การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนโรคไตเรื้อรัง โดยใช้การสนทนาเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ

ผู้แต่ง

  • บังอร การวัฒนี โรงพยาบาลเสนา

คำสำคัญ:

โรคไตเรื้อรัง, การสนทนาเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ

บทคัดย่อ

ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง มีอัตราการกรองของไตลดลงจากการได้รับยากลุ่ม NSAIDs และสมุนไพร หากไม่ได้รับความรู้ ไม่ได้รับการประเมินปัญหาและแก้ไขได้ทันท่วงที การดำเนินของโรครุนแรงขึ้น อาจก่อให้เกิดความสูญเสียและต้องทำการล้างไตไปตลอดชีวิต พยาบาลมีบทบาทและหน้าที่สำคัญในการจัดการเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพของผู้รับบริการเป็นรายบุคคล ซึ่งทั้งนี้จะต้องสามารถค้นหาปัญหาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการได้ครอบคลุม พยาบาลจึงต้องมีกรอบการทำงานที่ได้มาจากแนวคิด ทฤษฎีทางการพยาบาลและความรู้สาขาต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนโรคไตเรื้อรังโดยประยุกต์ใช้การสนทนาเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ เพื่อค้นหาปัญหาและความต้องการ เลือกวิธีการปรับพฤติกรรมตามบริบทของบุคคล ครอบครัว ได้อย่างเหมาะสม การปรับพฤติกรรมเพื่อให้เกิดความยั่งยืน ผู้ป่วยปลอดภัย ปฏิบัติตัวได้ถูกต้องและเหมาะสมกับโรคที่เป็นอยู่ สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข

Downloads

Download data is not yet available.

References

ประเสริฐ ธนกิจจารุ. Current situation of chronic kidney diease in Thailand สถานการณ์ปัจจุบันของโรคไตเรื้อรังในประเทศไทย.วารสารกรมการแพทย์. 2558; 40(5):5-18.

พงศธร คชเสนี และ เกรียง ตั้งสง่า. ระบาดวิทยาของโรคไตเรื้อรังและขอบข่ายของปัญหาในประเทศไทย ความรุนแรงของโรคและผลกระทบทางเศรษฐกิจ. ใน: สุรศิกดิ์ กันตชูเวสศิริ, บรรณาธิการ. ตำราโรคไตเรื้อรัง. กรุงเทพฯ: เท็กซ์ แอนด์เจอร์นัล พับลิชั่น; 2559. หน้า 3-25.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข ปี 2561.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

Asong W. Factors influencing dietary and fluid consumption behaviors among patients with chronic kidney disease. Chon Buri: Burapha University; 2015.

Sanders KA, Whited A, Martino S. Motivational interviewing for patients with chronic kidney disease. Semin Dial. 2013; 26(2): 175-9.

Mehta S, Cameron K, Battistella M. Motivational interviewing: Application to end stage renal disease patients. CANNT Journal. 2014; 24(4): 19-24.

Martino S. Motivational interviewing to engage patients in chronic kidney disease management. Blood Purif. 2011; 31(1-3): 77-81.

โรงพยาบาลเสนา. สถิติผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง. ปี 2561-2562.

อรนันท์ หาญยุทธ. กระบวนการพยาบาลและการนำไปใช้. วารสารพยาบาลทหารบก. 2557;15(3):137-143.

เทอดศักดิ์ เดชคง. สนทนาสร้างแรงจูงใจเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ สำหรับผู้ป่วย NCD

(Motivational Interviewing for NCDs; MI NCDs). บริษัท บียอนด์พับลิสชิ่ง จำกัด; 2660.

พรศิริ พันธสี. กระบวนการพยาบาลและแบบแผนสุขภาพ: การประยุกต์ใช้ทางคลินิก. กรุงเทพฯ: พิมพ์อักษร. 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-25