ประเมินผลการดำเนินงาน NCD Clinic Plus จังหวัดนครปฐม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

ผู้แต่ง

  • ประไพ โพธิ์รักษา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม

คำสำคัญ:

การประเมินผลรูปแบบ CIPP Model, NCD Clinic Plus

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงาน NCD Clinic Plus จังหวัดนครปฐม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยใช้วิธีการวิจัยวารสาร (documentary research) ประยุกต์แนวคิดการประเมินรูปแบบซิป (CIPP Model) 4 ด้าน คือ บริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์เนื้อหา เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและรายงานผลการดำเนินงาน ปี 2565 ผลการศึกษาพบว่า การประเมินคุณภาพคลินิกโรคไม่ติดต่อ จังหวัดนครปฐม ปี 2565 จำนวนทั้งหมด 9 แห่ง มีความสอดคล้องกับเกณฑ์การประเมินคุณภาพ NCD Clinic Plus ปี 2565  คือ ด้านบริบท ตามองค์ประกอบด้านทิศทางและนโยบาย พบว่า โรงพยาบาลจำนวน 8 แห่ง (ร้อยละ 88.89) มีผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับดีเด่น ด้านปัจจัยนำเข้า ตามองค์ประกอบด้านระบบสารสนเทศ พบว่า โรงพยาบาลจำนวน 9 แห่ง (ร้อยละ 100)  มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีเด่น ด้านกระบวนการ 1) องค์ประกอบด้านการปรับระบบและกระบวนการบริการ พบว่า โรงพยาบาลทุกแห่ง มีผลประเมินคุณภาพอยู่ในระดับดีเด่น 2) องค์ประกอบด้านระบบสนับสนุนการจัดการตนเอง พบว่า โรงพยาบาลทุกแห่ง มีผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับดีเด่น 3) องค์ประกอบด้านระบบสนับสนุนการตัดสินใจ พบว่า โรงพยาบาลจำนวน 7 แห่ง (ร้อยละ 77.78) มีผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับดีเด่น 4) องค์ประกอบด้านการจัดบริการเชื่อมโยงชุมชน พบว่า โรงพยาบาล 8 แห่ง (ร้อยละ 88.89) มีผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับดีเด่น ด้านผลผลิต พบว่า โรงพยาบาลทุกแห่ง (ร้อยละ 100) มีผลประเมินผลลัพธ์ตัวชี้วัดบริการยังไม่ผ่านเกณฑ์เป้าหมายที่กำหนด เมื่อพิจารณาตามเกณฑ์ประเมินคุณภาพ พบว่า โรงพยาบาลจำนวน 7 แห่ง   (ร้อยละ 77.78) ที่มีผลการประเมินต่ำกว่าพื้นฐานน้อยกว่าร้อยละ 65 และโรงพยาบาลจำนวน 2 แห่ง  (ร้อยละ 22.22) ผลการประเมินในระดับพื้นฐาน ร้อยละ 65.00–74.00

Downloads

Download data is not yet available.

References

อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลย์, ภาณุวัฒน์ คำวังสง่าและสุธิดา แก้วทา.(บรรณาธิการ) รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. ครั้งที่ 1. กรุงเทพ:สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2565. [เข้าถึงเมื่อ 6 สิงหาคม 2565] เข้าถึงได้จากhttps://bps.moph.go.th/new_bps/node/232

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการดำเนินงาน NCD Clinic Plus. นนทบุรี; สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563.

นุกูล กองทรัพย์. การประเมินผลการดำเนินงานโครงการจัดการโรคมาลาเรีย บริเวณพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพชา อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด.วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10, 2564: 19 (1): 49-58

พล เหลืองรังษี สายฝน วิบูลรังสรรค์. แนวทางการประเมินโครงการในโรงเรียน. วารสารการวัดผลการศึกษา, 2563; 37(102): 118-25.

ภัค ศัลยานุบาล. การประเมินผลการดำเนินงานคลินิก NCD คุณภาพ เขตบริการสุขภาพ ที่ 3 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2557.วารสารโรคและภัยสุขภาพสำนักงานป้องกันควบคุม โรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์ (อินเตอร์เน็ต).2562; ฉบับที่ 3; 47-56 [เข้าถึงเมื่อ 6 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/JDPC3/article/view/202263

จุฑาทิพย์ ชมภูนุช, อิสระพงศ์ เพลิดเพลิน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 ราชบุรี. การประเมินผลการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพ NCD Clinic Plus ปี 2562 พื้นที่เขตสุขภาพที่ 5 ในสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข.วารสารควบคุมโรค. (อินเตอร์เน็ต).2564; ฉบับที่ 2; 300-12[เข้าถึงเมื่อ 6 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ DOI: 10.14456/dcj.2021.27

วลัยลักษณ์ สิทธิบรรณ์. การศึกษาผลการประเมินรับรองคลินิก NCD คุณภาพ ในโรงพยาบาลเขตภาคใต้ตอนบน ปีงบประมาณ 2557-2559. วารสารควบคุมโรค (อินเตอร์เน็ต). 2562; ฉบับที่ 2; 201-10[เข้าถึงเมื่อ 15 กันยายน 2565].เข้าถึงได้จากhttps://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ. DOI:10.14456/dcj.2019.10

กมลวรรณคุ้มวงษ์, วนิดา เสนาพรมล, กิตติพงษ์ สุคุณณี สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 จังหวัดสระบุรี. การประเมินผลการดำเนินงาน NCD Clinic Plus ของสถานบริการ ใน พื้นที่เขตสุขภาพที่ 4 ปีงบประมาณ พ.ศ.2560. วารสารการแพทย์และสาธารณสุขเขต 4 (อินเตอร์เน็ต).2562; ฉบับที่ 1; 1-10 [เข้าถึงเมื่อ 6 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/JMPH4/issue/view/16961

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-25