ผลของการให้ข้อมูลอย่างเป็นระบบต่อความวิตกกังวลของมารดาที่ทารกมีภาวะ ตัวเหลืองและได้รับการรักษาด้วยการส่องไฟ ห้องผู้ป่วยหนักเด็ก โรงพยาบาลบ้านโป่ง
คำสำคัญ:
การให้ข้อมูลอย่างเป็นระบบ, ทารกมีภาวะตัวเหลือง, การรักษาด้วยการส่องไฟบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงกึ่งทดลอง กลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้ข้อมูลอย่างเป็นระบบต่อความวิตกกังวลของมารดาที่ทารกมีภาวะตัวเหลืองและได้รับการรักษาด้วยการส่องไฟ ห้องผู้ป่วย หนักเด็ก โรงพยาบาลบ้านโป่ง โดยประยุกต์ทฤษฎีการสื่อสารของเบอร์โลเป็นแนวทางการให้ข้อมูลอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วย 1) ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้วิจัย 2) ข้อมูล เนื้อหา เกี่ยวกับภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด 3) ช่องทางการให้ข้อมูล ได้แก่ การให้ข้อมูลแบบตัวต่อตัว การใช้สื่อแผ่นพับ และ 4) ผู้รับข้อมูล ได้แก่ มารดาที่ทารกมีภาวะตัวเหลืองและได้รับการรักษาด้วยการส่องไฟ กลุ่มตัวอย่าง เป็นมารดาที่ทารกมีภาวะตัวเหลืองและได้รับการรักษาด้วยการส่องไฟ จำนวน 30 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณาและสถิติ t-test ผลการวิจัย พบว่า 1) ก่อนได้รับการให้ข้อมูลอย่างเป็นระบบมารดามีความวิตกกังวลในระดับมาก ( = 3.16, SD= 0.18 หลังการให้ข้อมูลอย่างเป็นระบบ มีความวิตกกังวลในระดับปานกลาง ( = 2.27, SD= 0.31). 2) เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวล ก่อนและหลังได้รับการให้ข้อมูลอย่างเป็นระบบ พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 14.37, p = 0.000)
Downloads
References
ปิติพร ศิริพัฒนพิพงษ์. ภาวะตัวเหลืองที่สัมพันธ์กับการกินนมแม่. กรุงเทพฯ: บริษัทภาพพิมพ์จำกัด; 2561.
Cunningham MD, Eyal FG, Zenk KE. Hyperbilirubinemia. New York: McGraw-Hill Companies; 2004.
Lain SJ, Roberts CL, Bowen JR, Nassar N. Early discharge of infants and risk of readmission for jaundice. Pediatrics 2015; 135(2): 314-21.
วิพัฒน์ เจริญศิริวัฒน์ และกฤตยา นครชัย. การศึกษาผลการรักษาทารกแรกเกิด 60 รายที่มีปัญหาตัวเหลืองในโรงพยาบาลเลิดสินด้วยเครื่องส่องไฟแบบ LED (T8) ขนาด 9 วัตต์เปรียบเทียบกับส่องด้วยหลอดฟลูออเรสเซนต์ (T8) ขนาด 18 วัตต์. วารสารกุมารเวชศาสตร์. 2562; 58(2): 80-86.
กรรณิการ์ วิจิตรสุคนธ์. การพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลือง. ใน: ศรีสมบูรณ์ มุสิกสุคนธ์, ฟองคำ ดิลกสกุลชัย, วิไล เลิศธรรมเทวี, อัจฉรา เปรื่องเวทย์, พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม และสุดาภรณ์ พยัคฆเรือง. (บรรณาธิการ). ตำราการพยาบาลเด็ก. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด พรี-วัน; 2555. หน้า 378-392.
Janet R, Shona B, Murphy MS. Neonatal jaundice summary of NICE guidance. British Medical Journal. 2010; 340: 1190-1196.
Boo NY, Chew EL. A randomised control trial of clingfilm for prevention of hypothermia in term infants during phototherapy. Singapore Medical Journal. 2006; 47(9): 757-762.
Spielberger CD. Manual for the state-trait anxiety inventory. (STAI) form Y: Self-evaluation questionnaire.1983.
รายงานตัวชี้วัด ห้องผู้ป่วยเด็กวิกฤติ โรงพยาบาลบ้านโป่ง. กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี (เอกสารไม่มีตีพิมพ์). 2562.
สิริกัญญา เกษสุวรรณ. ปัจจัยทำนายการมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลทารกแรกเกิดตัวเหลืองที่ได้รับการรักษาด้วยการส่องไฟ. [วิทยานิพนธ์]. ชลบุรี:มหาวิทยาลัยบูรพา; 2561.
วรรษมน ปาพรม. ผลของโปรแกรมสนับสนุนและแอปพลิเคชันให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองและได้รับการรักษาโดยการส่องไฟ. สงขลานครินทร์เวชสาร. 2561; 38(3): 167-178.
นันทัชพร ขุมทอง, วรรณา พาหุวัฒนกร, เยาวลักษณ์ เสรีเสถียร, และฉวีวรรณ อยู่สำราญ. ผลของโปรแกรมการพยาบาลเพื่อลดความเครียดต่อความเครียดของมารดาหลังคลอดที่บุตรได้รับการรักษาด้วยการส่องไฟ. วารสารสภาการพยาบาล. 2556; 28(2): 88-97
Berlo DK. The Process of Communication: An Introduction to Theory and Practice. New York; 1960.
Polit DF, Beck CT. Nursing Research: Principles and Methods. 7th Edition, Lippincott Williams & Wilkins, Philadelphia; 2004.
Spielberger CD, Gorsuch RL, Lushene R, Vagg PR, Jacobs G.A. Manual for the State-Trait Anxiety Inventory. Palo Alto, CA: Consulting Psychologists Press; 1983.
Spielberger CD, Sarason IG. Stress and emotion anxiety, anger and curiosity. London: Hemisphere; 1991.p. 336
อรุณ ดวงประสพสุข และโสพิศ สุมานิต. ผลของการให้ข้อมูลอย่างเป็นระบบและการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองผู้ป่วยเด็กวิกฤต หอผู้ป่วยเด็กวิกฤต (PICU) โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2557; 28(4): 867-872.
ฐิติมา วัฒนเสรีเวช. ผลการให้ข้อมูลแบบรูปธรรมปรนัยก่อนการเข้าเยี่ยมผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤตเด็กครั้งแรกต่อความวิตกกังวลของมารดา. [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2559.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการและการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช เล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยฯ และคณาจารย์ท่านอื่นในวิทยาลัย ฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่อง เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว