การศึกษาคุณภาพระบบการส่งต่อผู้ป่วยของโรงพยาบาลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • นันทวดี บุญเลิศ โรงพยาบาลดำเนินสะดวก อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี

คำสำคัญ:

คุณภาพระบบส่งต่อ, กระบวนการส่งต่อ, ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพระบบการส่งต่อผู้ป่วย ของโรงพยาบาลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ประชากร คือ พยาบาลวิชาชีพแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี  พยาบาลวิชาชีพแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลปลายทาง และผู้ใช้บริการส่งต่อผู้ป่วย จำนวน 64 ราย  ใช้เวลาในการเก็บข้อมูลเป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2560 ถึง 31 พฤษภาคม 2560 เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) แบบตรวจสอบรายการ 2) แนวทางและขั้นตอนในกระบวนการส่งต่อผู้ป่วย 3) แบบประเมินผู้ป่วยระหว่างส่งต่อ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจผู้รับบริการส่งต่อ ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติในการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา มีดังนี้ 1) ด้านคุณภาพของระบบการส่งต่อผู้ป่วย พบว่า ไม่สามารถทำการส่งต่อผู้ป่วยได้สำเร็จภายในเวลา 40 นาที ร้อยละ 56.20 และการส่งต่อสำเร็จภายใน 40 นาที ร้อยละ 43.75  2) ด้านการปฏิบัติตามแนวทางและขั้นตอนกระบวนการส่งต่อผู้ป่วย พบว่า มีการประเมินระดับความเฉียบพลันของอาการผู้ป่วยร่วมกันตามเกณฑ์ Levels of Patient Acuity ร้อยละ 100 การประสานงานการส่งต่อผู้ป่วยกับโรงพยาบาลปลายทางแห่งที่ 1 ร้อยละ 82.81 และการเตรียมความพร้อมมีความครบถ้วนของข้อมูลและเอกสารมากที่สุดร้อยละ 96.87 3)  การประเมินผู้ป่วยระหว่างส่งต่อพบว่า มีการให้การปฏิบัติการพยาบาลด้านการระบายอากาศ ระบบการไหลเวียน และด้านทางเดินหายใจ ร้อยละ 96.88, 95.31 และ 17.19 ตามลำดับ และไม่ปฏิบัติการพยาบาล คือ การติดตามการเต้นของหัวใจ และไม่มีการติดตามความอิ่มตัวของออกซิเจนร้อยละ 1.56    4) ความพึงพอใจของผู้รับบริการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̅= 4.70, S.D. = 1.54)

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงสาธารณสุข. แผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) พ.ศ. 2555-2559.นนทบุรี :สำนักบริหารการสาธรณสุข กระทรวงสาธารณสุข; 2555.

คณะทำงานจัดทำคู่มือสำนักการแพทย์. คู่มือการปฏิบัติงานระบบการส่งต่อผู้ป่วยของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์. กรุงเทพมหานคร; 2555.

ปรานอม สงวนพันธ. กระบวนการรับ – ส่งต่อผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาล. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล. 2562; 4(1): 51-62.

ปราโมทย์ ถ่างกระโทก. ระบบส่งต่อผู้ป่วย: กระบวนการสำคัญในการจัดการบริการสุขภาพ. J Med Health Sci. 2018;25(3): 109-121.

คณะกรรมการเขตสุขภาพที่ 5. คู่มือยุทธศาสตร์ ทิศทาง การทำงาน เขตสุขภาพที่5: สำนักงานเขตสุขภาพที่ 5;2559

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน. การปฏิบัติการส่งต่อผู้ผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล. Inter Facility patient Transfer. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: อัลทิเมท พริ้นติ้ง; 2557.หน้า 1.

โรงพยาบาลดำเนินสะดวก. สรุปรายงานประจำปี 2558 โรงพยาบาลดำเนินสะดวก. โรงพยาบาลดำเนินสะดวก; 2559.

โรงพยาบาลดำเนินสะดวก. สรุปรายงานประจำปี 2559 โรงพยาบาลดำเนินสะดวก. โรงพยาบาลดำเนินสะดวก; 2560.

สุพรรณี นาผล. การสร้างมาตรฐานการพยาบาลการส่งต่อผู้ป่วย งานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โรงพยาบาลเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2552.

สรรเสริญ ไข่ลือนาม, ประสิทธ์ ลีระพันธ์, ลักขณา เติมศิริกุลชัย และธราดล เก่งการพานิช. การพัฒนาระบบการส่งต่อผู้ป่วยเรื้อรังจากโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าไปสู่ศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร:ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์,มหาวิทยาลัยมหิดล; 2552.

กรกมล จันดี. ความสามารถในการดูแลผู้ป่วยของพยาบาลขณะส่งต่อโรงพยาบาลหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ. {อินเตอร์เน็ต}. เข้าถึงเมื่อ 11 สิงหาคม 2559. เข้าถึงได้จาก http://www.sangkha hospital.com › modules › img.

สุรีพรย์ ดวงสุวรรณ และคณะ. ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะในการปฏิบัติการพยาบาลกับ คุณภาพการพยาบาล ของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาล ระดับ ทุติยภูมิและตติยภูมิเขต ตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุขที่ 17. วารสารการพยาบาลและสขภาพ. 2554;5(2): 67-77.

อารีย์ ยีมูดา. ผลของการปฏิบัติตามมาตรฐานของระบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บระยะก่อนถึงโรงพยาบาล และการส่งต่อผู้ป่วยต่อระยะเวลาการนำส่งและผลลัพธ์ของการดูแล. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2553.

สำนักการพยาบาล. หน้าที่ความรับผิดชอบหลักและสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ. นนทบุรี: สำนัก การพยาบาลกรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข; 2549.

วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย. สมรรถนะทางคลินิกเพื่อพัฒนาการปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐานอย่างมีประสิทธิภาพ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 2561;29(2): 164-173.

ฐปนวงศ์ มิตรสูงเนิน และคณะ. ระดับความพึงพอใจ และสาเหตุของความพึงพอใจของผู้มารับบริการที่ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ปี พ.ศ. 2557. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2559;31(4):202-212.

ธีรินทร์ เกตุวิชิต และสุรศักดิ์ มังสิงห์. การพัฒนาตัวแบบระบบการจัดการสารสนเทศเพื่อการส่งต่อผู้ป่วยด้วย โปรแกรมไทยรีเฟอร์ Journal of the Thai Medical Informatics Association. 2558;1(2):51-58.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-13