ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตวิถีใหม่ในการป้องกันโรคโควิด-19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • อภิชัย สังข์ผาด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี
  • พัทธวรรณ ชูเลิศ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

ความรู้, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, ชีวิตวิถีใหม่, โรคโควิด-19

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตวิถีใหม่ในการป้องกันโรคโควิด -19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน  เขต อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี และความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และพฤติกรรมการดูแลตัวเองเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตวิถีใหม่ในการป้องกันโรคโควิด-19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เขต อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน  เขต อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 400 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตวิถีใหม่เพื่อป้องกันโรคโควิด-19  แบบสอบถามความรู้ หาค่าความเชื่อมั่นโดยคูเดอร์ –ริชาร์ดสัน (KR20) ได้เท่ากับ 0.72 และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองหาค่าความเชื่อมั่นโดยสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’ Alpha Coefficient) เท่ากับ .70 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 96 มีคะแนนความรู้เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตวิถีใหม่เพื่อป้องกันโรคโควิด-19 อยู่ในระดับสูง โดยมีคะแนนระหว่าง 16-19 คะแนนจากคะแนนเต็ม 20 คะแนน และมีพฤติกรรมการดูแลตนเองเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตวิถีใหม่เพื่อป้องกันโรคโควิด-19 อยู่ในระดับดี ( = 3.58; SD = 0.54) และพบว่า ความรู้ไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กับพฤติกรรมการดูแลตนเองในการใช้ชีวิตวิถีใหม่เพื่อป้องกันโรคโควิด-19  (r= .037, p> 0.05)

Downloads

Download data is not yet available.

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. แผนยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ : สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข; 2559.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. คู่มืออสม. ยุคใหม่.กรุงเทพฯ :ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2554.

สาธิต ปิตุเตชะ. องค์การอนามัยโลก ชม ‘อสม.ไทย’ เป็นพลังฮีโร่เงียบ ‘สู้โควิด-19’. [อินเตอร์เน็ต]. (ม.ป.ท). [เข้าถึงเมื่อ 3 กันยายน 2563.] เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2020/04/18972

กิตติพร เนาว์สุวรรณ นภชา สิงห์วีรธรรม และนวพร ตำแสงสวัสดิ์. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของโรคต่อบทบาทการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในประเทศไทย. วารสารสถาบันบำราศนราดูร 2563;14(2): 92-103.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. คู่มืออสม.ประจำบ้าน. นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข ; 2562.

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. ทศวรรษที่ 4 ของสาธารณสุขมูลฐานไทยกับอนาคตอสม.[อินเตอร์เน็ต]. (ม.ป.ท). [เข้าถึงเมื่อ 3 กันยายน 2563]. เข้าถึงได้จาก:

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี.รายงานจำนวน อสม.ที่มีสิทธิรับค่าป่วยการจังหวัดเพชรบุรี. [อินเตอร์เน็ต]. (ม.ป.ท). [เข้าถึงเมื่อ 3 กันยายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaiphc.net/thaiphcweb/index.php?r=staticContent/show&id=

บดินทร์ ชาตะเวที. พฤติกรรม กับ ชีวิตวิถีใหม่ : New Normal . [อินเตอร์เน็ต]. (ม.ป.ท). [เข้าถึงเมื่อ 3 กันยายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ttmed.psu.ac.th/blog.php?p=258

Orem D.E. Nursing: concept of practices. (6thed.) St. Louis MO: Mosby; 2001

Yamane, T. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Edition, Harper and Row, New York; 1973.

สมใจ จางวาง เทพกร พิทยภินัน และนิรชร ชูติพัฒนะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของประชาชนกลุ่มเสี่ยง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2559; 3(1): 110-28.

ระวิ แก้วสุกใส พรทิวา คงคุณ บุญยิ่ง ทองคุปต์ ลุตฟี สะมะแอ และ สกุณา บุญนรากร. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และการรับรู้กับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตแบบวิถีใหม่เพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของประชาชนจังหวัดนราธิวาส.วารสารเครือข่ายทางการพยาบาลและสาธารณสุขภาคใต้; 2564.8(2) : 67-79.

กองสุขศึกษา.แนวทางการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพในตำบลจัดการสุขภาพ. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2558.

ธานี กล่อมใจ จรรยา แก้วใจบุญ ทักษิกา ชัชชวรัตน์. ความรู้และพฤติกรรมของประชาชนเรื่องการป้องกันตนเอง จากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019.วารสารการ พยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา. 2563; 21(2): 29-39.

นภชา สิงห์วีรธรรม วัชรพล วิวรรศน์ เถาว์พันธ์ กิตติพร เนาว์สุวรรณ เฉลิมชัย เพาะบุญ และสุทธิศักดิ์ สุริรักษ์.การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของทันตาภิบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารสถาบันบำราศนราดูร. 2563; 14(2): 104-15.

บงกช โมระสกุล และพรศิริ พันธสี.ความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา และวิทยาลัยเซนต์หลุยส์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 2564; 15(37):179-95.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-22