ผลของการใช้นวัตกรรมผ้าพยุงลดปวดหลังต่ออาการปวดหลังส่วนล่างของ คนกลุ่มวัยทำงาน

ผู้แต่ง

  • ดร.พิมพ์ลดา อนันต์สิริเกษม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • วรวรรณ หล่าจันทร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • วริศรา สาระสาลิน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ศรันย์รักษ์ สุขอินทร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ศรีวัชรินทร์ เหลาโชติ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ศิริวิมล โดดเนียม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • โศรดา เกษมลักษณ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • สมจิตร ถนอมจิตร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

ประคบร้อนสมุนไพร, อาการปวดหลังส่วนล่าง

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (quasi-experimental research design) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานวัตกรรมผ้าพยุงลดปวดหลังเพื่อลดอาการปวดหลังของกลุ่มวัยทำงาน กรณีศึกษากลุ่มวัยทำงานอายุ 20 – 60 ปี จำนวน 15 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผ้าพยุงลดปวดหลังร่วมกับสมุนไพร แบบประเมินระดับความเจ็บปวดของอาการปวดหลัง และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้ผ้าพยุงลดปวดหลัง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t – test  ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยระดับความเจ็บปวดของอาการปวดก่อนใช้นวัตกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.00 หลังใช้นวัตกรรมทันทีมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.80 หลังใช้นวัตกรรม 15 , 30 , 45 , 60 นาทีมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.43 และ คะแนนเฉลี่ยระยะเวลาการกลับมาปวดหลังซ้ำภายหลังการใช้นวัตกรรม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.80 ชั่วโมง คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมผ้าพยุงลดปวดหลังเท่ากับ 4.72 อยู่ในระดับมากที่สุด ข้อจำกัดในของนวัตกรรมคือ สมุนไพรเก็บความร้อนได้ประมาณ 30 นาที จึงควรเพิ่มวัสดุเก็บความร้อน เพื่อให้นวัตกรรมสามารถใช้งานได้นานมากกว่า 1 ชั่วโมง ร่วมกับการปรับเปลี่ยนวัสดุ หรือรูปแบบเพื่อให้มีความสวยงามมากขึ้น สามารถสวมใส่ขณะทำกิจวัตรประจำวันได้

Downloads

Download data is not yet available.

References

สุนิสา ชายเกลี้ยง. การปวดหลังจากการทำงาน : ภัยเงียบใกล้ตัวที่คุณควรรู้. บทความปริทัศน์. วารสารวิจัยคณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2552; 2(3): 47-54.

อรพันธ์ อันติมานนท์ และคณะ. ภาระโรคปวดหลังในผู้ประกอบอาชีพ. วารสารควบคุมโรค 2559; 42(2):119-29.

ศิวรี เอี่ยมฉวี. ผลทันทีของการนวดไทยแบบราชสำนักในผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างแบบเรื้อรัง (โรคลมปลายปัตคาต). วารสารหมอยาไทยวิจัย. 2559; 2(1): 3-4.

โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน.กระทรวงสาธารณสุข. การประคบสมุนไพร.[อินเตอร์เน็ต]. เผยแพร่ 9 สิงหาคม 2562. เข้าถึงเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2563.เข้าถึงได้จาก: https://ttcmh.dtam.moph.go.th/index.php/knowledge/research/27-herbal01.html

ณิชาภา พาราศิลป์ ศิรินทิพย์ คำฟู และอรรจน์มน ธรรมไชย. การเปรียบเทียบผลของแผ่นประคบร้อนสมุนไพรไทยและแผ่นประคบร้อนในการรักษาผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง: การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2560; 32(4): 372- 8.

Kolcaba K. Holistic comfort : operationalizing the construct as a nurse-sensitive outcome. Adv Nurs Sci. 1992; 5(1):1-10.

ปรารถนาพร จีนประโคนและกัลยา ปานะโปย. ผลการใช้เสื้อพยุงหลังเพื่อลดการใช้ยากลุ่มแก้ปวดในเกษตรกรผู้ปลูกมันสาปะหลังบ้านซับคะนิง ตำบลโนนดินแดง อำเภอโนนดินแดงจังหวัดบุรีรัมย์. ผลงานวิชาการดีเด่น กระทรวงสาธารณสุข. 2555: 281-88.

สุกัญญา อังศิริกุล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2559; 24(1): 40-1

ประภัสรา ยืนยง. ผลการใช้ถุงประคบสมุนไพรลดอาการปวดเข่าในผู้สูงอายุ. เอกสารงานวิจัยด้านแพทย์แผนไทย. [อินเตอร์เน็ต]. 2560. เข้าถึงเมื่อ 1 ก.พ. 2563. เข้าถึงได้จาก : https://skko.moph.go.th//dward/web/index.php?module=ttm.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-24