ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง
คำสำคัญ:
เชื้อดื้อยา, ปัจจัยเสี่ยง, อุบัติการณ์, โรงพยาบาลระดับตติยภูมิบทคัดย่อ
การติดเชื้อดื้อยาเป็นปัญหาสำคัญของโรงพยาบาลซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยหลายด้าน การวิจัยนี้เป็นการศึกษาย้อนหลังมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง ข้อมูลเก็บรวบรวมจากเวชระเบียนผู้ป่วยติดเชื้อในโรงพยาบาล ปี 2563 ทั้งหมด โดยใช้แบบบันทึกข้อมูลที่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก ผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยติดเชื้อในโรงพยาบาลร้อยละ 50.54 เป็นผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยา ปัจจัยเสี่ยงการติดเชื้อดื้อยาได้แก่ ผู้ป่วยติดเชื้อปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ (OR = 3.44, 95%CI 1.70-6.95) ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดที่สัมพันธ์กับการใส่สายสวนหลอดเลือด (OR = 5.78, 95%CI 1.70-19.70) ผู้ป่วยที่รักษาในหอผู้ป่วยหนัก (OR = 3.76, 95%CI 2.03-6.94) และหอผู้ป่วยอายุรกรรม (OR = 4.94, 95%CI 2.50-9.76) แสดงให้เห็นว่าการติดเชื้อดื้อยาเป็นปัญหาสำคัญที่พยาบาลควรควบคุมปัจจัยเสี่ยงโดยการลดระยะเวลาการใส่สายหัตถการและการปฏิบัติตามมาตรฐาน
Downloads
References
Zhou H, Yao Y, Zhu B, Ren D, Yang Q, Fu Y, et al. Risk factors for acquisition and mortality of multidrug-resistant Acinetobacter baumannii bacteremia: A retrospective study from a Chinese hospital. Medicine (Baltimore). 2019;98(13):e14937.
Magiorakos AP, Srinivasan A, Carey RB, Carmeli Y, Falagas ME, Giske CG, et al. Multidrug-resistant, extensively drug-resistant and pandrug-resistant bacteria: an international expert proposal for interim standard definitions for acquired resistance. Clin Microbiol Infect. 2012;18(3):268-81.
Lim C, Takahashi E, Hongsuwan M, Wuthiekanun V, Thamlikitkul V, Hinjoy S, et al. Epidemiology and burden of multidrug-resistant bacterial infection in a developing country. Elife. 2016;5.
กลุ่มงานด้านการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล. สถิติงานด้านการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล: โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง; 2564.
Arias-Ortiz PM, Calderón LD, Castillo JS, Moreno J, Leal AL, Cortés JA, et al. [Risk factors for methicillin-resistant Staphylococcus aureus bacteremia: A multicenter matched case-control study]. Biomedica. 2016;36(4):612-9.
Tenney J, Hudson N, Alnifaidy H, Li JTC, Fung KH. Risk factors for aquiring multidrug-resistant organisms in urinary tract infections: A systematic literature review. Saudi Pharm J. 2018;26(5):678-84.
El Mekes A, Zahlane K, Ait Said L, Tadlaoui Ouafi A, Barakate M. The clinical and epidemiological risk factors of infections due to multi-drug resistant bacteria in an adult intensive care unit of University Hospital Center in Marrakesh-Morocco. J Infect Public Health. 2020;13(4):637-43.
Medina E, Pieper DH. Tackling Threats and Future Problems of Multidrug-Resistant Bacteria. Curr Top Microbiol Immunol. 2016; 398:3-33.
Vinaik R, Barayan D, Shahrokhi S, Jeschke MG. Management and prevention of drug resistant infections in burn patients. Expert Rev Anti Infect Ther. 2019;17(8):607-19.
Kanoksil M, Jatapai A, Peacock SJ, Limmathurotsakul D. Epidemiology, microbiology and mortality associated with community-acquired bacteremia in northeast Thailand: a multicenter surveillance study. PLoS One. 2013;8(1):e54714.
Sharma A, Kalita JM, Nag VL. Screening for Methicillin-resistant Staphylococcus aureus Carriage on the Hands of Healthcare Workers: An Assessment for Hand Hygiene Practices. Indian J Crit Care Med. 2019;23(12):590-2.
Hair Jr JF, Hult GTM, Ringle C, Sarstedt M. A primer on partial least squares structural equation modeling (PLS-SEM): Sage publications; 2016.
Tvedt C, Sjetne IS, Helgeland J, Løwer HL, Bukholm G. Nurses' reports of staffing adequacy and surgical site infections: A cross-sectional multi-centre study. Int J Nurs Stud. 2017;75: 58-64.
Jara MC, Frediani AV, Zehetmeyer FK, Bruhn FRP, Müller MR, Miller RG, et al. Multidrug-Resistant Hospital Bacteria: Epidemiological Factors and Susceptibility Profile. Microb Drug Resist. 2021;27(3):433-40.
Wang Z, Xia Z. What we can do? The risk factors for multi-drug resistant infection in pediatric intensive care unit (PICU): a case-control study. Ital J Pediatr. 2020;46(1):17.
Huang H, Chen B, Liu G, Ran J, Lian X, Huang X, et al. A multi-center study on the risk factors of infection caused by multi-drug resistant Acinetobacter baumannii. BMC Infect Dis. 2018;18(1):11.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการและการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช เล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยฯ และคณาจารย์ท่านอื่นในวิทยาลัย ฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่อง เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว