ผลของโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพตามหลัก 2 อ.ต่อ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ และระดับน้ำตาลในเลือด ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2

ผู้แต่ง

  • สุภาวดี กลัดทอง โรงพยาบาลราชบุรี
  • ณรินี แย้มสกุล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช จังหวัดราชบุรี

คำสำคัญ:

พฤติกรรมสุขภาพ, โปรแกรมสุขศึกษาเพื่อการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพตามหลัก 2 อ. ความรอบรู้ทางสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) แบบ one group pretest posttest design นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพตามหลัก 2 อ. ต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ และระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2  กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนที่มีอายุ 35-59 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน และมีค่าระดับน้ำตาลตั้งแต่ 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จำนวน 34 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่โปรแกรมสุขศึกษาเพื่อการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพตามหลัก 2 อ. กองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข และแบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 2 อ. (อาหาร ออกกำลังกาย) มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .80 ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า (Cronbach’s alpha ecoefficiency) เท่ากับ .96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้  ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ paired t-test ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มเสี่ยงเบาหวานที่เข้าร่วมโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพตามหลัก 2 อ. มีความรอบรู้ด้านสุขภาพหลังเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) มีพฤติกรรมสุขภาพหลังเข้าร่วมโปรแกรมดีกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) และยังพบว่ากลุ่มเสี่ยงเบาหวานที่เข้าร่วมโปรแกรม มีค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดหลังเข้าร่วมโปรแกรมลดลงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)  

Downloads

Download data is not yet available.

References

World Health Organization (WHO). global tuberculosis report 2017. Geneva: world health Organization; 2017

Guariguata L, Linnenkamp U, Beagley J, Whiting DR & Cho NH. Global estimates of the prevalence of hyperglycaemia in pregnancy. Diabetes Research and Clinical Practice. 2014;103(2),176-185.

.

อภิญญา อินทรรัตน์.ความฉลาดทางสุขภาพของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ.วารสารพยาบาลทหารบก. 2557;15(3): 174-178.

แสงเดือน กิ่งแก้วและนุสรา ประเสริฐศรี. ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังหลายโรค. Nursing Journal of The Ministry of Public Health. 2558;25(3), 43-4.

กองสุขศึกษา, กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.โปรแกรมสุขศึกษา เพื่อการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพตามหลัก 2 อ.(อาหาร ออกกำลังกาย) ในการป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง สำหรับวัยทำงาน. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข. 2561.

Faul F, Erdfelder E, Lang AG, & Buchner A. G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences Behavior Research Methods. 2007;39:175-191

เอื้อจิต สุขพูล ชลดา กิ่งมาลา ภาวิณี แพงสุข ธวัชชัย ยืนยาว และ วัชรีวงค์ หวังมั่น. ผลของ โปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและ พฤติกรรมสุขภาพสำหรับประชาชนกลุ่มวัยทำงาน. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2563;29(3): 419-429.

ภคภณ แสนเตชะ และประจวบ แหลมหลัก. ผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ตำบลแม่ปืม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสารสุขศึกษา. 2563;43(2):150-164.

แสงเดือน กิ่งแก้ว และนุสรา ประเสริฐศรี. ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังหลายโรค. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2558. 25(3): 43-54.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-13