ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะตัวเองต่อความรู้และการจัดการตนเองเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

ผู้แต่ง

  • วัชรี วงศ์น้อย โรงพยาบาลทองผาภูมิ

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมอง, ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง, โปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะตัวเอง, ความรู้, การจัดการตนเอง

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบวัดผลก่อนและหลังการทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะตัวเองต่อความรู้และการจัดการตนเองเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ช่วงอายุ 35 – 65 ปี ที่รับบริการในคลินิกโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลทองผาภูมิ จำนวน 250 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดความรู้โรคหลอดเลือดสมอง แบบประเมินการจัดการตนเองและใช้โปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะตัวเองต่อความรู้และการจัดการตนเองเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง .67–1.00 และค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาคด้านความรู้โรคหลอดเลือดสมองเท่ากับ .73 ด้านการจัดการตนเองเท่ากับ .71 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เข้าร่วมโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะตัวเองเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง มีคะแนนความรู้และการจัดการตนเองเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < 0.05

References

ศูนย์โรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลศิริราช สถานการณ์ปัจจุบันของโรคหลอดเลือดสมอง [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2561 จากhttp://www.si.mahidol.ac.th/th/sic/new s_detail.asp?n_id=3884

วริศรา ปั่นทองหลาง ปานจิต นามพลกรัง และวินัฐ ดวงแสนจันทร (2561). “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้” .วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ ปีที่ 38 ฉบับที่ 4 ตุลาคม - ธันวาคม 2561 หน้า 152-165

รัฐกานต์ ขำเขียว และ ชนิดา มัททวางกูร. (2561). การรับรู้อาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง พฤติกรรมการควบคุมระดับความดันโลหิต และแรงสนับสนุนจากครอบครัว ระหว่างผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมได้ และไม่ได้ ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลวัดบางไกรใน จังหวัดนนทบุรี. วารสารควบคุมโรค, 44(2), 130-144

วิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิช และคณะ. (2558). รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังและการสนับสนุนการจัดการตนเอง (การทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นระบบ).นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณะสุข. สืบค้นจาก https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/4368?locale-attribute=th

กรุณา ประมูลสินทรัพย์.(2560).การรับรู้สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมองและการจัดการของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูง.คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

Bandura. A. (1986).Social foundations of thought and action : A Social Cognitive Theory ; New Jersey: Prentice-Hall Inc., Englewood Cliffs, 1986

ปิยะนุช จิตตูนนท์ และคณะ (2564). ความรู้โรคหลอดเลือดสมองและพฤติกรรมป้องกันของกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง: กรณีศึกษาตำบลห้วยนาง จังหวัดตรัง. Songklanagarind Journal of Nursing, Volume 41 No. 2 April - June 2021

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-25