ผลของการจัดบริการพยาบาลทางไกลเพื่อสนับสนุนพฤติกรรมการจัดการตนเอง ของผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคหืดกลุ่มติดบ้าน อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • สุธาทิพย์ รุ่งเรืองอนันต์ กลุ่มงานการพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลนครปฐม

คำสำคัญ:

การจัดบริการพยาบาลทางไกล, พฤติกรรมการจัดการตนเอง, ผู้ดูแลผู้สูงอายุ, ผู้สูงอายุโรคหืด

บทคัดย่อ

       การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้ พฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคหืดกลุ่มติดบ้าน อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม และจำนวนครั้งของอาการโรคหืดกำเริบก่อนและหลังได้รับบริการพยาบาลทางไกล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคหืดกลุ่มติดบ้าน ที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม จำนวน 20 คน โดยทำการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมการจัดบริการพยาบาลทางไกลเพื่อสนับสนุนพฤติกรรมการจัดการตนเอง โดยประยุกต์ใช้แนวคิดการจัดการตนเองของเครียร์ 2) แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับโรคหืด และ3) แบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคหืด เครื่องมือผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง ระหว่าง .67-1.0 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .86 และ .83 ตามลำดับ ดำเนินการทดลองตามโปรแกรมระหว่างเดือนกรกฎาคม–กันยายน 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที 

        ผลการวิจัย พบว่า หลังได้รับบริการพยาบาลทางไกล ผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคหืด กลุ่มติดบ้าน มีความรู้เกี่ยวกับโรคหืด และพฤติกรรมการจัดการตนเอง สูงกว่าก่อนได้รับบริการพยาบาลทางไกล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <.01) สำหรับจำนวนครั้งของอาการโรคหืดกำเริบ ต่ำกว่าก่อนได้รับบริการพยาบาลทางไกล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <.01)

Downloads

Download data is not yet available.

References

Boonsawat W, Charoenphan P, Kaiboonsri S, et al. Prevalence of asthma Symptoms in adult in 4 cities of Thailand. Joint scientific meeting the Thoracic Society of Thailand, the Malaysia Thoracic Society and the Singapore Thoracic Society. Bangkok Thailand; 2002.

Boonsawat W, editors. Improvement of health service systems in Contracting Unit for Primary Care. Bangkok: Bulletin Company Limited; 2011.

ศูนย์ข้อมูล โรงพยาบาลนครปฐม. ข้อมูลผู้ป่วยโรคหืด ปี 2564 – 2565; 2566.

นุชนารถ โตเหมือน. Proactive regular ICS/LABA Management in Asthma. ประชุมวิชาการโรงพยาบาลนครปฐม เรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อระบบการบริการโรคไม่ติดต่อแบบองค์รวม; วันที่ 17 มีนาคม 2566; โรงพยาบาลนครปฐม. นครปฐม; 2566.

จิรสุดา ทะเรรัมย์, นรลักขณ์ เอื้อกิจ. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจต่อพฤติกรรมต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคหืดวัยผู้ใหญ่. ว. การพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2561;36(3):221-32.

ณัฐกร พิชัยเชิด, เพชรไสว ลิ้มตระกูล. ระบบการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคหืด คลินิกโรคหืดโรงพยาบาลห้วยเม็ก อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์. ว. การพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2564; 39(1):118-27.

สินีนาฏ เนาวสุวรรณ, กิตติพร เนาวสุวรรณ. พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคหืด. ว. การพยาบาลการสาธารณสุขและการศึกษา 2560;18(1):28-38.

สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคหืดสำหรับผู้ใหญ่ในประเทศไทยปี 2565 [อินเตอร์เนต]. [เข้าถึงเมื่อ 1 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.tac.or.th/wp-content/uploads/2022/แนวทางการรักษาโรคหืดในประเทศไทย-TAC-2022-TK-edited.pdf.

อารีย์ เสนีย์. โปรแกรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. ว. พยาบาลทหารบก 2557;15(2):129-34.

ณัฐภัสสร เดิมขุนทด และคณะ. ผลของการติดตามสุขภาพทางไกลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และความสม่ำเสมอในการรับประทานยาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ดี. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง 2564;65(ฉบับเพิ่มเติม):75-90.

กองการพยาบาล. รูปแบบการพยาบาลในการสรางเสริมการจัดการสุขภาพตนเองของกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลแบบเรื้อรังและผู้ดูแล. กรุงเทพฯ: เทพเพ็ญวานิสย์; 2564.

กระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์สุขภาพดิจิทัล (Digital Health) กระทรวงสาธารณสุขปี 2564-2568. [อินเตอร์เนต]. กระทรวงสาธารณสุข; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 1 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ict.moph. go.th/ upload_file/ files/97c2287c8f04e13f81fec13e431e7a5e.pdf.

ปัทมาพร ชนะมาร. การพัฒนาโปรแกรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจังหวัดมหาสารคาม [วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; 2561.

ธมลวรรณ ศรีกลั่น, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, อรวมน ศรียุกตศุทธ. ผลของโปรแกรมการจัดการโรคหืดผ่านสมาร์ตโฟนแอปพลิเคชันต่อความรู้การใช้ยาสูดและการควบคุมอาการในผู้ป่วยโรคหืด. ว. พยาบาลศาสตร์ 2564;39(2):50-63.

Creer TL. Self-management of chronic illness. in Boekaerts M, Pintrich PR, Zeidner M. (Eds.). Handbook of self-regulation. California: Academic; 2000.

กองการพยาบาล. แนวทางการจัดเก็บตัวชี้วัดการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. นนทบุรี: กองการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข; 2566.

กรรณิการ์ ยิ่งยืน, นงลักษณ์ เมธากาญจนศักดิ์. นวัตกรรมเพื่อการจัดการตนเองผ่านระบบสุขภาพทางไกลสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง. ศรีนครินทร์เวชสาร 2559;31(6): 365-71.

ภรณพรรษสร พุฒวิชัยดิษฐ์, ยุทธกรานต์ ชินโสตร. ประสิทธิผลของการพัฒนาแนวทางการเข้าถึงบริการในคลินิกโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยใช้กระบวนการเสริมพลังในเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ. ว. อนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน 2562;4(3):71-85.

ชลอศักดิ์ สุชัยยะ, อัมพรพรรณ ธีรานุตร. ผลของแนวปฏิบัติทางคลินิกในการจัดการภาวะหืดกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคหืดต่อการกลับมารักษาซ้ำและพฤติกรรมการปฏิบัติตัว. ว. พยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2563;43(4):48-58.

ธมลวรรณ ศรีกลั่น, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, อรวมน ศรียุกตศุทธ. ผลของโปรแกรมการจัดการโรคหืดผ่านสมาร์ตโฟนแอปพลิเคชันต่อความรู้การใช้ยาสูดและการควบคุมอาการในผู้ป่วยโรคหืด. ว. พยาบาลศาสตร์ 2564;39(2):50-63.

International Council of Nurses. Tele-nursing fact sheet. Geneva : International Council of Nurses (ICN); (2001).

ชดช้อย วัฒนะ. การสนับสนุนการจัดการตนเอง: กลุทธในการส่งเสริมการควบคุมโรค. ว. วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2558;26(ฉบับเพิ่มเติม):117-27.

จันจิรา วิทยาบำรุง, ปัทมา สุริต. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อความรู้พฤติกรรม การจัดการตนเอง และระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้: การทดลองแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มควบคุม. ว. พยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2563;43(4):36-47.

ภรณ์ทิพย์ ศรีสุข, นงลักษณ์ เมธากาญจนศักดิ์. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อควบคุมอาหารคาร์โบไฮเดรตและส่งเสริมการ ออกกําลังกายผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. ว. การแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 2565;30(1):12-23.

พรทิพย์ แก้วสิงห์, ดาราวรรณ ต๊ะปินตา, จินดารัตน์ ชัยอาจ, ชมพูนุท ศรีรัตน์. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการจัดการตนเองต่อการควบคุมอาการและคุณภาพชีวิตของผู้เป็นโรคหืดที่ควบคุมไม่ได้: การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม. Pacific Rim International Journal of Nursing Research 2564;25(3):375-88.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27