การพยาบาลผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดจังหวะจากภาวะแมกนีเซียม และโพแทสเซียมในเลือดต่ำ

ผู้แต่ง

  • ปาริชาต เสาวรส โรงพยาบาลบ้านโป่ง

คำสำคัญ:

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ, ตอร์ซาดเดอปวงต์, แมกนีเซียมในเลือดต่ำ, โพแทสเซียมในเลือดต่ำ

บทคัดย่อ

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะจากภาวะแมกนีเซียมและโพแทสเซียมในเลือดต่ำ หมายถึง ผู้ป่วยที่มีแมกนีเซียมและโพแทสเซียมในเลือดต่ำอย่างรุนแรง  ทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด ตอร์ซาดเดอปวงต์ ส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น หากไม่ได้รับการแก้ไขมีโอกาสเสียชีวิตสูง  จากกรณีศึกษา พบว่าผู้ป่วยมีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เกิดจากภาวะแมกนีเซียมและโพแทสเซียมในเลือดต่ำ บทบาทพยาบาลที่สำคัญคือการติดตามและวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าหัวใจได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว รวมถึงการช่วยแพทย์ทำการช็อกหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบไม่เจาะจง ทันทีที่เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดตอร์ซาดเดอปวงต์ รวมถึงการบริหารยา 50% แมกนีเซียมซัลเฟตทางหลอดเลือดดำ  พยาบาลควรให้การพยาบาล และประเมินปัญหาของผู้ป่วยให้ครอบคลุมครบองค์รวม  ผลการศึกษาพบว่าการติดตามและวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าหัวใจได้อย่างถูกต้องรวดเร็วและช่วยช็อกหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบไม่เจาะจง (defibrillation) ทันทีที่ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะเกิดขึ้น สามารถชะลอการเสียชีวิตผู้ป่วย ดังนั้นพยาบาลต้องมีความรู้ในการใช้อุปกรณ์การแพทย์ การบริหารยาที่มีความเสี่ยงสูง การใช้กระบวนการพยาบาล และประเมินปัญหาของผู้ป่วยได้ครอบคลุมครบองค์รวม ส่งผลให้ผู้ป่วยพ้นจากภาวะวิกฤต รวมทั้งการวางแผนจำหน่ายเพื่อการดูแลตนเอง และได้รับการดูแลจากญาติอย่างเหมาะสมเมื่อกลับบ้าน

Downloads

Download data is not yet available.

References

ธนพล บรรดาศักดิ์, กนกพร เทียนคำศรี และ สุนทรี สิทธิสงคราม. 2560. ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดสั่น พลิ้ว. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 34(4) ต.ค. - ธ.ค. 341-49.

ศ.นพ.รุ่งโรจน์ กฤตยพงษ์. ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.หัวใจเต้น ผิดจังหวะ.ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีศูนย์การแพทย์สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี http://medicine.swu.ac.th/msmc/

Phimaimedicine. Torsade de pointes - polymorphic VT และการรักษา.[อินเตอร์เนต]. 2555. [เข้าถึงเมื่อ 29 ตุลาคม 2565].เข้าถึงได้จาก: http://www.phimaimedicine.org/2012/07/1918-torsade-de- pointes.html

กิตติ์รวี กฤษฏิ์เมธาภาคย์, ธนิตา สุทธิชัยมงคล. 2559. Acid-Base and Electrolyte Teaching Case A Patient Presenting with Symptomatic Hypomagnesemia and Chronic Diarrhea.วารสารอายุรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2 (3) กรกฎาคม – กันยายน: 42- 8.

วัชริน สินธวานนท์. บทบาทของแมกนีเซียมทางวิสัญญี. จุฬาลงกรณ์เวชสาร [อินเตอร์เนต].2545;240-254 [เข้าถึงเมื่อ 29 ตุลาคม 2565].เข้าถึงได้จาก: http://clmjournal.org/_fileupload/journal/240-4-7.pdf

หน่วยคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ มีอาการอย่างไร บ้าง และเกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง. Pharmacotherapy Handbook [internet] Retrieve from https://pharmacy.mahidol.ac.th/dic/QA_full.php?id=2610

ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำเทียม. mutualselfcare.org. Hypokalemia.[อินเตอร์เน็ต].2560; เข้าถึงเมื่อ 26 ตุลาคม 2565].เข้าถึงได้จาก: http://mutualselfcare.org/medicine/clinical/hypokalemia.aspx?G=t&M=k#

สัชชนะ พุ่มพฤกษ์. หัวใจเต้นผิดจังหวะ. ใน: มณฑิรา มณีรัตนพร, นัฐพล ฤทธิ์ทยมัย, ศรีสกุล จิรกาญจนา ทร. (บรรณาธิการ). อายุรศาสตร์ทันใจ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2564. หน้า 135-141.

สันต์ ใจยอดศิลป์.2551.การช่วยชีวิตขั้นสูงในผู้ใหญ่ ACLS 2005. –กรุงเทพฯ: บริษัทพิมพ์สวยจำกัด ,thaicpr.com

จิณพิชญ์ชา มะมม. บทบาทพยาบาลกับแผลกดทับ:ความท้าทายในการป้องกันและดูแล. วารสาร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี [อินเตอร์เน็ต].2555;278-290[เข้าถึงเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tstj/article/view/12637/11365

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-25