภครสหวานของผู้ป่วยเบาหวานที่ระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดเกินค่าปกติ ของชุมชนชายทะเลบ้านคลองช่อง ตำบลคลองโคน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยเบาหวานที่ระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดเกินค่าปกติ จำนวน 89 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ปัจจัยต่าง ๆ แบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภครสหวานของผู้ป่วยเบาหวาน ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ .80 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .75 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ไค-สแควร์
ผลการวิจัย พบว่าปัจจัยการประกอบอาชีพและการออกกำลังกาย มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภครสหวานของผู้ป่วยเบาหวานที่ระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดเกินค่าปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Downloads
References
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บริษัท ร่มเย็น มีเดีย จำกัด; 2560.
Today News. เปิดสถิติวันโรคเบาหวานโลก คนไทยป่วย 300,000 คนต่อปี [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2565].เข้าถึงได้จาก: https://workpointtoday.com/world-diabetes-day/
King H, Aubert RE, Herman WH. Global burden of diabetes 1995-2025. Diabetes Care 1998;21(9):1414-31.
กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค กองโรคติดต่อ. ข่าวในรั้ว สธ. สถานการณ์โรคเบาหวาน [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/181256/
กัลยาวีร์ อนนท์จารย์. การพยาบาลอนามัยชุมชน: ทฤษฏีแบบแผนความเชื่อทางสุขภาพเคริ์ท เลวิน (health belief mode) [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://myblogcomnurse. blogspot. com/2016/02/health-belive-model.html
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม. Dashboard HDC ver.40 [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://skm.hdc.moph.go.th/ hdc/main/index.php
สุรีย์ ธรรมิกบวร. ทฤษฎีการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ [อินเทอร์เน็ต]. 2006 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nurse.ubu.ac.th/sub/ knowledgedetail/PD.pdf
สมาคมจิตวิทยาอเมริกัน. การแก้ไขความขัดแย้งทางสังคม Lewin, Kurt [อินเทอร์เน็ต]. 1997 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://th.sainte-anastasie. org/articles/psicologia/la-teora-de-campo-de-kurt-lewin.html
Self-Monitoring. เกร็ดความรู้ด้านสุขภาพ: กินคาร์โบไฮเดรตเยอะทำให้อ้วนจริงเหรอ [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hpc.go.th/diet/?module=carbohydrate
Jobsdb. ชีวิตการทำงาน: สัญญาณที่บอกถึงอาการเหนื่อยล้าจากการทำงานหนัก [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://th.jobsdb.com/th/career-advice/article/สัญญาณ-บอกอาการเหนื่อย
w9wellness. ต่อมหมวกไตล้า: ต้นเหตุของอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง นอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://w9wellness.com/adrenal-fatigue/ต่อมหมวกไตล้า
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการและการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช เล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยฯ และคณาจารย์ท่านอื่นในวิทยาลัย ฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่อง เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว