กรณีศึกษาการพยาบาลผู้สูงอายุปอดอักเสบและมีการติดเชื้อในกระแสเลือดรุนแรง

ผู้แต่ง

  • สิรีลักษณ์ นาคพาณิชย์ โรงพยาบาลบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, ปอดอักเสบ, การติดเชื้อในกระแสเลือดรุนแรง, การพยาบาล

บทคัดย่อ

       ผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนสูงมากโดยเฉพาะการติดเชื้อในกระแสเลือด เนื่องจากร่างกายเสื่อมถอยร่วมกับมีภูมิต้านทานต่ำ ผู้สูงอายุติดเตียงรายนี้มีประวัติการสำลักอาหาร ทำให้เกิดโรคปอดอักเสบและเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดรุนแรง หากไม่ได้รับการรักษาพยาบาลที่ทันท่วงทีและเหมาะสมแล้ว อาจนำไปสู่ภาวะช็อกและเสียชีวิตได้ ผู้ป่วยได้รับการดูแลแบบองค์รวมโดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางและครอบครัวมีส่วนร่วมในการวางแผนการพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาล 3 ระยะ ได้แก่ (1) ระยะวิกฤต (2) ระยะกึ่งวิกฤต และ (3) ระยะฟื้นฟู ร่วมกับการวางแผนการดูแลล่วงหน้า ในระยะฟื้นฟูนี้ ผู้ดูแลได้รับการฝึกทักษะที่จำเป็นสำหรับการดูแลผู้ป่วยก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ส่งผลให้ผู้ป่วยไม่มีภาวะแทรกซ้อนและไม่พบการกลับเข้ารักษาซ้ำ

        กรณีศึกษานี้สามารถนำไปเป็นแนวทางการพัฒนาระบบบริการพยาบาลเพื่อการดูแลผู้ป่วยสูงอายุปอดอักเสบและการติดเชื้อในกระแสเลือดตามแนวคิดของโดนาบีเดียนโมเดล ในด้าน 1) โครงสร้าง: การจัดแยกโซนสำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในระยะวิกฤต จัดหาเครื่องควบคุมการให้ออกซิเจนอัตราการไหลสูงเครื่อง และพัฒนาศักยภาพพยาบาลในการดูแลผู้ป่วย 2) กระบวนการ: ให้การดูแลแบบองค์รวม การวางแผนการดูแลล่วงหน้า การเพื่อติดตามเฝ้าระวังการติดเชื้อในกระแสเลือดและการวางแผนจำหน่าย และ 3) ผลลัพธ์: การประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน และการกลับเข้ารักษาซ้ำ เพื่อการพยาบาลที่สอดคล้องกับปัญหาของผู้ป่วยแต่ละรายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และผลลัพธ์ทางการพยาบาลที่ดี

Downloads

Download data is not yet available.

References

กำธร มาลาธรรม, พรทิพย์ มาลาธรรม, และสุรางค์ สิงหนาท. โรคติดเชื้อในผู้สูงอายุ. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2550; 13(3):272-7.

Osman M, Manosuthi W, Kaewkungwal J, Silachamroon U, Mansanguan C, Kamolratanakul S, et al. Etiology, clinical course, and outcomes of pneumonia in the elderly: A retrospective and prospective cohort study in Thailand. Am J Trop Med Hyg 2021;104(6):2009-16.

สถาบันวัคซีนแห่งชาติ. ผนึกกำลังเตรียมความพร้อมประเทศไทยสู่การป้องกันโรคปอดอักเสบหลังโควิด 19 [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 25 ส.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://nvi.go.th/2022/11/11/prnews-2565-pneu-1/

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คาดการณ์โรค 8 โรคสำคัญ ปี 2565 [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 25 ส.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.ddc.moph.go.th/uploads/publish/ 1305720220831091702.pdf

Health Data Center กระทรวงสาธารณสุข. อัตราตายผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรง ปีงบประมาณ 2565 [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 25 ส.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. รายละเอียดตัวชี้วัด กระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 25 ส.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://spd.moph.go.th/wp-content/uploads/2022/11/KPI-Template-66.1.pdf

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. มาตรฐานการวางแผนการดูแลล่วงหน้าสำหรับประเทศไทย. [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 25 ส.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nationalhealth.or.th/th/node/3584

พรศิริ พันธสี. กระบวนการพยาบาล & แบบแผนสุขภาพ: การประยุกต์ใช้ทางคลินิก (พิมพ์ครั้งที่ 25). กรุงเทพฯ: พิมพ์อักษร; 2564.

Drake, MG. High-flow nasal cannula oxygen in adults: An evidence-based assessment. Ann Am Thorac Soc. 2018;15(2):145-55.

Parke, RL, McGuinness, SP. Pressures delivered by nasal high flow oxygen during all phases of the respiratory cycle. Respir Care 2013;58(10):1621-4.

Vega, ML, Pisani, L. Nasal high flow oxygen in acute respiratory failure. Pulmonology 2021;27(3):240-7.

ธนรัตน์ พรศิริรัตน์, สุรัตน์ ทองอยู่. การพยาบาลผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีภาวะพร่องออกซิเจนและได้รับการรักษาด้วย High Flow Nasal Cannula. เวชบันทึกศิริราช 2563;13(1):60-8.

สำนักกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือสำหรับประชาชน การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative Care). กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี; 2556.

ภัทรา วัฒนพันธุ์. การประเมินผู้ป่วยภาวะกลืนลำบาก. ศรีนครินทร์เวชสาร 2557;29(เพิ่มเติม),9-12.

จิณพิชญ์ชา มะมม. บทบาทพยาบาลกับแผลกดทับ: ความท้าทายในการป้องกันและการดูแล. ว. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2555;20(5):478-90.

ธีระ ศิริสมุด, กิตติพงศ์ พลเสน, และพรทิพย์ วชิรดิลก. ความรู้ ทัศนคติ และเหตุผลที่ไม่เรียกใช้บริการการแพทย์ ฉุกเฉินของผู้ป่วยฉุกเฉินในประเทศไทย. ว. วิจัยระบบสาธารณสุข 2561;12(4):668-80.

Ayanian, JZ, Markel, H. Donabedian's lasting framework for health care quality. N Engl J Med 2016;375(3):205-7.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27