ผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยระยะกลางโรคหลอดเลือดสมอง ต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยในเขตพื้นที่ชุมชนอำเภอเมืองราชบุรี

ผู้แต่ง

  • ปราณี เสี้ยจันทร์บริบูรณ์ โรงพยาบาลราชบุรี

คำสำคัญ:

โปรแกรมการพยาบาลที่บ้าน, , ผู้ป่วยระยะกลาง, โรคหลอดเลือดสมอง, ภาวะแทรกซ้อน

บทคัดย่อ

        การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยระยะกลางโรคหลอดเลือดสมองระหว่างกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลที่บ้านตามปกติ กับกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการพยาบาลที่บ้านในการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง ที่ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลราชบุรี แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วย และโปรแกรมการพยาบาลที่บ้านในการดูแลผู้ป่วยระยะกลางที่ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ 1) ก่อนจำหน่ายผู้ป่วย ประเมินผู้ป่วยและครอบครัว เพื่อวางแผนก่อนจำหน่าย 2) ขั้นตอนหลังจำหน่าย เป็นการออกเยี่ยมบ้านทั้งหมด 4 ครั้ง คือภายใน 2 สัปดาห์และทุก 2, 4 และ 6 เดือนตามลำดับ ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง .67-1.0 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .843 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และไคสแควร์

        ผลการวิจัยพบว่า หลังจำหน่าย 6 เดือน กลุ่มทดลองเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ่มทดลองไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนปอดอักเสบจากการสำลักและข้อติด พบภาวะติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะร้อยละ 3.30 และแผลกดทับร้อยละ 3.30 ส่วนกลุ่มควบคุมเกิดภาวะแทรกซ้อนปอดอักเสบจากการสำลักร้อยละ 6.70 มีอาการข้อติดร้อยละ 10.00 พบภาวะติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะร้อยละ 13.30 และแผลกดทับร้อยละ 16.70

Downloads

Download data is not yet available.

References

Johnson W, Onuma O, Owolabic M, Sachdev S. Stroke: a global response is needed. Bull World Health Organ 2016;94:634–634A.

Coupland AP, Thapar A, Qureshi MI, Jenkins H, Davies AH, et al. The definition of stroke. Journal of the Royal Society of Medicine 2017;110(1):9-12.

สมศักดิ์ เทียมเก่า. สถานการณ์โรคหลอดเลือดสมอง. ว. ประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย 2564;37(4):54-60.

ปรีดา อารยาวิชานนท์. การฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. สรรพสิทธิเวชสาร [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2565];37:43-58. เข้าถึงได้จาก: https://www.prd.go.th/th/ content/category/detail/id/9/iid/130588.

ภัทรา วัฒนพันธุ์. การฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและการป้องกันภาวะแทรกซ้อน. North-Eastern Thai Journal of Neuroscience 2020;12(1):31-43.

นันทกานต์ ปักษี, ทิฏฐิ ศรีวิลัย, เสน่ห์ ขุนแก้ว. การเตรียมความพร้อมญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตามแนวคิดรูปแบบการดูแลตามระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้าน. ว. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2564;13(1):47-61.

สุทธิรัตน์ บุษดี. การพัฒนาระบบการบริการเยี่ยมบ้านและการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของโรงพยาบาลมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม. ว. สารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2565;19(1):193-06.

สำนักงานสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/9/iid/130588.

อภันตรี กองทอง. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย. ว. สารการพยาบาล สุขภาพและสาธารณสุข 2565;1(3):1-17.

เมธิณี เกตวาธิมาตร. บทบาทของพยาบาลวิชาชีพในการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ขาดเลือดในระยะวิกฤต. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2560;11(2):71-80.

นันทิยา ภูงามและขนิษฐา ทาพรมมา. การพัฒนารูปแบบการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลาง หอผู้ป่วยชาย โรงพยาบาลบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น. วารสารสุขภาพและสิ่งแววล้อมศึกษา 2565;7(4):1-14.

นลินี พสุคันธภัค, สายสมร บริสุทธิ์ และวันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล. แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง สำหรับพยาบาลทั่วไป. กรุงเทพมหานคร. บริษัท ธนาเพลส จำกัด. 2559.

ราตรี มณีขัติย์. ผลของการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพที่บ้านของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. ว. อนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน 2565;4(3):86-4.

Naylor M, Shaid EC, Carpenter D, Gass B, Levine C, Li J, et al. Components of comprehensive and effective transitional Care. J Am GeriatrSoc [internet]. 2017 [cited 2021/11/9].65;1119-1125. Available from: https://www.researchgate.net/publication/ 315776473

ชวินทร์ เลิศศรีมงคล, วิชุดา จิรพรเจริญ. เวชปฏิบัติครอบครัว ฉบับปรับปรุง. เชียงใหม่: ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2560.

สุพิมล บุตรรัตนะ. ผลของโปรแกรมเตรียมความพร้อมของผู้ดูแลหลักผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตันก่อนจำหน่ายกลับบ้านโรงพยาบาลบ้านหนองบัวลำภู. ว. การพยาบาล สุขภาพและการศึกษา 2563;3(1):56-64.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27