การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเป็นหุ้นส่วนทางการพยาบาล: การศึกษาวิจัยแบบพหุกรณี

ผู้แต่ง

  • อุษา คงคา่ งานห้องคลอด โรงพยาบาลกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

คำสำคัญ:

ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด, การเป็นหุ้นส่วนทางการพยาบาล

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด และนำความรู้ที่ได้จากการศึกษามาพัฒนารูปแบบการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ให้ครอบคลุมทุกมิติ ทำการศึกษา โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบพหุกรณี (the multiple case study design) โดยมีการประเมินความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด จำนวน 2 กรณีศึกษา เก็บข้อมูลเชิงลึกเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขความเสี่ยง รวมทั้งมีการเก็บข้อมูลทางโทรศัพท์การติดตามเยี่ยมที่บ้าน การสอน การสังเกตตัวเองของกรณีศึกษาและการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดภาวะเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2564 - 31 กรกฎาคม 2564  โดยกรณีศึกษาที่ 1 ผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 39 ปี อายุครรภ์ 35+4 สัปดาห์ (G2P1) มาด้วยอาการท้องแข็ง และมูกเลือดออกทางช่องคลอด กรณีศึกษาที่ 2 ผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 24 ปี อายุครรภ์ 34+6 สัปดาห์ (G1P0) มาด้วยอาการมูกเลือดออกทางช่องคลอด เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูล รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยในการพยาบาล การสัมภาษณ์  การตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (content  analysis) เปรียบเทียบ พยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง การรักษา ปัญหาและข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล ตลอดจนการติดตามเยี่ยมทางโทรศัพท์เมื่อกลับบ้าน  ผลการศึกษา พบว่า การใช้กระบวนการพยาบาลร่วมกับการประยุกต์ทฤษฎีการเป็นหุ้นส่วนทางการพยาบาลมาใช้ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดร่วมกับการรักษาของแพทย์ ทำให้หญิงตั้งครรภ์สามารถกำหนดแนวทางในการแก้ไขและลดความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดได้ด้วยตนเอง ส่งผลให้หญิงตั้งครรภ์สามารถตั้งครรภ์จนครบกำหนดคลอด

Downloads

Download data is not yet available.

References

American College of Obstetricians and Gynecologists. Preterm (Premature) labor and birth November. 2016. [cited 2022 25 Mar]. Available from: https://www.acog. org/Patients/FAQs/Preterm-Premature-Labor-and Birth.

The American College of Obstetricians and Gynecologists. Practice Bulletin No. 130: prediction and prevention of preterm birth. Obstet Gynecol. 2012; 120: 964-73.

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แบบรายงานการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ประเด็นที่ 3 สุขภาพกลุ่มวัย หัวข้อ 3.1 สุขภาพแม่และเด็ก เขตสุขภาพที่ 5 รอบที่ 2/2563 (เข้าถึงเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2565). เข้าถึงได้จาก: https://apps.hpc.go.th/dl/web/upFile/2020/07-4052 20200707114121/15d3d74cafe01e4427001553cad2bfff.pdf

คณะอนุกรรมการอนามัยแม่และเด็ก. แนวทางเวชปฏิบัติ ของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การดูแลรักษาภาวะเจ็บครรภ์คลอด และถุงน้ำคร่ำรั่วก่อนกำหนด RTCOG Clinical Practice Guideline The Management of Preterm Labour and Preterm Premature Rupture of Membranes เอกสารหมายเลข OB 014: 2556-2558. 2558;15-41.

ชฎารัตน์ แก้วเวียงเดช, บัวสอน วระโพธิ์, พรรณยุพา เนาว์ศรีสอน, วราพร มีแก้ว, ชนิกา ทองอันตัวชง. การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายหญิงตั้งครรภ์ ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด โรงพยาบาลอำนาจเจริญ. วารสารสหเวชศาสตร์. 2564; 6: 77-89.

นวรัตน์ ไวชมภู, อาภรณ์ คงช่วย. การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายหญิงตั้งครรภ์ที่เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2558; 2: 114-28.

สุรีพร กัฬหะสุต, พนิดา เชียงทอง, สุรัชนา พงษ์ปรสุวรรณ์, นุชมาศ แก้วกุลฑล, ศุจิรัตน์ ศรีทองเหลือง.

ผลของโปรแกรมลดสิ่งก่อความเครียดร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมต่อความเครียดและอายุครรภ์เมื่อคลอดของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ที่เข้ารับการรักษาในห้องคลอด โรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2565; 16: 59-74.

กมลทิพย์ ชลังธรรมเนียม. การนำใช้แนวคิดหุ้นส่วนสุขภาพในการดูแลสุขภาพ: บทบาทพยาบาล. วารสารพยาบาลสารธารณสุข. 2559; 30: 125-32.

พรศิริ พันธสี. กระบวนการพยาบาลและแบบแผนสุขภาพ: การประยุกต์ใช้ทางคลินิก. กรุงเทพฯ: พิมพ์อักษร; 2558.

ฐิรวรรณ บัวแย้ม. การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. Rama Nurs Journal. 2019; 25: 243-54.

ปิยะพร กองเงิน, วิไลลักษณ์ วงศ์อาษา, กาญจนา สมบัติศิรินันท์. ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจแก่สตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง ในการคลอดก่อนกำหนดและสามีต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ จำนวนของการคลอดก่อนกำหนด และทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย. วารสารสภาการพยาบาล. 2559; 31: 67-82.

เฟื่องลดา ทองประเสริฐ. ยาที่ใช้ยับยั้งการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. (เข้าถึงเมื่อ 25 มีนาคม 2565). เข้าถึงได้จาก https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lessons/tocolytic-drugs-for-preterm-labor/retive 20/3/65

ศิริวรรณ แสงอินทร์. การพยาบาลมารดาที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2557; 22: 27-38.

Nilsson C, Lundgem I, Karlstrom A, Hildingsoon I. Self-reported fear of childbirth and its association with women’s birth experience and mode of delivery: A longitudinal population-based study. Women and Birth 2011; 25: 114-21.

เบญจวรรณ ละหุการ, วลัยลักษณ์ สุวรรณภักดี, ทัศณีย์ หนูนารถ, มลิวัลย์ บุตรดำ. ความเครียดในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 2563; 10: 1-14.

กรรณิกา เพ็ชรักษ์, อุตม์ชญาน์ อินทเรือง, ฝนทอง จิตจำนง. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การคอดก่อนกำหนดและพฤติกรรมการป้องกันการคลอดก่อนกำหนดในมารดาหลังคลอด. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2562; 34: 88-100.

อัสมะ จารู, วรางคณา ชัชเวช, สุรีย์พร กฤษเจริญ. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่ประสบความสำเร็จในการยับยั้งการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2562; 39: 79-92.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-14