ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดอุบัติการณ์คลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยภายหลังได้รับการฉีดยาชาผสมมอร์ฟีนเข้าช่องน้ำไขสันหลังและยาป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียน ในโรงพยาบาลบ้านโป่ง

ผู้แต่ง

  • กานต์สิริ อุบลม่วง รพ.บ้านโป่ง
  • หยาดฝน ยอดแก้ว โรงพยาบาลบ้านโป่ง

คำสำคัญ:

การฉีดยาชาผสมมอร์ฟีนเข้าช่องน้ำไขสันหลัง, อุบัติการณ์คลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัด

บทคัดย่อ

        การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียนและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วย ภายหลังได้รับการฉีดยาชาผสมมอร์ฟีน เข้าช่องน้ำไขสันหลัง และยาป้องกันอาการคลื่นไส้ อาเจียน ในโรงพยาบาลบ้านโป่ง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดยาชาผสมมอร์ฟีนเข้าช่องน้ำไขสันหลัง และยาป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียน จำนวน 209 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ใบบันทึกการให้ยาระงับความรู้สึก และแบบประเมินภาวะแทรกซ้อนทางวิสัญญี ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง .60 -1.00 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก

        ผลการศึกษาพบว่าอุบัติการณ์คลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัด คิดเป็นร้อยละ 38.27 โดยเกิดในห้องผ่าตัด คิดเป็นร้อยละ 12.44 ในห้องพักฟื้น คิดเป็นร้อยละ 12.92 เกิดภายหลังได้รับการระงับความรู้สึก 1 วัน คิดเป็นร้อยละ 20.10 โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัด ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับสารน้ำในห้องพักฟื้นมากจะมีความเสี่ยงสูงกว่ากลุ่มผู้ที่ได้รับสารน้ำน้อย เป็น 1.49 เท่า ASA Class ที่เพิ่มขึ้นทุก 1 Class มีความเสี่ยงสูงเป็น 2.17 เท่า กลุ่มอายุที่มากกว่า 50 ปี         มีความเสี่ยงสูงกว่ากลุ่มที่อายุน้อยกว่า 50 ปีเป็น 2.87 เท่า ผู้ที่เคยผ่าตัดและมีประวัติคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัด มีความเสี่ยงสูงกว่าผู้ที่เคยผ่าตัดแต่ไม่มีประวัติคลื่นไส้อาเจียนเป็น 7.09 เท่า ข้อมูลที่ได้จากการศึกษานี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการประเมินความเสี่ยงการเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัด ให้กับผู้ป่วยก่อนได้รับการระงับความรู้สึกทุกราย

Downloads

Download data is not yet available.

References

อรลักษณ์ รอดอนันต์. การดูแลผู้ป่วยในห้องพักฟื้น. ใน: อักษร พูลนิติพร และคณะ, (บรรณาธิการ). ตำราฟื้นฟูวิชาการวิสัญญีวิทยา. กรุงเทพมหานคร: ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย.; 2558. หน้า 399–09.

เบ็ญจมาศ เกียรติเกษมศานต์. การดูแลผู้ป่วยที่เข้ารับการระงับความรู้สึกเฉพาะส่วน. ใน: วิมลรัตน์ ศรีราชและคณะ, (บรรณาธิการ). ก้าวไกลวิสัญญี 40. กรุงเทพมหานคร: บริษัทธนาเพรสจำกัด; 2562. หน้า 291–16.

ดุษกร วิไลรัตน์, ปฐมพร ปิ่นอ่อน. อุบัติการณ์ความรุนแรงและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดอาการหลังการผ่าตัดในผู้ป่วยที่ได้รับการะงับความรู้สึกแบบที่ร่างกาย โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่การศึกษาแบบเก็บข้อมูลไปข้างหน้า. วิสัญญีสาร. 2560;43(2):117–24.

ฐิติมา ชินะโชติ, พาวสุ ศรีธนาดล, ณิชาภัทร สุขศรี, ชุษณา รุ่งจินดามัย. อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงในการเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนภายหลังการผ่าตัด. วิสัญญีสาร. 2560;43(2):104–15.

วิมลลักษณ์ สนั่นศิลป์. การระงับปวดสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด. ใน: อังกาบ ปราการรัตน์, วรภา สุวรรณจินดา, (บรรณาธิการ). ตำราวิสัญญีวิทยา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร; 2548. หน้า 696–18.

Carlisle JB, Stevenson CA. Drugs for preventing postoperative nausea and vomiting. Cachrane Database Syst Rev. 2006;CD004125.

ชนิดา อนุวัธนวิทย์. การศึกษาผลการให้ยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลังในหญิงตั้งครรภ์ที่เข้ารับการผ่าตัดคลอดในโรงพยาบาลตราด. ว. ศูนย์การศึกษาแพทย์ศาสตร์คลินิค โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2555;29(2):123–32.

วรภัทร ปานเจริญ. การศึกษาผลของการใช้แนวทางการป้องกันภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัดโรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี. ว. โรคมะเร็ง. 2564;41(2):78–7.

อุ้มจิต วิทยาไพโรจน์. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับการป้องกันและรักษาภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังการผ่าตัด โดยราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย. วิสัญญีสาร. 2564;47(4):374–9.

เมธาวิน พันธิโก. การศึกษาผลการใช้แนวทางการป้องกันภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังการผ่าตัดในโรงพยาบาลโพธาราม [อินเตอร์เน็ต]. https://he02.tci-thaijo.org; 2560 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/ index.php/ reg45/article/view/123162

พนาวรรณ จันทรเสนา, มานพ คณะโต, อรวรรณ แสงมณี. ภาวะแทรกซ้อนจากการให้ยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลังในมารดาผ่าตัดคลอดที่โรงพยาบาลคัดสรรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ว. การพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2556;1(3):105–16.

นิตยา ใจหาญ. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยผ่าตัดช่องท้องแผนกวิสัญญีโรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์. ว. วิชาการแพทย์ เขต 11. 2562;33(1):171–80.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27