ศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลยาหยอดขยายม่านตาระหว่างการใช้ยาเดี่ยว (1% Tropicamide สลับกับ 10% Phenylephrine) กับการใช้ยาผสม (1% Tropicamide และ 2.5% Phenylephrine) ในการเตรียมผู้ป่วยก่อนผ่าตัดต้อกระจก
คำสำคัญ:
ยาขยายรูม่านตา, การขยายม่านตาบทคัดย่อ
งานวิจัยเชิงทดลองนี้เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลยาหยอดขยายม่านตาระหว่างการใช้ยาเดี่ยว (1%Tropicamide สลับกับ 10% Phenylephrine) กับการใช้ยาผสม (1% Tropicamide และ 2.5% Phenylephrine) ในการเตรียมผู้ป่วยก่อนผ่าตัดต้อกระจก กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยเตรียมผ่าตัดต้อกระจก จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมคือกลุ่มที่ได้รับยาเดี่ยวสลับกัน 2 ชนิด (1% Tropicamide สลับกับ 10% Phenylephrine) จำนวน 30 คน และกลุ่มทดลองคือกลุ่มที่ได้รับยาผสม (1% Tropicamide และ2.5% Phenylephrine) จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ไคลสแควร์ และการทดสอบที
ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มทดลองหลังได้รับยาผสม (1% Tropicamide และ 2.5% Phenylephrine) มีการขยายรูม่านตาแตกต่างกับกลุ่มควบคุมในการใช้ยาเดี่ยว (1% Tropicamide สลับกับ 10% Phenylephrine) อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ p > 0.05 โดยทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมหลังได้รับยารอบที่ 5 รูม่านตาขยาย 8 มิลลิเมตร ร้อยละ 100 และเมื่อหยอดครบ 6 ครั้งกลุ่มทดลองใช้เวลา 50 นาที กลุ่มควบคุมใช้เวลา 80 นาที
Downloads
References
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. รายงานการสร้างระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ งบประมาณ 2564 [ออนไลน์]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 4 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nhso.go.th›storage›operatingresult
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โรงพยาบาลบ้านโป่ง. ข้อมูลผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกปี 2565. ราชบุรี: โรงพยาบาลบ้านโป่ง; 2565.
จินตนา สัตยาศัย. เภสัชวิทยา สำหรับนักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ เล่ม 2 ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง. มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2566.
ลุนนี จิ่มอาษา, วัลลภา ช่างเจรจา. ผลของโปรแกรมการเตรียมผ่าตัดต่อความวิตกกังวลและภาวะแทรกซ้อนในการผ่าตัดต้อกระจก แผนกจักษุโรงพยาบาลบึงกาฬ. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม 2020;4(7):75-87.
วารุณี กุลราช, วัลภา คุณทรงเกียรติ, สุภาภรณ์ ด้วงแพง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลก่อนผ่าตัดในผู้ป่วยผ่าตัดตา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2560;9(1):1-12.
อมราภรณ์ ลาภชูรัต. ผลการใช้โปรแกรมส่งเสริมและป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดต่อความรู้และการปฏิบัติตัวของผู้สูงอายุที่เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจกโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2561;32(3):1099-1112.
ละมิตร์ ปึกขาว, เพ็ญจันทร์ แสนประสาน, กาญจนา หัถรังสี. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกแบบมีส่วนร่วมอย่างเอื้ออาทร ตามทฤษฎี Swanson โรงพยาบาลปทุมธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2020;29(5):864-875.
ชุมพล อินทรเทศ. การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพและผลข้างเคียงของยาขยายม่านตาในผู้ป่วยเบาหวาน. วารสารแพทย์เขต 2565;41(3):287-296.
ณัฐสุดา เสมทรัพย์, ศรีจิตรี สุ่นปาน, นางสาวก้านทอง ปัญจะรักษ์, สุนิสา เทพหัสดิน ณ อยุธยา. ศึกษาประสิทธิผลของ Tropicamide ร่วมกับ Phenylephrine ในการขยายรูม่านตาก่อนผ่าตัดต้อกระจก [ออนไลน์]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 5 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.tec.in.th/ELearning/R2R.pdf/2562.
นิคม วีระนรพานิช, สลิ สุขสมบูรณ์, พัชรกมล พระราช, ศรีสุมล คุณโลก. เปรียบเทียบการใช้ยาหยอดขยายม่านตา 1% Tropicamide แบบครั้งเดียวกับแบบผสม 10% Phenylephrine แบบครั้งเดียวและ 3 ครั้ง. วารสารวิทยาเขต 12 2559;22(4):36-42.
วงเดือน ธรรมสุนทร. การศึกษาความต้องการข้อมูลก่อนผ่าตัดของผู้ป่วยต้อกระจกโรงพยาบาลเฉลิมพระ เกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ระยอง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี 2563;3(2):63-75.
Motta MM, Coblentz J, Fernandes BF, Burnier MN. Mydriatic and Cardiovascular Effects of Phenylephrine 2.5% versus Phenylephrine 10%, Both Associated with Tropicamide 1%. Ophthalmic Res. 2009;42:87–9.
Symons RC, Walland MJ, Kaufman DV. A comparative study of the efficacy of 2.5% Phenylephrine and 10% Phenylephrine in pre-operative mydriasis for routine cataract surgery. Eye 1997;11(6):946–8.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการและการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช เล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยฯ และคณาจารย์ท่านอื่นในวิทยาลัย ฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่อง เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว