การเปรียบเทียบผลการผ่าตัดรักษาภาวะนิ่วในถุงน้ำดีระหว่างการผ่าตัดแบบเปิดและการผ่าตัดแบบส่องกล้องในโรงพยาบาลมะการักษ์

ผู้แต่ง

  • กำพล พฤกษาอุดมชัย โรงพยาบาลมะการักษ์ จังหวัดกาญจนบุรี

คำสำคัญ:

ภาวะแทรกซ้อนการผ่าตัดถุงน้ำดี, การผ่าตัดถุงน้ำดี, โรงพยาบาลมะการักษ์

บทคัดย่อ

การศึกษาแบบย้อนหลัง (Retrospective cohort study) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการผ่าตัดรักษาภาวะนิ่วในถุงน้ำดีระหว่างการผ่าตัดแบบเปิดและการผ่าตัดแบบส่องกล้อง ในโรงพยาบาลมะการักษ์ โดยประเมินจากการเกิดภาวะแทรกซ้อน และระยะเวลานอนโรงพยาบาล รวบรวมข้อมูล จากเวชระเบียน เกี่ยวกับวัสดุและวิธีการผ่าตัดผู้ป่วยที่มาผ่าตัดถุงน้ำดี ในช่วงเวลา 12 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ มกราคม พ.ศ. 2551 ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2562 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Odd ratio และ independent T- test ผลการศึกษา พบว่า มีผู้ป่วยผ่าตัดถุงน้ำดี 511 ราย แบ่งเป็นการผ่าตัดถุงน้ำดีแบบเปิด 255 ราย ผ่าตัดถุงน้ำดีแบบส่องกล้อง 249 ราย และผ่าตัดแบบเปิดและตัดถุงน้ำดีบางส่วน 7 ราย ผู้ป่วยเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชายทั้งสองวิธี อายุเฉลี่ยของผู้ที่รับการผ่าตัดถุงน้ำดีแบบเปิด และแบบส่องกล้อง เท่ากับ 50.73 ปี และ 48.79 ปี ระยะเวลานอนโรงพยาบาลโดยเฉลี่ย ระหว่างวิธีการผ่าตัดถุงน้ำดีแบบเปิดและแบบส่องกล้องมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.00)  ภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด ที่พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ ภาวะปอดบวม ภาวะไตอักเสบเฉียบพลัน และ ภาวะนิ่วตกค้างในทางเดินน้ำดี โดยพบในการผ่าตัดแบบเปิดสูงกว่าการผ่าตัดแบบส่องกล้อง (p< 0.00) ส่วนภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น อวัยวะข้างเคียงอื่นบาดเจ็บ การผ่าตัดซ้ำภายใน 1 สัปดาห์ ภาวะเลือดออกที่บริเวณแผลผ่าตัด การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ การเกิดลิ่มเลือดอุดตันที่ขา ภาวะตับอ่อนอักเสบ การติดเชื้อที่แผลผ่าตัด ภาวะทางเดินน้ำดีบาดเจ็บและภาวะทางเดินน้ำดีอักเสบ พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในการผ่าตัดทั้งสองวิธี

Downloads

Download data is not yet available.

References

Milson JW, B hm B, editors. History of laparoscopic surgery. New York: Springer, 1996.

Weeks JC, Nelson H, Gelber S, et al. Short-term quality-of-life outcomes following laparoscopic-assited colectomy vs open colectomy for colon cancer: a randomized trial. JAMA 2002;287(3):321-8.

ยศ ตีระ วัฒนานนท์ , สัญญา ศรีรัตนะ, และคณะ. ต้นทุนอรรถประโยชน์ของการผ่าตัดดัวยกล้องเปรียบเทียบกับการผ่าตั่ดแบบเปิดในการรักษานิ่วในถุงน้ำดีข้อมูลสาหรับระบบประกันสุขภาพในประเทศไทย. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2548;14(3):464-74.

งามพิศ ธนไพศาล การผ่าตัดถุงน้ำดีผ่านกล้องวีดีทัศน์ แผนกการพยาบาลห้องผ่าตัด งานบริการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศรีนครินทร์เวชสาร 2546;18(2) 110-117.

โรคปอดอักเสบ สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข เข้าถึงได้จาก http://www.boe.moph.go.th/fact/Pneumonia.htm

ปิยรัตน์ สุรพฤกษ์ ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำชั้นลึก วารสารเทคนิคการแพทย์เชียงใหม่ ปีที่33 ฉบับที่1 มกราคม 2543.

Mark W. Jones; Jeffrey G. Deppen. Open cholecystectomy April 27 2020, StatPearls Publishing LLC.

พิพัฒน์ จิรพงศธร พ.บ.การศึกษาผลการผ่าตัดถุงน้ำดีด้วยการส่องกล้อง โรงพยาบาลพระปกเกล้ากลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลพระปกเกล้าวารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า ปีที่ 34 ฉบับที่ 4 ต.ค. - ธ.ค. 2560

Ioannis Triantafyllidis, MD Complications of Laparoscopic Cholecystectomy: Our Experience in a District General Hospital Surgical Laparoscopy, Endoscopy & Percutaneous Techniques: December 2009 - Volume 19 - Issue 6 - p 449-458

ศักดิ์ชาย เรืองสิน ผลการผ่าตัดของผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดถุงน้ำดีโดยวิธีการส่องกล้องในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ Songkla Med J Laparoscopic cholecystectomy Vol. 25 No. 4 Jul.-Aug. 2007

Anshuman AashuA prospective study of different complications following laparoscopic cholecystectomy in a tertiary care hospital in Eastern India ISJ international surgery journal vol3 ,4 November 2016 เข้าถึงได้โดยhttps://www.ijsurgery.com/index.php/isj/article/view/160

Miodrag RadunovicComplications of Laparoscopic Cholecystectomy: Our Experience from a Retrospective Analysis Open Access Maced J Med Sci. 2016 Dec 15; 4(4): 641–646.Published online 2016 Nov 9

ปิว วุฒิจริยากุล. ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดถุงน้ำดีโรงพยาบาลบ้านโป่ง วารสารแพทย์เขต 6-7 ปี24 ฉบับที่3 กค.-กย. 2548.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-13