การพัฒนาคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาล งานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต
คำสำคัญ:
การพัฒนาคุณภาพ, บันทึกทางการพยาบาล, ผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพัฒนามีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลงานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต โดยใช้แนวทางกระบวนการFOCUS-PDCA ของ Deming ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แนวคำถามในการประชุมกลุ่ม และแบบประเมินคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาล ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.0 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า กระบวนการ FOCUS-PDCA ประกอบด้วย 9 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การค้นหากระบวนการที่ต้องการปรับปรุงคุณภาพ 2) การสร้างทีมให้รู้และเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการ3) การสร้างความกระจ่างในกระบวนการที่ทำอยู่ในปัจจุบัน 4) การทำความเข้าใจสาเหตุของความแปรปรวนในกระบวนการ5) การเลือกกระบวนการที่ต้องการปรับปรุง 6) วางแผนในการปรับปรุง 7) การปฏิบัติตามแผน 8) การตรวจสอบผลการปฏิบัติและ9) การดำเนินการและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง หลังจากดำเนินการ1 เดือน พบว่าคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 56.26 เป็นร้อยละ 86.41
Downloads
References
Urquhart C, Currell R, Grant MJ, Hardiker, NR. Nursing record systems: Effects on nursing practice and healthcare outcomes. The Cochrane Database of systematic Reviews [Internet]. 2018 [cited 2023 May 4]; 5 : Available from : https ://doi.org/10.1002/146518 58.CD002099.pub3.
Bowmann G, Thompson D, Sutton T. Nurses attitudes towards the nursing process. Journal of Advanced Nursing 1983;8(2);125 - 129.
กรมการแพทย์ . คู่มือแนวทางจัดการห้องฉุกเฉิน (GUIDELNE FOR ER SERVICE DENERY) [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึง 4 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก : http ://49.231.15.21/crhfile load/upload /files/ TEAF256211050831184234.pdf
Azevedo OA, Cruz D. Quality indicators of the nursing process documentation in clinical practice. Revista brasileira de Enfermagem [Internet]. 2021 [cited 2023 May 4]; 74: Available from: https ://doi.org/10.1590/0034-7167-2020 - 1355
พรศิริ พันธสี. กระบวนการพยาบาล&แบบแผนสุขภาพ: การประยุกต์ใช้ทางคลินิก. กรุงเทพฯ: พิมพ์อักษรจำกัด; 2554.
สำนักการพยาบาล. การประกันคุณภาพการพยาบาล: การประเมินคุณภาพการบริการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์; 2554.
ยุวดี เกตสัมพันธ์ . บันทึกทางการพยาบาล: วิธีการมุ่งสู่ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์. เชียงใหม่: สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี; 2554.
Deming, as cited in McLaughlin & Kaluzny, 1999 Komlomlird, U. The development of a nursing record model in a neonatal intensive care unit of Samutsakhon hospital. [Master Thesis of Nursing Science]. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University; 2012. (in Thai)
อรวรรณ ณ ลำปาง. การพัฒนาคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลงานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลบางกรวย. ว. วิจัยการพยาบาลและการสาธารณสุข 2564;1(3);31-44.
กลุ่มการพยาบาล. สรุปผลงานประจำปี 2556. โรงพยาบาลสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต จังหวัดกาญจนบุรี; 2556.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติร่วมกับสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์กรมหาชน). คู่มือการตรวจประเมินคุณภาพการบันทึกเวชระเบียน. กรุงเทพฯ: ยูเนียน; 2557.
Lincoln YS, Guba EG. Qualitative Research Guidelines Project. [Internet]. 1985 [cited 2023 May 11] Available from: http ://www.qualres.org/HomeTria-3692.html
อภิวัน ชาวดง. การพัฒนาคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลเถิน จังหวัดลำปาง [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2558.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์ต์. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: แอนด์ไออินเตอร์มีเดีย; 2553.
จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย. จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติร่วมกับสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์กรมหาชน). คู่มือการตรวจประเมินคุณภาพการบันทึกเวชระเบียน. กรุงเทพฯ: ยูเนียน; 2563.
วิทวดี สุวรรณศรวล และคณะ. การพัฒนาคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลในหอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่. ว. พยาบาลสาร 2559;3(2);128-136.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการและการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช เล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยฯ และคณาจารย์ท่านอื่นในวิทยาลัย ฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่อง เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว