ระดับพฤติกรรมด้านสุขภาพ ตามหลัก 3อ. 2ส.และพฤติกรรมสุขอนามัยของประชาชนแต่ละกลุ่มวัย อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม พ.ศ.2563

ผู้แต่ง

  • สายันต์ มั่นใจจริง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอดอนตูม

คำสำคัญ:

พฤติกรรมด้านสุขภาพ, หลัก 3อ. 2ส., พฤติกรรมสุขอนามัย, ประชาชนแต่ละกลุ่มวัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาระดับพฤติกรรมด้านสุขภาพ ตามหลัก 3อ. 2ส. และพฤติกรรมสุขอนามัยของประชาชนแต่ละกลุ่มวัย อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม ปี พ.ศ.2563 กลุ่มตัวอย่าง คือประชาชนแต่ละกลุ่มวัย จำนวน 1,758 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์ ความถี่ ร้อยละ ผลการวิจัย พบว่าในกลุ่มอายุ 1 - 4 ปี และ 5 - 14 ปี ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ถูกต้องตามเกณฑ์ แต่ในเรื่องการรับประทานผักและผลไม้ยังต่ำกว่าเกณฑ์ มีพฤติกรรมการออกกำลังกายและพฤติกรรมด้านอารมณ์ได้ตามเกณฑ์ แต่ในส่วนของพฤติกรรมสุขอนามัยส่วนบุคคล ส่วนใหญ่ยังไม่ได้ตามเกณฑ์ โดยเฉพาะการรับประทานอาหารโดยใช้ช้อนกลางส่วนตัว และการล้างมือด้วยสบู่ก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง ในส่วนของกลุ่มอายุ 15 - 19 ปี และ 20 - 59 ปี ยังพบว่ามีพฤติกรรมในการไม่ได้ควบคุมปริมาณอาหารและควบคุมรสอาหาร ไม่ให้หวาน มัน เค็มจัด ทุกมื้อ อยู่จำนวนมาก การรับประทานผักและผลไม้ก็ยังน้อยอยู่ ในของส่วนพฤติกรรมการออกกำลังกาย และพฤติกรรมด้านอารมณ์ ส่วนใหญ่ยังไม่ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด พฤติกรรมการสูบบุหรี่และดื่มสุรา ก็ยังพบได้ประมาณ ร้อยละ 20.00 พฤติกรรมสุขอนามัยส่วนบุคคล ส่วนใหญ่ปฏิบัติได้ตามเกณฑ์ ยกเว้น การรับประทานอาหารโดยใช้ช้อนกลางส่วนตัว และการล้างมือด้วยสบู่ก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง ในส่วนกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป พบว่า มีพฤติกรรมในการควบคุมปริมาณอาหารและควบคุมรสอาหาร ไม่ให้หวาน มัน เค็มจัด ทุกมื้อ และการรับประทานผักและผลไม้ ได้ค่อนข้างดี  ส่วนพฤติกรรมการออกกำลังกาย และพฤติกรรมด้านอารมณ์ ส่วนใหญ่ยังไม่ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด   ในส่วนของพฤติกรรมการสูบบุหรี่และดื่มสุรา ยังพบได้ประมาณ ร้อยละ 10.00 และในส่วนพฤติกรรมสุขอนามัยส่วนบุคคล ส่วนใหญ่ยังปฏิบัติไม่ได้ตามเกณฑ์

Downloads

Download data is not yet available.

References

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม. สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ปี พ.ศ. 2559-2563. [สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2563]. สืบค้นจาก https://npt.hdc.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php.

ณฐินี พงศ์ไพฑูรย์สิน, อภิชา น้อมศิริ,และงามจิต คงสุผล. พฤติกรรมสุขภาพ (3อ.2ส.) และแนวทางการจัดการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับบุคลากรสายสนับสนุน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2563; 3(2):95-108.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. Determining sample sizes for research activities. Educational and Psychological Measurement. 1979; 30: 607-610.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการประเมินความรอบรู้ด้าน สุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนกลุ่มเป้าหมายการดำเนินงาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560. กรุงเทพมหานคร : นิวธรรมดาการพิมพ์; 2560.

มินตรา สาระรักษ์, ฐิติรัช งานฉมัง และนันทยา กระสวยทอง. ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุตำบลคำขวาง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2563; 35(3): 303-310.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-25