ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก ในหน่วยบริการสาธารณสุขสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • อัญนิกา งามเจริญ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี

คำสำคัญ:

แพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก, แรงจูงใจในการบริการ, ภาวะผู้นำในการทำงาน, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกในหน่วยบริการสาธารณสุขสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี  2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกในหน่วยบริการสาธารณสุขสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี  การวิจัยแบบผสมโดยศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยเชิงปรากฏการณ์วิทยาการตีความ ผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง แพทย์แผนไทย  15 คน ใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการสัมภาษณ์กลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีของไมล์และฮิวเบอร์แมน และการวิจัยเชิงปริมาณด้วยการหาค่าความสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ให้บริการการแพทย์แผนไทย จำนวน 163 คน รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคทั้งฉบับเท่ากับ .97 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ONE WAY ANOVA  และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน  ผลการวิจัยพบว่า การบริการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก มี 4 ประเด็นหลัก คือ 1) การบริการตามมาตรฐาน 2) แรงจูงใจในการบริการ 3) การพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง 4) ภาคภูมิใจที่ได้บริการแพทย์แผนไทย การบริการภาพรวมมีค่าเฉลี่ยการจัดบริการระดับมาก ( gif.latex?\bar{X} = 4.12, SD = 0.64) ด้านแรงจูงใจมีค่าเฉลี่ยระดับมาก ( gif.latex?\bar{X} = 3.65, SD= 0.66) ด้านภาวะผู้นำมีค่าเฉลี่ยระดับมาก ( gif.latex?\bar{X} = 4.18, SD= 0.54) ด้านการมีส่วนร่วมมีค่าเฉลี่ยระดับมาก ( gif.latex?\bar{X}= 3.93, SD= 0.63)  ปัจจัยด้านแรงจูงใจ  ด้านภาวะผู้นำ  ด้านการมีส่วนร่วม  มีความสัมพันธ์กับการบริการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r = .741, .726 และ .745 ตามลำดับ) 

References

คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. ธรรมนูญว่าด้วยสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2552. สำนักงาน คณะกรรมการ สุขภาพแห่งชาติ. กรุงเทพฯ ; 2552 หน้า 17-20.

อัจฉรา เชียงทองโพธิ์. คุณภาพและการเข้าถึงบริการของโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทย [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2559.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี. รายงานการแพทย์แผนไทย จังหวัดราชบุรี. [อินเตอร์เน็ต]. ราชบุรี : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี; 2563 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2564 ]. เข้าถึงได้จาก http://www.rbpho.moph.go.th

สุกัญญา คุ้มโพธิ์. ความพร้อมของการให้บริการแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบล จังหวัดลพบุรี [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2558.

Bass,B.M., & Avolio, B.J. Improving organization effectiveness through transformational leadership. Califonia: Sage Publication. 1990.

ถวิลวดี บุรีกุล. (2552). พลวัตการมีส่วนร่วมของประชาชนจากอดีตจนถึงรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กรุงเทพฯ: บริษัทเอพี.กราฟิคดีไซน์การพิมพ์ จำกัด.

Miles, M B. & Huberman, A M. Qualitative Data Analysis. An Expanded Sourcebook (2nd ed.). Thousand Oaks,CA: Sage. 1994.

Heidegger, Martin. Being and Time, translated by Joan Stambaugh. New York : State University of New York Press. 1996.

Lincoln, Y., & Guba, E. G. Naturalistic inquiry. Newbury Park, CA: Sage; 1985.

Likert, R. A. Technique for the Measurement of Attitudes, Arch Psychological 1932;25(140): 1–55.

Best, John W. Research in Education. .ed., Englewood Cliffs, New Jersey. Prentice-Hell, lnc. 1997.

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยของพยาบาลศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรง พิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550 หน้า 223.

Conbach, L. Joseph. Essential of Psychology and Education. New York: Mc–Graw Hill; 1984.

พรพรรณ ระวังพันธ์, ดลิชา ชั่งสิริพร, อรสา โอภาสวัฒนา. การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ การบริการด้านการแพทย์แผนไทย จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2561;27(2): 280-291.

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐาน โรงพยาบาลส่งเสริมและสนับสนุนการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน.กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2556 หน้า 21- 39.

ภรณ์ทิพย์ ขุนพิทักษ์. รูปแบบให้บริการแพทย์แผนไทยในระบบบริการสาธารณสุขระดับตติยภูมิ ของโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปในเขตบริการสุขภาพที่ 12 [วิทยานิพนธ์]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2559.

พรรนภา สวนรัตนชัย, จีรพร วงค์ขัติย์, ฉันทาภรณ์ จันศรีนิยม. แรงจูงใจในการทำงานของ พนักงานผู้ให้บริการธุรกิจการแพทย์แผนไทยในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารการ วิจัยกาสะลองคำ 2563; 14(1): 89-98.

รัชนี จันทร์เกษ, มนนิภา สังข์ศักดา, ปรียา มิตรานนท์. สถานการณ์การใช้บริการการแพทย์ แผนไทยปี พ.ศ.2552, 2554 และ 2556. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2559;10(2): 103-112.

ศุมาลิณ ดีจันททร์, ประจักร บัวผัน. แรงจูงใจและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน แพทย์แผนไทยของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเลย. วารสาร มหาวิทยาลัยขอนแก่น(ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2557;19 (2): 166-76.

กรกช อินทอง. รูปแบบการให้บริการสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบล กรณีศึกษาจังหวัดตรัง [วิทยานิพนธ์]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2559.

พรพรรณ คำมา, สรรใจ แสงวิเชียร, ศุภะลักษณ์ ฟักคำ, ธารา ชินะกาญจน์, พีรยา อานมณี. ประสิทธิผลการสักยาเปรียบเทียบกับการประคบสมุนไพรในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม. วารสารหมอ ยาไทยวิจัย. 2565; 8(1): 129- 43.

จันธิดา กมาลาสน์หิรัญ, กุสุมา ศรียากูล, สมบูรณ์ เกียรตินันทน์, ปารัณกุล ตั้งสุขฤทัย, ปรัชญา เพชรเกตุ. การศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยการแพทย์แผนไทย 4 ภาค. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2563; 29(1) : 36-47.

วรณัฏฐ์ สุ่นสวัสด์, ศิริวรรณ ไกรสุรพงศ์, เพ็ญจันทร์ เชอร์เรอร์, ดรุณี ภู่ขาว. อัตลักษณ์ทางวิชาชีพ การแพทย์แผนไทยของนักศึกษาการแพทย์แผนไทยในระดับปริญญาตรี. การประชุมวิชาการของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 56. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2561. หน้า 853- 860.

ขวัญชนก เทพปัน. การตัดสินใจเลือกใช้บริการแพทย์แผนไทยของประชาชนผู้มาใช้บริการที่ โรงพยาบาลทั่วไป จังหวัดราชบุรี [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2559.

วิลาวัลย์ พงษ์สุนทร, ธันยธรณ์ สุขพานิช. ภาวะผู้นำด้านสุขภาพแบบองค์รวมของโรงพยาบาล เจ้าพระยาอภัยภูเบศร. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 2557; 13(3), 128-34.

พรรณิษา รุ่งศรี, กฤช จรินโท. ภาวะผู้นำและการสื่อสารในการเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นของ ปราชญ์ชาวบ้านด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรไทย. วารสารการตลาดและการจัดการ 2561; 5(2): 83-100.

อำภา สมันพืช. การมีส่วนร่วมในการบริหารกับความยึดมั่นผูกพันกับองค์การของครูในสถาบันการ อาชีวศึกษา กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม; 2561.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-25